การซื้อหุ้นลงทุนแต่ละตัว นักลงทุนแต่ละคน มักจะมีแนวคิดคร่าวๆ ว่า หุ้นตัวนั้นเขาจะ "ถือยาวหรือสั้น".แน่นอนว่า สำหรับบางคนแล้ว เขาแทบไม่คิด เพราะสำหรับเขา การซื้อหุ้นลงทุน ไม่มีคำว่ายาว นั่นเป็นเพราะเขาเป็น "นักเทรดหุ้น" หรือเล่นหุ้น "รายวัน" สิ่งที่เขาทำ ก็คือ คอยดูว่าตลาดหุ้นวันนั้นจะมีทิศทางอย่างไร หรือหุ้นตัวนั้นจะมีทิศทางอย่างไรในแต่ละนาทีหรือชั่วโมง เขาเก็งกำไรจากความผันผวนของราคาหุ้น นี่คือ นักลงทุนรายย่อยจำนวนมากในตลาดหลักทรัพย์ ที่มีเม็ดเงินลงทุนไม่มากและซื้อขายหุ้นเป็น "งานอดิเรก"
นอกจากรายย่อยเหล่านี้แล้ว คนที่ซื้อขายหุ้นรวดเร็วมากยังรวมถึง "ขาใหญ่" หรือนักลงทุนที่มีเม็ดเงินลงทุนจำนวนมากที่เข้าไปซื้อขายหุ้น "รายวัน" ด้วยเม็ดเงินมหาศาล คนกลุ่มนี้ นอกจากจะเก็งกำไรจากความผันผวนของราคาหุ้นแล้ว บ่อยครั้งยังเป็นคนที่ "สร้างความผันผวน" ให้กับราคาหุ้นเอง เพื่อให้ตนได้เปรียบในการเก็งกำไรจากการซื้อขายหุ้น
กลุ่มคนที่ "เล่นสั้น" ถ้าเป็นรายเล็ก ซึ่งการซื้อขายไม่สามารถมีอิทธิพลต่อราคาหุ้นได้ ในบางช่วงที่ตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวขึ้นดีเป็นกระทิง พวกเขาอาจมีกำไรบ้าง แต่ช่วงที่ตลาดหุ้นลง หรือขึ้นๆ ลงๆ พวกเขาก็มักจะขาดทุน และในระยะยาว พวกเขาแทบจะต้องขาดทุนเสมอ เหตุผลก็คือ ค่าคอมมิชชั่นในการซื้อขายหุ้นจะ "กิน" ผลตอบแทนที่อาจจะทำได้จากการซื้อขายหุ้นหมด ส่วนรายใหญ่ที่เก็งกำไรหุ้นระยะสั้น เช่นเดียวกัน ในช่วงที่ตลาดหุ้นดี พวกเขาอาจจะมีกำไรมหาศาล แต่ในยามที่ตลาดหุ้นแย่ หลายคนก็เสียหายหนัก ในระยะยาว คนที่ทำผลตอบแทนได้มหาศาลก็น่าจะมีจำกัด
ตัวอย่างของคนที่เล่นสั้นและประสบความสำเร็จอย่างสูง ก็คือ จอร์จ โซรอส ถ้าย้อนหลังไปยาวกว่านั้น อาจรวมถึงนักเก็งกำไรระดับโลกหลายๆ คนอย่าง เจสซี่ ลิเวอร์มอร์ เบอร์นาร์ด บารูช และ เจอราลด์ เลิบ เป็นต้น แม้บางคนจะล้มเหลวช่วงท้ายๆ ของชีวิต
กลุ่มคนอีกกลุ่มหนึ่งที่มี Time Frame หรือช่วงเวลาการลงทุนค่อนข้างสั้น แต่ไม่ถึงกับเป็น Day Trader หรือเล่นหุ้นรายวันแต่น่าจะลงทุนในระยะเวลาเป็น "รายเดือน" หรืออาจจะหลายเดือน คนที่เล่นหุ้นแนวนี้ มักจะมอง "พื้นฐาน" ของหุ้น ประกอบกับ "โมเมนตัม" หรืออาจจะเรียกว่าเป็น "แรงส่ง" ที่เกิดจากการเก็งกำไรของนักลงทุนกลุ่มต่างๆ รวมถึงแรงส่งที่มาจาก "สตอรี่" หรือเรื่องราวที่น่าตื่นเต้นของหุ้น พูดง่ายๆ พวกเขาลงทุนโดยเน้นทั้งแนวพื้นฐานและแนวเทคนิค เพื่อที่จะซื้อหุ้นที่มีพื้นฐานในเวลาที่มันกำลัง "ร้อนแรง" นักลงทุนหลายคนในกลุ่มนี้มี วิลเลียม โอนีล เซียนหุ้นที่ใช้กลยุทธ์ที่มีชื่อย่อว่า "CANSLIM" เป็นไอดอล นักลงทุนในกลุ่มนี้มักจะทำผลตอบแทนได้น่าประทับใจมากในช่วงที่ตลาดหุ้น คึกคักร้อนแรงอย่างที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ในยามที่ตลาดหุ้นตกต่ำลง พวกเขาก็อาจจะ "เจ็บตัว" ไม่น้อยไปกว่านักเก็งกำไรกลุ่มอื่นๆ
กลุ่มที่ลงทุนยาวเป็นปี หรืออาจจะ 2-3 ปี เป็นกลุ่มใหญ่พอสมควร ก็คือ กลุ่มที่เรียกว่าเป็น Value Investor "กระแสหลัก" นี่คือ กลุ่มที่ยึดแนวทางของ เบน เกรแฮม บิดาของการลงทุนแบบ Value Investment กลยุทธ์การลงทุนของนักลงทุนกลุ่มนี้ เน้นเรื่องราคาหุ้นว่าต้องเป็นหุ้นที่ "ถูกมาก" เป็นหุ้นที่มี Margin of Safety หรือมีส่วนเผื่อความปลอดภัยสูง พวกเขามักเป็นนักลงทุนที่อนุรักษนิยม และไม่กล้าที่จะซื้อหุ้นที่มีค่า PE สูงที่เขาเห็นว่าเป็นหุ้นที่มีราคาแพง แม้หุ้นนั้นจะเป็นบริษัทที่มีคุณสมบัติยอดเยี่ยมก็ตาม
ผลงานการลงทุนของนักลงทุนสาย เกรแฮม น่าจะไม่หวือหวามากนัก โดยเฉพาะช่วงตลาดหุ้นบูมมากๆ เพราะหุ้นที่พวกเขาซื้อ มักจะไม่ใช่หุ้นที่มีสตอรี่ หรือมีเรื่องราวให้นักเก็งกำไรเข้ามาสนใจมากนัก ผลงานระยะยาวก็มักจะดีใช้ได้ เหนือสิ่งอื่นใด ก็คือ ยามที่ตลาดหุ้นไม่ดีหรือ "ไม่ไปไหน" เป็นเวลานาน นักลงทุนกลุ่มนี้น่าจะรักษาผลตอบแทนของตนเองได้ดีพอสมควรเทียบกับกลุ่มอื่นๆ
นักลงทุนกลุ่มที่มีระยะเวลาการลงทุนไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับวัฏจักร หรือสถานการณ์ของตัวหุ้น หรือสภาวะเศรษฐกิจบางอย่าง อาจจะเรียกว่า "นักเล่นหุ้นตามสถานการณ์" นี่คือ นักลงทุนที่น่าจะมี Time Frame ไม่เกิน 3-4 ปี และบ่อยครั้งอาจจะน้อยกว่านั้น ไอดอลของนักลงทุนกลุ่มนี้น่าจะเป็น ปีเตอร์ ลินช์ ซึ่งมีกลยุทธ์การลงทุนที่ "เล่นหุ้นได้ทุกรูปแบบ" โดยเน้นพื้นฐานของตัวกิจการเป็นหลัก การเล่นหุ้นได้ทุกรูปแบบ เกิดจากการที่ลินช์จัดกลุ่มหุ้นทุกตัวตามคุณสมบัติของบริษัท เช่น เป็นหุ้นโตเร็ว หุ้นที่อยู่ในกิจการที่เป็นวัฏจักร หุ้นทรัพย์สินมาก และหุ้นฟื้นตัวจากวิกฤติ เป็นต้น
