ในช่วงเร็วๆ นี้ แนวทางการลงทุนหรือเล่นหุ้นที่เป็นที่กล่าวขวัญถึงมากที่สุด น่าจะเป็นการลงทุนแบบ Value Investment
เพราะหุ้น Value หรือหุ้นมี "พื้นฐาน" ดีหลายตัว มีราคาปรับขึ้นอย่างโดดเด่น นอกจากนั้น ปริมาณซื้อขายหุ้นเพิ่มสูงขึ้นมาก หลายตัวกลายเป็นหุ้นยอดนิยมมีปริมาณซื้อขายติดอันดับสูงสุด 1 ใน 10 ของตลาดหุ้นทั้งที่เป็นหุ้นขนาดเล็ก
อะไรทำให้หุ้นคุณค่ากลายเป็นหุ้นยอดนิยม คำตอบผมคิดว่าเกิดจากจำนวนนักลงทุนที่เป็น Value Investor หรือ VI มีมากขึ้นและที่สำคัญกว่าคือ มีเม็ดเงินใช้ลงทุนมากขึ้นมาก นักลงทุนหน้าใหม่ที่เข้าตลาดช่วงหลังนี้ เริ่มเห็นคุณค่าการลงทุนในกิจการที่ดีและมีราคาถูกให้ผลตอบแทนคุ้มค่า เมื่อเทียบฝากเงินซึ่งให้ดอกเบี้ยน้อยมาก
แต่ปัญหาของนักลงทุนคือจะหาหุ้นตัวไหนที่จะเป็นหุ้น Value ไม่ใช่เรื่องง่ายนักสำหรับนักลงทุนหน้าใหม่ ที่จะวิเคราะห์หุ้นได้ลึกซึ้ง ดังนั้น ทางออก คือ คอยดูว่าคนที่วิเคราะห์หุ้นเก่งระดับ "เซียน" ว่า เขาซื้อหุ้นตัวไหน เสร็จแล้วซื้อตาม นี่เป็นวิธีการ "ลอกการบ้าน" ที่ไม่มีครูจับได้ อีกด้านหนึ่งเซียนเอง บ่อยครั้งก็อยากให้ลอกการบ้าน หลายคนพยายามกระจายคำตอบให้คนอื่นลอกด้วยเหตุผลที่ว่า ถ้ามีคนซื้อหุ้นตามมากๆ หุ้นที่ตนเองซื้อไว้จะมีราคาปรับขึ้น
ดังนั้นทั้งคนลอกการบ้านและคนให้ลอกต่างก็ได้ประโยชน์ โดยเฉพาะในช่วงสั้นๆ ที่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นไป และนี่คือ สิ่งที่ผมจะพูดถึงการลงทุน "กระแสใหม่" ที่ผมอยากจะเรียกว่าการ "เล่นหุ้นตามเซียน" หรือถ้าจะเรียกให้เท่ขึ้นไปหน่อย คือ Celebrity Investment หรือเรียกย่อๆ ว่า CI ซึ่งเป็นการเล่นหุ้นตามคนดังหรือ "เซียน VI"
เรื่องการเล่นหุ้นตามเซียนนี้ ปีเตอร์ ลินช์ เขียนไว้ในหนังสือ One Up on Wall Street ว่า เขาไม่แนะนำให้นักลงทุนซื้อหุ้นตามเซียนหรือตัวเขาเอง เหตุผลมี 3 ข้อ คือ 1. เซียน หรือปีเตอร์ ลินช์ อาจจะผิด 2. แม้ว่าเขาจะถูก คุณก็ไม่มีทางรู้ว่าเขาจะเปลี่ยนใจเกี่ยวกับหุ้นและขายไปเมื่อไร และ 3. คุณมีข้อมูลที่ดีกว่าและมันอยู่รอบตัวคุณ สิ่งที่ทำให้มันดีกว่า ก็คือ คุณสามารถที่จะติดตามมันได้ เช่นเดียวกับที่ ปีเตอร์ ลินช์ ติดตามหุ้นของเขา
อย่างไรก็ตาม คำแนะนำของลินช์นั้น ผมคิดว่าคนจะปฏิบัติตามน่าจะเป็นคนมีความรู้ หรือมีความสามารถหรือมีความตั้งใจสูงที่จะศึกษาวิธีลงทุนแบบ VI ส่วนคนที่ "เล่นหุ้น" คือ คนที่หวังทำกำไรเร็วในระยะเวลาอันสั้น คงจะไม่เห็นด้วยและคิดว่า CI น่าจะให้ผลได้ดีกว่า
การลงทุนแบบ CI นั้น ดูเหมือนว่าจะไม่ยากโดยเฉพาะในยุคที่ข่าวสารต่างๆ สามารถกระจายไปได้อย่างรวดเร็วผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ต่างๆ วิธี ก็คือ ขั้นแรก ดูว่าใคร คือ "เซียน" นี่ก็คือ การเข้าไปตามเว็บไซต์หรือสื่อต่างๆ ที่มีการกล่าวขวัญถึงว่าใครสามารถซื้อขายหุ้นทำกำไรได้มากมายขนาดไหนในระยะ เวลาอันสั้น
นอกจากนั้น การบอกต่อๆ กันในหมู่นักลงทุนเป็นอีกแนวทางหนึ่งมีประสิทธิภาพ เมื่อกำหนดได้แล้วว่าใครคือเซียน สิ่งที่จะต้องทำต่อมาคือ คอยติดตามว่าเซียนกำลังจะเข้าซื้อหุ้นตัวไหน ซึ่งบางทีก็ไม่ยาก เพราะเซียนจำนวนไม่น้อยพยายามบอกต่ออยู่แล้ว ไม่โดยตรงก็โดยอ้อม
ในบางครั้ง ถึงเซียนจะไม่ได้บอก แต่เนื่องจากเซียนได้เข้าซื้อหุ้นบางตัวจนมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ซึ่งจะถูกรายงานในเว็บไซต์ของตลาดเมื่อมีการปิดบุ๊คเพื่อการประชุมผู้ถือ หุ้น แต่ข้อมูลนี้อาจจะไม่เป็นปัจจุบันมากนัก บางกรณีอาจจะเกิดขึ้นมาแล้วเป็นปีก็เป็นได้
เมื่อกำหนดได้แล้วว่าใครคือเซียน CI แต่ละคนดูเหมือนจะรู้ว่าเซียนแต่ละคนนั้น มี "กระบวนท่า" หรือใช้หลักการลงทุนแนวไหน เช่น ชำนาญทางด้านหุ้นโตเร็ว หุ้นวัฏจักร หุ้นฟื้นตัว หุ้นมีสตอรี่ หรืออื่นๆ รวมถึงระดับของพอร์ตหรือเม็ดเงินที่มักจะเข้าซื้อหุ้นด้วย
ประเด็นคือ CI นั้น มักจะซื้อตามเซียนที่มีแนวคิด หรือ "จริต" ที่สอดคล้องกับตัวเองและไม่ตามเซียน ที่มีแนวทางอีกแบบหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ถ้าตนเองนั้นชอบเล่นหุ้นแบบสั้นๆ ไม่เกินปีหรือไม่เกินหนึ่งเดือน โอกาส คือ เขาจะไม่สนใจเซียนที่ชอบลงทุนระยะยาว แต่จะชอบเซียนที่เน้นลงทุนในหุ้นที่จะมีผลการดำเนินงานในระยะสั้นที่ดี มากกว่า
เมื่อพบว่าเซียนได้เข้าซื้ออย่างมีนัยสำคัญแล้ว CI "วงใน" นั่นคือ CI ที่อาจจะคุ้นเคยกับเซียนก็จะซื้อตามก่อน ต่อมาข้อมูลที่ว่าเซียนได้เข้าซื้อแล้วก็จะถูก "ถ่ายทอด" ต่อมายัง CI "วงนอก" ที่อาจจะห่างออกมาหน่อย แต่ยังจำกัดอยู่ในกลุ่มคนบางกลุ่มเช่นที่ติดตามเว็บไซต์การลงทุนอย่างใกล้ ชิดซึ่งจะเริ่มมาซื้อตามหลังจากราคาหุ้นเริ่มเคลื่อนไหวรุนแรงขึ้นพร้อมกับ ปริมาณการซื้อขายที่มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเนื่องมาจากการที่มีแรงซื้อเพิ่ม ขึ้นมามาก