ผลงานการลงทุนแบบของปีเตอร์ ลินช์ ผมคิดว่า คนที่ทำได้ดี นั่นคือ ซื้อขายหุ้นได้ถูกต้องตามคุณสมบัติของบริษัท น่าจะได้กำไร หรือผลตอบแทนเป็นกอบเป็นกำ โดยเฉพาะหุ้นวัฏจักรและกลุ่มฟื้นตัว การที่จะทำเช่นนั้นได้ ไม่ใช่สิ่งที่ง่ายสำหรับนักลงทุนที่ไม่ได้ศึกษา หรือมีความรู้ความสามารถพอ ถ้าเป็นการเข้าไปซื้อขายหลังจากที่หุ้นปรับตัวขึ้นมามากแล้ว นักลงทุนอาจจะขาดทุนได้ และนี่ทำให้การลงทุนแบบนี้ก็มีความเสี่ยงไม่น้อย
กลุ่มสุดท้าย ก็คือ นักลงทุนที่ลงทุนยาวมาก คือ ประมาณตั้งแต่ 3-4 ปีขึ้นไป ไอดอลของกลุ่มนี้ ก็คือ ฟิลลิป ฟิสเชอร์ และ วอร์เรน บัฟเฟตต์ นี่คือ นักลงทุนที่เน้นลงทุนในกิจการที่ดีเยี่ยมที่สุดในประเทศ พวกเขาจะไม่ใคร่สนใจหุ้นของกิจการที่ "หาจุดเด่นไม่ค่อยได้" แม้จะมีราคาถูก หรืออาจจะมีสตอรี่ที่น่าสนใจ เป็นบริษัทที่กำลังอยู่ในวัฏจักร "ขาขึ้น" หรือแม้แต่บริษัทที่ "กำลังฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด" สิ่งที่พวกเขามองก็คือ ความสามารถการแข่งขัน หรือความได้เปรียบที่ยั่งยืนที่บริษัทมีต่อคู่แข่ง ความเข้มแข็งทางการเงิน การเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมและบริษัท เหล่านี้เป็นต้น ส่วนราคาหุ้นนั้นก็สนใจว่าต้องไม่แพง แต่ราคาหุ้นที่ถูกมากนั้นไม่ใช่ประเด็นหลักในการเลือกหุ้น
นักลงทุนที่เน้นในหุ้นแบบซูเปอร์สต็อกและถือหุ้นยาวนาน น่าจะมีน้อยมาก เหตุผลก็อาจจะเป็นเพราะว่าเป็นกลยุทธ์ที่ "น่าเบื่อ" นอกจากนั้น กิจการที่เป็น "ซูเปอร์" จริงๆ ในไทยและอยู่ในตลาดหุ้นอาจจะมีไม่มาก เหนือสิ่งอื่นใด การปรับตัวขึ้นของราคาหุ้น ก็มักจะไม่หวือหวาในระยะเวลาอันสั้น ในช่วงเร็วๆ นี้ หุ้นซูเปอร์สต็อกก็มีผลงานค่อนข้างดี ทำให้ผลตอบแทนของนักลงทุนโดดเด่นพอสมควร โดยที่ความเสี่ยงไม่สูงนัก
เป็นเรื่องยากที่นักลงทุนคนหนึ่งจะมี Time Frame หรือกลยุทธ์แน่นอนเพียงแนวเดียว นักลงทุนที่มุ่งมั่นและมีประสบการณ์มาก มักจะมีจุดเน้นของตนเองที่พอบอกได้ว่าเขาเป็นนักลงทุนแนวไหน การเลือกตำแหน่งของตนเองผมคิดว่าจะเป็นตัวตัดสินผลงานระยะยาวของการลงทุน เพราะเป็น "ยุทธศาสตร์" ที่จะกำหนดสิ่งต่างๆ ที่เราจะเดินไป
บทความนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ 21 มิถุนายน 2554
Friday, June 24, 2011
หุ้นหลังรัฐบาลใหม่
การเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงในครั้งนี้ ผมคิดว่าเป็นการเลือกตั้งที่น่าจับตามองมาก.สาเหตุก็เพราะ ประการแรก มันเป็นการ แข่งขันกันแบบเอาเป็นเอาตายเพื่อจะได้จัดตั้งรัฐบาล ดังนั้น ทั้งสองฝ่ายต่างก็ทุ่มเทและเสนอนโยบาย ที่จะเอาใจผู้ลงคะแนนส่วนใหญ่ของประเทศ ประการที่สอง ก็คือ นโยบายที่นำเสนอโดยพรรคการเมืองใหญ่ทั้งสองฝ่ายนั้น เป็นนโยบายที่อาจจะมีผลกระทบนอกจากกับประชาชน ทั่วไปแล้ว มันยังจะมีผลกระทบไปถึงธุรกิจต่างๆ เป็นการทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ ขนาดที่เรียกว่าอาจจะเปลี่ยนแปลง "โครงสร้าง" ทางเศรษฐกิจ หรือการทำธุรกิจของประเทศไทย และ ประการสุดท้าย มัน อาจจะเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ หรือความน่าสนใจของ หุ้นในตลาดหลักทรัพย์ แต่ละกลุ่ม มาดูกันว่าเป็นอย่างไร
การเลือกตั้งครั้งนี้ มีการเสนอนโยบายที่ชัดเจน และเป็นรูปธรรมอย่างยิ่งในแง่ที่ว่า "ถ้าคุณเลือกเราแล้ว คุณจะได้อะไร" สิ่งที่จะได้ไม่ใช่แค่นโยบายกว้างๆ อย่างที่เคยเป็นมา แต่เป็นสิ่งที่ชัดเจนและบอกเป็นตัวเลขได้ในหลายๆ ด้าน ผมคงไม่พูดถึงนโยบายทั้งหมด แต่จะพูดเฉพาะเรื่องที่ผมคิดว่า จะมีผลกระทบรุนแรง และน่าจะเกิดได้ทันทีหรือในเวลาอันสั้นมาก นั่นคือ นโยบายเกี่ยวกับค่าแรงขั้นต่ำ และนโยบายอัตราภาษีนิติบุคคล เพราะนี่คือ นโยบายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโดยตรง และนโยบายการ "รับประกันราคา" สินค้าเกษตรหลักๆ เช่น ข้าว เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับคนจำนวนมากที่เป็นเกษตรกร
ถ้าหากมีการดำเนินนโยบายตามที่ประกาศจริง หลังจากที่ได้มีการจัดตั้งรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นพรรคไหน ดูเหมือนว่าสิ่งที่ค่อนข้างแน่นอน ก็คือ จะปรับอัตราค่าแรงงานขั้นต่ำเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งนี่ก็น่าจะกระทบไปถึงแรงงานในระดับอื่นด้วย ที่จะต้องเพิ่มขึ้นไม่มากก็น้อย ผลก็คือ คนงานซึ่งมีอยู่จำนวนมากจะมีรายได้เพิ่มขึ้นมาก เช่นเดียวกัน การประกันราคาพืชผลก็จะส่งผลให้เกษตรกรจำนวนมากมีรายได้เพิ่มขึ้นค่อนข้าง มากเช่นเดียวกัน
นี่จะส่งผลให้ผู้ใช้แรงงานและเกษตรกร ที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นมากทันที เงินที่มากขึ้นนี้จะถูกนำมาใช้จ่ายซื้อสินค้าทำให้การบริโภคภายในประเทศ เฟื่องฟูขึ้นมาก และสิ่งที่จะตามมา ก็คือ อัตราเงินเฟ้อก็น่าจะสูง ขึ้นพอสมควรทีเดียว เงินเฟ้อนี้ก็ไม่น่าจะสูงเกินกว่าค่าแรงที่ได้เพิ่มขึ้น ผลก็คือ คนที่มีรายได้น้อยและเป็นคนส่วนใหญ่ในประเทศน่าจะได้ประโยชน์ ความมั่งคั่งของพวกเขาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