กระบวนการนี้จะคล้ายๆ กับสิ่งที่ จอร์จ โซรอส พูดถึง นั่นคือ กระบวนการ Reflexivity หรือกระบวนการที่คนในตลาดซื้อหุ้นทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้พื้นฐานหรือมุมมองต่อหุ้นเปลี่ยนไป ทำให้คนมาซื้อหุ้นเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งจะกลับมาเสริมพื้นฐานหรือมุมมองของหุ้นต่อไปอีกต่อเนื่องกันไปเป็นลูก โซ่ ในบางครั้งกระบวนการนี้ก็อาจจะรุนแรงมากขึ้นจนราคาหุ้นกลายเป็นฟองสบู่ เนื่องจาก CI ชุดสุดท้ายที่เข้ามาเล่น
CI ชุดท้ายๆ ก็คือ นักเล่นหุ้นทั่วๆ ไป ที่ได้ข่าวว่าเซียนได้เข้ามาซื้อหุ้นจากสื่อกระแสหลักเช่นหนังสือพิมพ์และ อาจจะบทวิเคราะห์ของโบรกเกอร์ พวกเขาจะเข้ามาเก็งกำไรจากความผันผวนของราคาหุ้นเป็นหลัก ด้วยปริมาณการซื้อขายมโหฬาร เนื่องจากเป็นการซื้อขายเป็นรายวันหรืออาจจะเป็นรายนาทีCI กลุ่มนี้จะไม่สนใจเลยว่าหุ้นนั้นยังมี Value หรือไม่ สิ่งที่พวกเขาคาดหรือจับตานั้นมีเพียงเรื่องเดียว นั่นคือ หุ้นตัวนี้ รายใหญ่หรือสปอนเซอร์ ยังเล่นหรือไม่ ถ้ายังเล่นพวกเขาพร้อมเข้ามาเสี่ยง ถ้าเลิกก็ "ตัวใครตัวมัน" เหนือสิ่งอื่นใด เขาคิดว่าเขาจะ "ออก" ทันเสมอ เนื่องจากปริมาณการซื้อขายหุ้นเมื่อถึงจุดนี้มีสูงมาก
อย่างไรก็ตาม หลายๆ ครั้ง การตกของหุ้นในจุดนี้จะแรงมากจนหนีไม่ทันก็มี การเป็น CI นั้น ในช่วง 2- 3 ปี มานี้ ซึ่งเป็นช่วงที่หุ้นบูมเป็นกระทิง ดูเหมือนว่าจะเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่ทำเงินได้ไม่น้อยสำหรับบางคนโดยเฉพาะ ที่เป็น CI วงต้นๆ
แต่อนาคตหลังจากนี้ หุ้นที่เป็น Value อาจจะเหลือน้อยหรือแทบหมดแล้ว และเซียนก็อาจจะผิดพลาดได้ ดังนั้น CI ที่เข้าไปซื้อตามอาจจะพบว่าการทำเงินนั้นยากลำบากมากขึ้นจนถึงกับขาดทุนก็ เป็นไปได้โดยเฉพาะ CI วงหลังๆ สำหรับผมแล้ว การเป็น CI นั้น ยากที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในระยะยาว ดังนั้น สำหรับ VI ที่มุ่งมั่นแล้ว การวิเคราะห์และตัดสินใจด้วยตนเองจะดีกว่าการ "ลอกการบ้าน" แน่นอน แม้ว่าเราจะไม่เก่งเท่าเซียน
บทความนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ 17 พฤษภาคม 2554
Monday, May 23, 2011
Thursday, May 12, 2011
เรียนรู้การเมือง
การเลือกตั้งที่ กำลังมาถึงในเร็วๆ นี้ เป็นปัจจัยหนึ่งในการตัดสินใจลงทุนของคนจำนวนไม่น้อย เพราะรัฐบาลที่จะตามมานั้น ยังไม่รู้ว่าจะเป็นใคร เข้ามาแล้วจะมีนโยบายอย่างไรชัดเจน แม้ว่าจะมีการประกาศนโยบายต่างๆ ของพรรคการเมืองออกมาแล้ว นอกจากเรื่องของนโยบายแล้ว แนวความคิดหรือปรัชญาทางการเมืองของแต่ละพรรคก็เป็นประเด็นสำคัญไม่น้อยกว่า หรือน่าจะพูดว่าสำคัญยิ่งกว่าเรื่องของนโยบายที่เขียนไว้ เพราะแนวความคิดหรือปรัชญาทางการเมืองนั้น มักจะเป็นตัวกำหนดว่า พรรคนั้นจะทำอย่างไรหรือตัดสินใจอย่างไรต่อแนวทางในการบริหารประเทศ โดยเฉพาะในด้านของเศรษฐกิจ เฉพาะอย่างยิ่ง ก็คือ จะเอื้อหรือขัดขวางการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน
แนวความคิดหรือปรัชญาทางการเมืองหลักๆ ที่ผมคิดว่าสามารถอธิบายได้ชัดเจนในโลกนี้น่าจะแบ่งได้เป็นสองค่ายหรือ สองกลุ่ม นั่นก็คือ ฝ่ายที่เรียกว่า “ทุนนิยม” กับฝ่าย “สังคมนิยม” แต่นี่ก็เป็นเพียงเรื่องของแนวความคิดทางเศรษฐกิจที่สองฝ่ายมีความเห็นไม่ เหมือนกันหรือตรงกันข้าม ที่จริงยังมีเรื่องหรือประเด็นอื่นๆ อีกมากที่แต่ละฝ่ายมองไม่เหมือนกัน และดังนั้น เวลาแบ่งค่ายจึงมีการใช้คำที่ครอบคลุมความหมายที่กว้างกว่าโดยเรียกว่าเป็น ฝ่าย “ขวา” กับฝ่าย “ซ้าย” โดยที่ฝ่ายขวานั้นเชื่อในระบอบเศรษฐกิจที่เป็นทุนนิยมและฝ่ายซ้ายเน้นที่สังคมนิยม
ถ้าจะให้มองภาพที่ชัดเจนว่าฝ่ายขวาคิดอย่างไรและฝ่ายซ้ายคิดอย่างไรใน ประเด็นเรื่องต่างๆ นั้น ผมคิดว่าถ้ามองในสถานการณ์ปัจจุบันเป็นประเทศคงมองได้ไม่ชัดเจนนัก เหตุผลก็เพราะว่าในช่วงหลังๆ การแตกแยกหรือแบ่งแยกอุดมการณ์ทางการเมืองนั้น “เบลอ” มากขึ้นทุกที หาประเทศที่เป็นขวา “ตกขอบ” หรือซ้าย “สุดโต่ง” ได้ยาก ประเทศที่เคยเป็นสังคมนิยมหลายแห่งก็ “กอดรัด” ทุนนิยมเข้าไปเต็มที่ ตัวอย่างเช่น ในประเทศจีนเป็นต้น ในทางตรงกันข้าม ประเทศที่เคยเป็นทุนนิยมจัดๆ เช่น ในประเทศพัฒนาแล้วจำนวนมาก ก็หันมาเน้นนโยบายแบบสังคมนิยมมากๆ กลายเป็น “รัฐสวัสดิการ” ไปเลยก็มี
ดังนั้น เพื่อที่จะอธิบายความคิดแบบซ้าย-ขวาให้เห็นภาพได้ชัดเจน ผมจึงอยากที่จะใช้ตัวอย่างของสองประเทศในช่วงก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง มาเปรียบเทียบให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น เหตุผล ก็คือ นั่นเป็นช่วงเวลาที่อุดมการณ์ทางการเมืองกำลังมาแรงเป็นกระแสระดับโลกที่ “เชี่ยวกราก” สองประเทศที่ว่าก็คือ เยอรมนี ตัวแทนของฝ่ายขวา กับสหภาพโซเวียตรัสเซีย ตัวแทนของฝ่ายซ้าย
ความคิดแบบขวานั้น ประเด็นแรก ก็คือ มองว่าคนเรานั้น ไม่เท่าเทียมกัน มีคนที่เหนือกว่าคนอื่นในสังคม คนที่เหนือกว่าก็ควรต้องมีสิทธิมีเสียงมากกว่า เป็นผู้นำ เป็นผู้ที่จะกำหนดเรื่องราวต่างๆ ให้คนที่ด้อยกว่าทำตาม พูดง่ายๆ คนที่ปกครองต้องเป็นคนที่เหนือกว่าหรือดีกว่า นั่นคือ สิ่งที่ฮิตเลอร์คิดและทำ เขาคิดว่าคนเยอรมัน หรือพูดให้ถูกต้อง ก็คือ คนเชื้อชาติ “อารยัน” นั้นเป็นคนที่เหนือกว่าคนอื่นโดยเฉพาะคนรัสเซียที่เป็นชนเผ่า “สลาฟ” และดังนั้น เยอรมนีจะต้องปกครองรัสเซียและประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะที่เป็นพวกสลาฟ ฮิตเลอร์ยังคิดว่าพวกยิวนั้นเป็นชนชาติที่ด้อยและเลวร้ายจะต้องกำจัดให้หมด ไป ดังนั้น เขาจึงสังหารคนยิวนับล้านๆ คน ส่วนความคิดแบบซ้ายสุดนั้นมองว่าคนทุกคนเท่าเทียมกัน ไม่มีชนชั้น ดังนั้น จึงต้องกำจัดชนชั้นให้หมดไปโดยเฉพาะนายทุนที่ “กดขี่ขูดรีด” ชน “ผู้ใช้แรงงาน” ที่เป็นกลุ่มชนชั้นล่างของสังคม
ฝ่ายขวานั้น มักจะเน้นความเป็น “ชาตินิยม” เรื่องของดินแดนหรืออาณาเขตประเทศเป็นสิ่งที่ต้องรักษา และถ้าเป็นไปได้ต้องขยายออกไปให้ยิ่งใหญ่ การได้อาณาเขตเพิ่มเติมเป็นเรื่องของศักดิ์ศรีและความมั่นคงยิ่งใหญ่ทาง เศรษฐกิจและอำนาจทางการเมือง นั่นทำให้ฮิตเลอร์ยกทัพเข้ายึดครองประเทศเพื่อนบ้านและรัสเซีย ตรงกันข้าม ฝ่ายซ้ายนั้นไม่เน้นความเป็นชาตินิยมแต่เน้นความเป็นสากล พวกเขาเชื่อว่าโลกหรือคนนั้นไม่ได้แบ่งกันที่อาณาเขตของประเทศ แต่แบ่งที่ว่าคุณเป็นคนชั้นไหน “ผู้กดขี่” หรือผู้ที่ “ถูกกดขี่” สำหรับพวกเขาแล้ว เขาเน้นการ “ส่งออก” ความคิดแบบ “ปฏิวัติ” และสนับสนุนให้คนที่ถูกกดขี่โดยเฉพาะกรรมกรและชาวนาต่อสู้ เพื่อสร้างระบบสังคมนิยมขึ้นในประเทศของตนเอง ไอดอลของฝ่ายซ้ายอย่าง เช กูวารา นั้น เขาไปช่วยรบกับฝ่ายซ้ายในหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะในละตินอเมริกา
ฝ่ายขวานั้น มักจะเน้นการเป็น “วีรบุรุษ” พวกเขาจะเชิดชูผู้นำที่โดดเด่น ฮิตเลอร์ใช้สื่อทุกชนิดและกลุ่มคนต่างๆ รวมถึงเยาวชนในการสร้างให้ตนเองเป็นวีรบุรุษและผู้นำของเยอรมนี ฝ่ายซ้ายนั้นมักเน้นการปกครองหรือการนำเป็นกลุ่ม หรือก็คือกลุ่มผู้นำของพรรคการเมืองเช่นพรรคคอมมิวนิสต์
การเป็นขวาจัดของเยอรมนีนั้น ไม่ใช่เรื่องบังเอิญหรือคนเยอรมันอยากจะเป็น สถานการณ์มักจะเป็นตัวกำหนด นั่นก็คือ เยอรมันเองถูกบีบจากสันนิบาตชาติหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่เยอรมนีเป็น ฝ่ายแพ้ และทำให้ต้องถูกยึดครองดินแดนและเสียค่าปฏิกรณ์สงครามรวมถึงต้องเสีย ศักดิ์ศรีในอีกหลายๆ เรื่อง
ดังนั้น อุดมการณ์ขวาจึงเกิดขึ้นได้ง่ายและแรง รัสเซียเองนั้นกลายเป็นประเทศซ้ายจัดก็เกิดจากสถานการณ์ในประเทศเช่นเดียว กันแต่เป็นเรื่องของปากท้องและความเป็นธรรมที่คนรัสเซียต้องประสบ ซึ่งอาจจะรวมถึง การ “กดขี่” ของผู้ปกครองจากระบอบการปกครองของซาร์ที่ไม่ยอมผ่อนตามความต้องการของคนโดย เฉพาะกรรมกรในเมือง ดังนั้น เมื่อเกิดการปฏิวัติประชาชน ระบอบการปกครองหลังจากนั้นจึงเป็นซ้ายจัด ซึ่งแน่นอน ต้องกลายเป็นระบอบเผด็จการเช่นเดียวกับเยอรมนีที่ก็ต้องเป็นเผด็จการไม่น้อย ไปกว่ากัน
การเมืองไทยเองนั้น ความคิดหรืออุดมการณ์ทางการเมืองแบบ ขวา-ซ้าย ผมคิดว่ามีมาหลายสิบปีตั้งแต่สมัยที่จีนเป็นประเทศสังคมนิยมใหม่ ๆ และ “ส่งออก” แนวความคิดมาที่ประเทศไทยผ่านพรรคคอมมิวนิสต์ไทย แต่แนวความคิดแบบ ซ้าย-ขวา ที่มีการเผยแพร่และแสดงออกอย่างกว้างขวางนั้นน่าจะเริ่มหลังจากเหตุการณ์ 14 ต.ค. 2516 ที่นักศึกษาเป็น “หัวหอก” ในการเสนอแนวความคิดนี้ และเมื่อความคิดแบบซ้ายเปิดตัวออกมา โดยธรรมชาติ ความคิดแบบขวาก็ออกมาตอบโต้ สุดท้ายอย่างที่เราทราบกัน ประกอบกับเหตุผลทางสภาพแวดล้อมทางการเมืองและสังคมระดับโลกที่เริ่มไม่เน้น ในเรื่องของอุดมการณ์แต่สนใจเรื่องการ “ทำมาหากิน” มากกว่า อุดมการณ์ทางการเมืองของคนไทยก็ “เลือน” หายไป การเมืองไทยหลังจากนั้นก็เดินไป “ทางสายกลาง” เช่นเดียวกับประเทศส่วนใหญ่ของโลก
ผมไม่รู้ว่าเป็นเหตุผลใดแน่ชัด อาจจะเป็นเรื่องของ “อุบัติเหตุทางการเมือง” การเมืองไทยกลับเข้าไปอยู่ใน “ความขัดแย้ง” ที่อาจจะมีกลิ่นอายของการเป็น ขวา-ซ้าย อีกครั้งหนึ่ง แม้ว่าในยุคนี้จะไม่มีใครเรียกแบบนั้น ความแตกต่างในครั้งนี้ ก็คือ จำนวนคนที่เกี่ยวข้องดูเหมือนจะมากกว่าอดีตมาก
อุดมการณ์ทางการเมืองดูเหมือนจะไม่สุดโต่งเท่า ว่าที่จริง อาจจะไม่มีแนวคิดอะไรที่จะเป็นเรื่องในระดับที่เรียกว่า “ปฏิวัติ” อะไรเลย ผมก็ได้แต่หวังว่าสถานการณ์ทางการเมืองของไทยจะไม่เลยเถิดจนคุกคามชีวิตและ การลงทุนของนักลงทุนในตลาดหุ้นแม้ว่าลึกๆ แล้ว ผมรู้สึกว่า การเมืองไทยในช่วงนี้ถือว่าเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งของการลงทุนที่ต้องจับ ตามอง เป็นความเสี่ยงที่ว่า การเมืองอาจจะสุดโต่งไปด้านใดด้านหนึ่งทั้ง ๆ ที่คนที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ไม่อยากจะให้เป็นอย่างนั้น
บทความนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ 10 พฤษภาคม 2554
แนวความคิดหรือปรัชญาทางการเมืองหลักๆ ที่ผมคิดว่าสามารถอธิบายได้ชัดเจนในโลกนี้น่าจะแบ่งได้เป็นสองค่ายหรือ สองกลุ่ม นั่นก็คือ ฝ่ายที่เรียกว่า “ทุนนิยม” กับฝ่าย “สังคมนิยม” แต่นี่ก็เป็นเพียงเรื่องของแนวความคิดทางเศรษฐกิจที่สองฝ่ายมีความเห็นไม่ เหมือนกันหรือตรงกันข้าม ที่จริงยังมีเรื่องหรือประเด็นอื่นๆ อีกมากที่แต่ละฝ่ายมองไม่เหมือนกัน และดังนั้น เวลาแบ่งค่ายจึงมีการใช้คำที่ครอบคลุมความหมายที่กว้างกว่าโดยเรียกว่าเป็น ฝ่าย “ขวา” กับฝ่าย “ซ้าย” โดยที่ฝ่ายขวานั้นเชื่อในระบอบเศรษฐกิจที่เป็นทุนนิยมและฝ่ายซ้ายเน้นที่สังคมนิยม
ถ้าจะให้มองภาพที่ชัดเจนว่าฝ่ายขวาคิดอย่างไรและฝ่ายซ้ายคิดอย่างไรใน ประเด็นเรื่องต่างๆ นั้น ผมคิดว่าถ้ามองในสถานการณ์ปัจจุบันเป็นประเทศคงมองได้ไม่ชัดเจนนัก เหตุผลก็เพราะว่าในช่วงหลังๆ การแตกแยกหรือแบ่งแยกอุดมการณ์ทางการเมืองนั้น “เบลอ” มากขึ้นทุกที หาประเทศที่เป็นขวา “ตกขอบ” หรือซ้าย “สุดโต่ง” ได้ยาก ประเทศที่เคยเป็นสังคมนิยมหลายแห่งก็ “กอดรัด” ทุนนิยมเข้าไปเต็มที่ ตัวอย่างเช่น ในประเทศจีนเป็นต้น ในทางตรงกันข้าม ประเทศที่เคยเป็นทุนนิยมจัดๆ เช่น ในประเทศพัฒนาแล้วจำนวนมาก ก็หันมาเน้นนโยบายแบบสังคมนิยมมากๆ กลายเป็น “รัฐสวัสดิการ” ไปเลยก็มี
ดังนั้น เพื่อที่จะอธิบายความคิดแบบซ้าย-ขวาให้เห็นภาพได้ชัดเจน ผมจึงอยากที่จะใช้ตัวอย่างของสองประเทศในช่วงก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง มาเปรียบเทียบให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น เหตุผล ก็คือ นั่นเป็นช่วงเวลาที่อุดมการณ์ทางการเมืองกำลังมาแรงเป็นกระแสระดับโลกที่ “เชี่ยวกราก” สองประเทศที่ว่าก็คือ เยอรมนี ตัวแทนของฝ่ายขวา กับสหภาพโซเวียตรัสเซีย ตัวแทนของฝ่ายซ้าย
ความคิดแบบขวานั้น ประเด็นแรก ก็คือ มองว่าคนเรานั้น ไม่เท่าเทียมกัน มีคนที่เหนือกว่าคนอื่นในสังคม คนที่เหนือกว่าก็ควรต้องมีสิทธิมีเสียงมากกว่า เป็นผู้นำ เป็นผู้ที่จะกำหนดเรื่องราวต่างๆ ให้คนที่ด้อยกว่าทำตาม พูดง่ายๆ คนที่ปกครองต้องเป็นคนที่เหนือกว่าหรือดีกว่า นั่นคือ สิ่งที่ฮิตเลอร์คิดและทำ เขาคิดว่าคนเยอรมัน หรือพูดให้ถูกต้อง ก็คือ คนเชื้อชาติ “อารยัน” นั้นเป็นคนที่เหนือกว่าคนอื่นโดยเฉพาะคนรัสเซียที่เป็นชนเผ่า “สลาฟ” และดังนั้น เยอรมนีจะต้องปกครองรัสเซียและประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะที่เป็นพวกสลาฟ ฮิตเลอร์ยังคิดว่าพวกยิวนั้นเป็นชนชาติที่ด้อยและเลวร้ายจะต้องกำจัดให้หมด ไป ดังนั้น เขาจึงสังหารคนยิวนับล้านๆ คน ส่วนความคิดแบบซ้ายสุดนั้นมองว่าคนทุกคนเท่าเทียมกัน ไม่มีชนชั้น ดังนั้น จึงต้องกำจัดชนชั้นให้หมดไปโดยเฉพาะนายทุนที่ “กดขี่ขูดรีด” ชน “ผู้ใช้แรงงาน” ที่เป็นกลุ่มชนชั้นล่างของสังคม
ฝ่ายขวานั้น มักจะเน้นความเป็น “ชาตินิยม” เรื่องของดินแดนหรืออาณาเขตประเทศเป็นสิ่งที่ต้องรักษา และถ้าเป็นไปได้ต้องขยายออกไปให้ยิ่งใหญ่ การได้อาณาเขตเพิ่มเติมเป็นเรื่องของศักดิ์ศรีและความมั่นคงยิ่งใหญ่ทาง เศรษฐกิจและอำนาจทางการเมือง นั่นทำให้ฮิตเลอร์ยกทัพเข้ายึดครองประเทศเพื่อนบ้านและรัสเซีย ตรงกันข้าม ฝ่ายซ้ายนั้นไม่เน้นความเป็นชาตินิยมแต่เน้นความเป็นสากล พวกเขาเชื่อว่าโลกหรือคนนั้นไม่ได้แบ่งกันที่อาณาเขตของประเทศ แต่แบ่งที่ว่าคุณเป็นคนชั้นไหน “ผู้กดขี่” หรือผู้ที่ “ถูกกดขี่” สำหรับพวกเขาแล้ว เขาเน้นการ “ส่งออก” ความคิดแบบ “ปฏิวัติ” และสนับสนุนให้คนที่ถูกกดขี่โดยเฉพาะกรรมกรและชาวนาต่อสู้ เพื่อสร้างระบบสังคมนิยมขึ้นในประเทศของตนเอง ไอดอลของฝ่ายซ้ายอย่าง เช กูวารา นั้น เขาไปช่วยรบกับฝ่ายซ้ายในหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะในละตินอเมริกา
ฝ่ายขวานั้น มักจะเน้นการเป็น “วีรบุรุษ” พวกเขาจะเชิดชูผู้นำที่โดดเด่น ฮิตเลอร์ใช้สื่อทุกชนิดและกลุ่มคนต่างๆ รวมถึงเยาวชนในการสร้างให้ตนเองเป็นวีรบุรุษและผู้นำของเยอรมนี ฝ่ายซ้ายนั้นมักเน้นการปกครองหรือการนำเป็นกลุ่ม หรือก็คือกลุ่มผู้นำของพรรคการเมืองเช่นพรรคคอมมิวนิสต์
การเป็นขวาจัดของเยอรมนีนั้น ไม่ใช่เรื่องบังเอิญหรือคนเยอรมันอยากจะเป็น สถานการณ์มักจะเป็นตัวกำหนด นั่นก็คือ เยอรมันเองถูกบีบจากสันนิบาตชาติหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่เยอรมนีเป็น ฝ่ายแพ้ และทำให้ต้องถูกยึดครองดินแดนและเสียค่าปฏิกรณ์สงครามรวมถึงต้องเสีย ศักดิ์ศรีในอีกหลายๆ เรื่อง
ดังนั้น อุดมการณ์ขวาจึงเกิดขึ้นได้ง่ายและแรง รัสเซียเองนั้นกลายเป็นประเทศซ้ายจัดก็เกิดจากสถานการณ์ในประเทศเช่นเดียว กันแต่เป็นเรื่องของปากท้องและความเป็นธรรมที่คนรัสเซียต้องประสบ ซึ่งอาจจะรวมถึง การ “กดขี่” ของผู้ปกครองจากระบอบการปกครองของซาร์ที่ไม่ยอมผ่อนตามความต้องการของคนโดย เฉพาะกรรมกรในเมือง ดังนั้น เมื่อเกิดการปฏิวัติประชาชน ระบอบการปกครองหลังจากนั้นจึงเป็นซ้ายจัด ซึ่งแน่นอน ต้องกลายเป็นระบอบเผด็จการเช่นเดียวกับเยอรมนีที่ก็ต้องเป็นเผด็จการไม่น้อย ไปกว่ากัน
การเมืองไทยเองนั้น ความคิดหรืออุดมการณ์ทางการเมืองแบบ ขวา-ซ้าย ผมคิดว่ามีมาหลายสิบปีตั้งแต่สมัยที่จีนเป็นประเทศสังคมนิยมใหม่ ๆ และ “ส่งออก” แนวความคิดมาที่ประเทศไทยผ่านพรรคคอมมิวนิสต์ไทย แต่แนวความคิดแบบ ซ้าย-ขวา ที่มีการเผยแพร่และแสดงออกอย่างกว้างขวางนั้นน่าจะเริ่มหลังจากเหตุการณ์ 14 ต.ค. 2516 ที่นักศึกษาเป็น “หัวหอก” ในการเสนอแนวความคิดนี้ และเมื่อความคิดแบบซ้ายเปิดตัวออกมา โดยธรรมชาติ ความคิดแบบขวาก็ออกมาตอบโต้ สุดท้ายอย่างที่เราทราบกัน ประกอบกับเหตุผลทางสภาพแวดล้อมทางการเมืองและสังคมระดับโลกที่เริ่มไม่เน้น ในเรื่องของอุดมการณ์แต่สนใจเรื่องการ “ทำมาหากิน” มากกว่า อุดมการณ์ทางการเมืองของคนไทยก็ “เลือน” หายไป การเมืองไทยหลังจากนั้นก็เดินไป “ทางสายกลาง” เช่นเดียวกับประเทศส่วนใหญ่ของโลก
ผมไม่รู้ว่าเป็นเหตุผลใดแน่ชัด อาจจะเป็นเรื่องของ “อุบัติเหตุทางการเมือง” การเมืองไทยกลับเข้าไปอยู่ใน “ความขัดแย้ง” ที่อาจจะมีกลิ่นอายของการเป็น ขวา-ซ้าย อีกครั้งหนึ่ง แม้ว่าในยุคนี้จะไม่มีใครเรียกแบบนั้น ความแตกต่างในครั้งนี้ ก็คือ จำนวนคนที่เกี่ยวข้องดูเหมือนจะมากกว่าอดีตมาก
อุดมการณ์ทางการเมืองดูเหมือนจะไม่สุดโต่งเท่า ว่าที่จริง อาจจะไม่มีแนวคิดอะไรที่จะเป็นเรื่องในระดับที่เรียกว่า “ปฏิวัติ” อะไรเลย ผมก็ได้แต่หวังว่าสถานการณ์ทางการเมืองของไทยจะไม่เลยเถิดจนคุกคามชีวิตและ การลงทุนของนักลงทุนในตลาดหุ้นแม้ว่าลึกๆ แล้ว ผมรู้สึกว่า การเมืองไทยในช่วงนี้ถือว่าเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งของการลงทุนที่ต้องจับ ตามอง เป็นความเสี่ยงที่ว่า การเมืองอาจจะสุดโต่งไปด้านใดด้านหนึ่งทั้ง ๆ ที่คนที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ไม่อยากจะให้เป็นอย่างนั้น
บทความนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ 10 พฤษภาคม 2554
Tuesday, May 3, 2011
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ประเด็นทางสังคมกับการลงทุนนั้นถ้าคิดแบบผิวเผินก็ดูเหมือนว่าจะเกี่ยวข้องกันไม่มาก เพราะสังคมนั้นมักเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆจนเราไม่ค่อยรู้สึกว่ามี การเปลี่ยน อย่างไรก็ตาม คนที่ผ่านหนาวผ่านร้อนมามากหรือพูดง่ายๆ มีอายุมากและตรึกตรองย้อนหลังอย่างพินิจพิจารณาก็จะรู้ได้ว่า สังคมไทยนั้น มีการเปลี่ยนแปลงไปมากจนไม่น่าเชื่อ ผมเองที่มีอายุ “ใกล้เกษียณ” ก็เป็นหนึ่งในนั้น และการเปลี่ยนแปลงนั้น แน่นอน ไม่ใช่เฉพาะในเมืองไทย แต่เป็นไปทั้งโลก ซึ่งประเทศไทยก็เป็นส่วนหนึ่ง ว่าที่จริง ถ้าพูดถึงเรื่องของสังคมแล้ว คำว่า “ไทย” นั้น ผมดูว่ามีความหมายน้อยลงไปมาก ลองไปถามเด็กวัยรุ่นไทยในปัจจุบันว่าการเป็นคนไทยนั้นทำให้เขาแตกต่างจากวัย รุ่นในประเทศอื่นอย่างไร? คำตอบของพวกเขาคงจะเบลอไปหมด บางทีคำตอบที่มากที่สุดอาจจะเป็นว่า “เขาพูดภาษาไทย” นอกเหนือจากนั้นแล้ว เขาก็คิดและทำ “เหมือนๆ กับคนทั้งโลก” ลองมาดูกันว่ามีอะไรที่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปมากนับจากวันที่ผมยังเป็นวัย รุ่นเมื่อเกือบ 40 ปีที่แล้ว
เมื่อสัปดาห์ก่อนในงานเสกสมรสระหว่างเจ้าชายวิลเลียม ของราชวงศ์อังกฤษกับนางสาวเคท มิดเดิลตัน ซึ่งเป็นสามัญชน ผมได้รับรู้เรื่องราวสองเรื่องที่ผมคิดว่าเป็นไปไม่ได้ในสมัยที่ผมยังเรียน ชั้นมัธยมหรือมหาวิทยาลัยนั่นก็คือ เรื่องแรก เคท ไม่ยอมกล่าวคำสาบานว่าจะ “เชื่อฟังคำสั่ง” หรืออยู่ในโอวาทของสามีซึ่งในอนาคตจะเป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษซึ่งเป็นราชวงศ์ ที่ถือว่ายังยึดมั่นใน “ขนบธรรมเนียมประเพณี” อย่างเคร่งครัด ส่วนเรื่องที่สองที่น่าจะยิ่ง “ช็อก” สำหรับคนรุ่นใกล้ๆ กับผมก็คือ เคทและเจ้าชายวิลเลียมให้สัมภาษณ์อย่างเปิดเผยว่าทั้งคู่ “อยู่กันมาก่อนแต่งงาน” ทั้งสองเรื่องนี้ ถ้าเป็นสมัยก่อนคงเป็นเรื่องใหญ่ที่จะทำให้เกิดโกลาหลถึงขนาด “พัง” กันได้ แต่ใน พ.ศ. นี้ ดูเหมือนว่าไม่มีใครติดใจอะไรเลย เป็นพฤติกรรมที่ยอมรับกันได้ว่าเป็นเรื่องธรรมดา นั่นคือ ข้อแรก หญิงชายมีความเสมอภาคกัน ดังนั้นหญิงไม่จำเป็นต้องเชื่อฟังคำสั่งของชาย ข้อสอง ธรรมเนียม “รักนวลสงวนตัว” ของผู้หญิงนั้น หมดไปแล้ว ว่าที่จริง ธรรมเนียมนี้ก็เป็นผลต่อมาจากธรรมเนียมเรื่องความไม่เสมอภาคระหว่างชายกับ หญิง เมื่อชายกับหญิงเท่าเทียมกันแล้ว ธรรมเนียมว่าชายกับหญิงไม่ควรมีสัมพันธ์ขนาดอยู่ด้วยกันก่อนแต่งงานก็หมดไป
ผมคิดว่าเดี๋ยวนี้คน “รุ่นใหม่” ของไทยก็มีความคิดแบบเดียวกับเคทและเจ้าชายวิลเลียมแม้ว่า “คนรุ่นเก่า” จำนวนไม่น้อยก็ยัง “รับไม่ได้” ตัวอย่างเล็ก ๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงสงกรานต์ของปีนี้ก็คือ เด็กสาววัยรุ่น 3-4 คน เปลือยกายเต้นโชว์ต่อหน้าผู้คนจำนวนมากที่กำลังเล่นน้ำสงกรานต์กันอยู่ที่ ถนนสีลม หลังจากการตีพิมพ์ในหน้าหนังสือพิมพ์ ข่าวนี้ก็กลายเป็น “เรื่องใหญ่” ทาง “ขนบประเพณีและวัฒนธรรมไทย” ดูเหมือนว่าการกระทำของเด็กสาวดังกล่าวนั้นเป็นเรื่องที่เลวร้ายและจะต้อง ถูกลงโทษทางสังคมอย่างรุนแรง แต่ถ้าถามคน “รุ่นใหม่” ที่ไม่ “เสแสร้ง” ผมเชื่อว่าพวกเขาน่าจะรู้สึก “เฉย ๆ” เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ พวกเขาอาจจะมองว่า มันเป็นเรื่องส่วนตัวของเขา ว่าที่จริงธรรมชาติของผู้หญิงก็ชอบโชว์อยู่แล้ว ไม่อย่างนั้นผู้หญิงจะชอบแต่งตัวแต่งหน้ากันหรือ? การแก้ผ้าโชว์ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการโชว์เท่านั้น และลองไปดูที่บราซิลหรือในอีกหลาย ๆ ประเทศ พวกเขาก็แก้ผ้าโชว์กันเป็นเรื่องปกติ เมืองไทยต่างหากที่เป็นปัญหา
ก่อนหน้านี้เพียงไม่ถึงเดือน มีการทำโพลล์ทางอินเทอร์เน็ตของนิตยสารไทม์ถ้าผมจำไม่ผิด ว่าใครคือผู้ที่ทรงอิทธิพลที่สุดของโลก คำตอบที่ออกมานั้นทำให้ผมรู้สึกทึ่งมาก เพราะว่าคนที่ได้อันดับหนึ่งนั้น ไม่ใช่ประธานาธิบดีของอเมริกาหรือจีนอย่างที่ควรจะเป็นถ้าเป็นโพลล์สมัยที่ ผมยังเป็นวัยรุ่นหรือเพียง 10-20 ปีที่แล้ว หรือเป็นบริทนีย์สเปียร์หรือแบรดพิตต์เมื่อ 5- 6 ปีก่อน แต่เป็น เรน นักร้องชาวเกาหลีที่ร้องและเต้นได้โดดเด่นมากที่สุดในช่วงเร็วๆ นี้ ใครจะไปคิดว่านักร้องหน้าตา “ตี๋ๆ” จากประเทศเล็กๆ ในเอเชียจะกลายเป็น “ไอดอล” ของคนทั้งโลกได้ ในสมัยก่อนนั้น ผมรู้สึกแต่ว่า คนที่จะ “นำ” ในเรื่องของความคิดและวัฒนธรรมระดับโลกได้จะต้องเป็นคนผิวขาวหรือไม่ก็ผิวดำ จากประเทศมหาอำนาจเท่านั้น แต่เดี๋ยวนี้ทุกอย่างเปลี่ยนไป ว่าที่จริงมันคงเปลี่ยนมาได้พักใหญ่แล้ว เห็นได้จากการที่วัยรุ่นไทยสมัยนี้ “บ้าเกาหลี” อะไรที่เป็น “เกาหลี” พวกเขาจะรู้สึกนิยมชมชอบ ผมต่างหากที่ “ตามไม่ทัน” และมันคงไม่ใช่เฉพาะที่เมืองไทย แต่ขยายไปทั่วโลก อุทาหรณ์เรื่องนี้ก็คือ สังคมกำลังเป็น “สังคมโลก” ที่ทุกประเทศมีส่วนกำหนด ไม่ใช่เฉพาะแต่ประเทศมหาอำนาจหรือบางชาติพันธุ์อีกต่อไป และประเทศไทยก็หนีไม่พ้น
เรื่องสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือ เรื่องของการ “ปฏิวัติประชาชน” ในกลุ่มประเทศอาหรับและแอฟริกาเหนือในช่วงนี้ นี่คือกลุ่มประเทศที่มีระบอบการปกครองแบบ “เผด็จการ” ที่มีผู้นำ “ปกครอง” ประเทศมายาวนาน การปกครองที่ผ่านมายาวนานนั้นดูเหมือนว่าจะราบรื่นพอสมควรจนทำให้เราคิดว่า ประชาชนของประเทศเหล่านี้มีคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างจากคนที่อื่นเนื่องด้วย สาเหตุอะไรก็แล้วแต่ แต่แล้วทันใดนั้นทุกอย่างก็เปลี่ยนแปลงไป ประชาชนจำนวนมากลุกฮือขึ้นมาทวงสิทธิและความเสมอภาคและต้องการ “ประชาธิปไตย” และพร้อมต่อสู้แลกด้วยชีวิตจนผู้นำที่อยู่อย่างมั่นคงมานานต้องยอมแพ้และยอม ให้มีการปฏิรูปการปกครองที่จะแตกต่างจากระบอบเดิมไปมาก ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้เพราะสื่อต่างๆ ทางอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อสังคมที่ทรงอิทธิพลอย่างเฟซบุ๊คที่ สร้างค่านิยมใหม่ๆ ขึ้นในสังคมที่ “ถูกปิด” ด้วยอำนาจของผู้ปกครอง นอกจากนั้น มันยังช่วยรวบรวมพลังของคนเหล่านั้นให้ลุกขึ้นมาต่อสู้กับผู้เผด็จการได้ ผลกระทบจากเรื่องของการลุกฮือของประชาชนในประเทศตะวันออกกลางนั้น ผมคิดว่ามันเป็นสัญญาณว่า สังคมของคนทั่วโลกนั้น มีแนวโน้มที่จะปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยมากกว่าที่จะเป็นแนวเผด็จการ ซึ่งแตกต่างจากสมัยก่อนที่ผมยังเป็นวัยรุ่นที่โลกยังไม่แน่นอนว่าจะมีแนว โน้มไปทางไหน และเผด็จการก็ยังเป็นทางที่เดินในหลายๆ ประเทศ
กล่าวโดยสรุปก็คือ สังคมไทยในวันนี้นั้น เปลี่ยนแปลงไปมากจากอดีต เราเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสังคมโลกอย่างใกล้ชิด และสังคมนั้น เปลี่ยนจากความไม่เท่าเทียมในด้านต่าง ๆ เฉพาะอย่างยิ่งในด้านของเพศและสิทธิทางการเมืองจากที่ไม่เท่าเทียมเป็นเท่า เทียมกันมากขึ้น เช่นเดียวกัน ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมต่าง ๆ ของเราก็เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสของโลกมากขึ้นเรื่อยจนสิ่งที่เราทำแตกต่างจาก สังคมโลกนั้น เป็นคล้ายๆ กับเรื่องของรายละเอียดมากกว่าจะเป็นความแตกต่างโดยพื้นฐาน เช่น งานสงกรานต์นั้นอาจจะเป็นงานรื่นเริง “ทั้งเมือง” คล้ายๆ งานมาดริการ์ของประเทศอย่างบราซิลมากกว่าจะเป็นเรื่องทางศาสนาหรือประเพณี โบราณ ปัญหานั้น ไม่ใช่อยู่ที่ว่าสังคมจะเปลี่ยนหรือไม่ แต่ปัญหาก็คือ ในโลกที่คน “รุ่นเก่า” ยังมีจำนวนและอิทธิพลในสังคมอยู่มาก ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงจึงไม่ “ราบรื่น” อย่างไรก็ตาม ความไม่ราบรื่นส่วนใหญ่ก็มักจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาอะไร นอกจากความหงุดหงิดของคน แต่ในบางครั้ง มันก็สามารถทำให้เกิดแรงกระทบกระทั่งที่รุนแรงจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ หน้าที่ของ VI ก็คือ ติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มใหญ่ทางสังคม ดูว่าอะไรจะเกิดขึ้นและมันเป็นสิ่งที่คุกคามหรือเป็นโอกาสในการลงทุน
บทความนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ 2พฤษภาคม 2554
เมื่อสัปดาห์ก่อนในงานเสกสมรสระหว่างเจ้าชายวิลเลียม ของราชวงศ์อังกฤษกับนางสาวเคท มิดเดิลตัน ซึ่งเป็นสามัญชน ผมได้รับรู้เรื่องราวสองเรื่องที่ผมคิดว่าเป็นไปไม่ได้ในสมัยที่ผมยังเรียน ชั้นมัธยมหรือมหาวิทยาลัยนั่นก็คือ เรื่องแรก เคท ไม่ยอมกล่าวคำสาบานว่าจะ “เชื่อฟังคำสั่ง” หรืออยู่ในโอวาทของสามีซึ่งในอนาคตจะเป็นกษัตริย์แห่งอังกฤษซึ่งเป็นราชวงศ์ ที่ถือว่ายังยึดมั่นใน “ขนบธรรมเนียมประเพณี” อย่างเคร่งครัด ส่วนเรื่องที่สองที่น่าจะยิ่ง “ช็อก” สำหรับคนรุ่นใกล้ๆ กับผมก็คือ เคทและเจ้าชายวิลเลียมให้สัมภาษณ์อย่างเปิดเผยว่าทั้งคู่ “อยู่กันมาก่อนแต่งงาน” ทั้งสองเรื่องนี้ ถ้าเป็นสมัยก่อนคงเป็นเรื่องใหญ่ที่จะทำให้เกิดโกลาหลถึงขนาด “พัง” กันได้ แต่ใน พ.ศ. นี้ ดูเหมือนว่าไม่มีใครติดใจอะไรเลย เป็นพฤติกรรมที่ยอมรับกันได้ว่าเป็นเรื่องธรรมดา นั่นคือ ข้อแรก หญิงชายมีความเสมอภาคกัน ดังนั้นหญิงไม่จำเป็นต้องเชื่อฟังคำสั่งของชาย ข้อสอง ธรรมเนียม “รักนวลสงวนตัว” ของผู้หญิงนั้น หมดไปแล้ว ว่าที่จริง ธรรมเนียมนี้ก็เป็นผลต่อมาจากธรรมเนียมเรื่องความไม่เสมอภาคระหว่างชายกับ หญิง เมื่อชายกับหญิงเท่าเทียมกันแล้ว ธรรมเนียมว่าชายกับหญิงไม่ควรมีสัมพันธ์ขนาดอยู่ด้วยกันก่อนแต่งงานก็หมดไป
ผมคิดว่าเดี๋ยวนี้คน “รุ่นใหม่” ของไทยก็มีความคิดแบบเดียวกับเคทและเจ้าชายวิลเลียมแม้ว่า “คนรุ่นเก่า” จำนวนไม่น้อยก็ยัง “รับไม่ได้” ตัวอย่างเล็ก ๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงสงกรานต์ของปีนี้ก็คือ เด็กสาววัยรุ่น 3-4 คน เปลือยกายเต้นโชว์ต่อหน้าผู้คนจำนวนมากที่กำลังเล่นน้ำสงกรานต์กันอยู่ที่ ถนนสีลม หลังจากการตีพิมพ์ในหน้าหนังสือพิมพ์ ข่าวนี้ก็กลายเป็น “เรื่องใหญ่” ทาง “ขนบประเพณีและวัฒนธรรมไทย” ดูเหมือนว่าการกระทำของเด็กสาวดังกล่าวนั้นเป็นเรื่องที่เลวร้ายและจะต้อง ถูกลงโทษทางสังคมอย่างรุนแรง แต่ถ้าถามคน “รุ่นใหม่” ที่ไม่ “เสแสร้ง” ผมเชื่อว่าพวกเขาน่าจะรู้สึก “เฉย ๆ” เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ พวกเขาอาจจะมองว่า มันเป็นเรื่องส่วนตัวของเขา ว่าที่จริงธรรมชาติของผู้หญิงก็ชอบโชว์อยู่แล้ว ไม่อย่างนั้นผู้หญิงจะชอบแต่งตัวแต่งหน้ากันหรือ? การแก้ผ้าโชว์ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการโชว์เท่านั้น และลองไปดูที่บราซิลหรือในอีกหลาย ๆ ประเทศ พวกเขาก็แก้ผ้าโชว์กันเป็นเรื่องปกติ เมืองไทยต่างหากที่เป็นปัญหา
ก่อนหน้านี้เพียงไม่ถึงเดือน มีการทำโพลล์ทางอินเทอร์เน็ตของนิตยสารไทม์ถ้าผมจำไม่ผิด ว่าใครคือผู้ที่ทรงอิทธิพลที่สุดของโลก คำตอบที่ออกมานั้นทำให้ผมรู้สึกทึ่งมาก เพราะว่าคนที่ได้อันดับหนึ่งนั้น ไม่ใช่ประธานาธิบดีของอเมริกาหรือจีนอย่างที่ควรจะเป็นถ้าเป็นโพลล์สมัยที่ ผมยังเป็นวัยรุ่นหรือเพียง 10-20 ปีที่แล้ว หรือเป็นบริทนีย์สเปียร์หรือแบรดพิตต์เมื่อ 5- 6 ปีก่อน แต่เป็น เรน นักร้องชาวเกาหลีที่ร้องและเต้นได้โดดเด่นมากที่สุดในช่วงเร็วๆ นี้ ใครจะไปคิดว่านักร้องหน้าตา “ตี๋ๆ” จากประเทศเล็กๆ ในเอเชียจะกลายเป็น “ไอดอล” ของคนทั้งโลกได้ ในสมัยก่อนนั้น ผมรู้สึกแต่ว่า คนที่จะ “นำ” ในเรื่องของความคิดและวัฒนธรรมระดับโลกได้จะต้องเป็นคนผิวขาวหรือไม่ก็ผิวดำ จากประเทศมหาอำนาจเท่านั้น แต่เดี๋ยวนี้ทุกอย่างเปลี่ยนไป ว่าที่จริงมันคงเปลี่ยนมาได้พักใหญ่แล้ว เห็นได้จากการที่วัยรุ่นไทยสมัยนี้ “บ้าเกาหลี” อะไรที่เป็น “เกาหลี” พวกเขาจะรู้สึกนิยมชมชอบ ผมต่างหากที่ “ตามไม่ทัน” และมันคงไม่ใช่เฉพาะที่เมืองไทย แต่ขยายไปทั่วโลก อุทาหรณ์เรื่องนี้ก็คือ สังคมกำลังเป็น “สังคมโลก” ที่ทุกประเทศมีส่วนกำหนด ไม่ใช่เฉพาะแต่ประเทศมหาอำนาจหรือบางชาติพันธุ์อีกต่อไป และประเทศไทยก็หนีไม่พ้น
เรื่องสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือ เรื่องของการ “ปฏิวัติประชาชน” ในกลุ่มประเทศอาหรับและแอฟริกาเหนือในช่วงนี้ นี่คือกลุ่มประเทศที่มีระบอบการปกครองแบบ “เผด็จการ” ที่มีผู้นำ “ปกครอง” ประเทศมายาวนาน การปกครองที่ผ่านมายาวนานนั้นดูเหมือนว่าจะราบรื่นพอสมควรจนทำให้เราคิดว่า ประชาชนของประเทศเหล่านี้มีคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างจากคนที่อื่นเนื่องด้วย สาเหตุอะไรก็แล้วแต่ แต่แล้วทันใดนั้นทุกอย่างก็เปลี่ยนแปลงไป ประชาชนจำนวนมากลุกฮือขึ้นมาทวงสิทธิและความเสมอภาคและต้องการ “ประชาธิปไตย” และพร้อมต่อสู้แลกด้วยชีวิตจนผู้นำที่อยู่อย่างมั่นคงมานานต้องยอมแพ้และยอม ให้มีการปฏิรูปการปกครองที่จะแตกต่างจากระบอบเดิมไปมาก ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้เพราะสื่อต่างๆ ทางอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อสังคมที่ทรงอิทธิพลอย่างเฟซบุ๊คที่ สร้างค่านิยมใหม่ๆ ขึ้นในสังคมที่ “ถูกปิด” ด้วยอำนาจของผู้ปกครอง นอกจากนั้น มันยังช่วยรวบรวมพลังของคนเหล่านั้นให้ลุกขึ้นมาต่อสู้กับผู้เผด็จการได้ ผลกระทบจากเรื่องของการลุกฮือของประชาชนในประเทศตะวันออกกลางนั้น ผมคิดว่ามันเป็นสัญญาณว่า สังคมของคนทั่วโลกนั้น มีแนวโน้มที่จะปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยมากกว่าที่จะเป็นแนวเผด็จการ ซึ่งแตกต่างจากสมัยก่อนที่ผมยังเป็นวัยรุ่นที่โลกยังไม่แน่นอนว่าจะมีแนว โน้มไปทางไหน และเผด็จการก็ยังเป็นทางที่เดินในหลายๆ ประเทศ
กล่าวโดยสรุปก็คือ สังคมไทยในวันนี้นั้น เปลี่ยนแปลงไปมากจากอดีต เราเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสังคมโลกอย่างใกล้ชิด และสังคมนั้น เปลี่ยนจากความไม่เท่าเทียมในด้านต่าง ๆ เฉพาะอย่างยิ่งในด้านของเพศและสิทธิทางการเมืองจากที่ไม่เท่าเทียมเป็นเท่า เทียมกันมากขึ้น เช่นเดียวกัน ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมต่าง ๆ ของเราก็เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสของโลกมากขึ้นเรื่อยจนสิ่งที่เราทำแตกต่างจาก สังคมโลกนั้น เป็นคล้ายๆ กับเรื่องของรายละเอียดมากกว่าจะเป็นความแตกต่างโดยพื้นฐาน เช่น งานสงกรานต์นั้นอาจจะเป็นงานรื่นเริง “ทั้งเมือง” คล้ายๆ งานมาดริการ์ของประเทศอย่างบราซิลมากกว่าจะเป็นเรื่องทางศาสนาหรือประเพณี โบราณ ปัญหานั้น ไม่ใช่อยู่ที่ว่าสังคมจะเปลี่ยนหรือไม่ แต่ปัญหาก็คือ ในโลกที่คน “รุ่นเก่า” ยังมีจำนวนและอิทธิพลในสังคมอยู่มาก ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงจึงไม่ “ราบรื่น” อย่างไรก็ตาม ความไม่ราบรื่นส่วนใหญ่ก็มักจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาอะไร นอกจากความหงุดหงิดของคน แต่ในบางครั้ง มันก็สามารถทำให้เกิดแรงกระทบกระทั่งที่รุนแรงจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ หน้าที่ของ VI ก็คือ ติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มใหญ่ทางสังคม ดูว่าอะไรจะเกิดขึ้นและมันเป็นสิ่งที่คุกคามหรือเป็นโอกาสในการลงทุน
บทความนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ 2พฤษภาคม 2554
Subscribe to:
Posts (Atom)