หันกลับมาดูธุรกิจและผู้ประกอบการทั้งหลาย ก็จะพบว่าต้นทุนของสินค้าและบริการของเขาจะเพิ่มขึ้น มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณแรงงานที่พวกเขาต้องใช้ โดยทั่วไป สัดส่วนต้นทุนแรงงานของธุรกิจขนาดเล็กจะสูงกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ สัดส่วนการใช้แรงงานของธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีต่ำก็จะสูงกว่าอุตสาหกรรมที่ ใช้เทคโนโลยีสูง ดังนั้น ธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีต่ำ ก็ จะถูกกระทบรุนแรง เพราะจะมีต้นทุนการผลิตสูง ขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ถ้าหากว่าธุรกิจมีการแข่งขัน หรือขายสินค้าหรือบริการภายในประเทศเป็นหลักและสินค้าหรือบริการจากต่าง ประเทศไม่สามารถเข้ามาแข่งขันได้อย่างจริงๆ จังๆ แบบนี้ธุรกิจก็อาจจะไม่ถูกกระทบมาก เพราะเมื่อต้นทุนของธุรกิจสูงขึ้นพอๆ กันทุกราย พวกเขาก็สามารถส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปยังผู้ซื้อสินค้าหรือใช้บริการ ผลก็คือ พวกเขาก็น่าจะยังสามารถทำกำไรได้ต่อไป ธุรกิจที่ส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศนั้น ถึงแม้ต้นทุนค่าแรงจะเพิ่มขึ้นมาก พวกเขาก็ไม่สามารถส่งผ่านต้นทุนไปยังผู้ซื้อในต่างประเทศได้ เพราะคู่แข่งของพวกเขาที่อยู่ในประเทศอื่นนั้น ไม่ได้มีต้นทุนแรงงานที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น ผู้ส่งออกน่าจะมีกำไรน้อยลงหรือบางรายอาจจะขาดทุน และไม่สามารถส่งออกสินค้าได้ต่อไป ดังนั้น สิ่งที่แน่ชัด ก็คือ การส่งออกของประเทศน่าจะชะลอตัวลง กำไรของบริษัทส่งออกน่าจะน้อยลง ความมั่งคั่งของผู้ส่งออกน่าจะลดลง ผู้ส่งออกเป็นผู้ที่เสียประโยชน์อย่างชัดเจน
ธุรกิจที่เน้นขายให้กับผู้บริโภคภายในประเทศ บอกไม่ได้ชัดว่าเสียประโยชน์จากนโยบายเพิ่มค่าแรงและเพิ่มรายได้ให้กับ เกษตรกร เพราะถึงแม้ค่าแรง ซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตจะเพิ่มขึ้น หลายๆ ธุรกิจก็สามารถเพิ่มราคาขายสินค้าและบริการได้ นอกจากนั้น การที่ประชาชนมีรายได้มากขึ้นก็ทำให้พวกเขามีการซื้อมากขึ้น รายได้ของธุรกิจก็สูงขึ้น นี่ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ก็ส่งผลให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นซึ่งก็ทำให้ธุรกิจขายสินค้าและมียอดขายสูง ขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อด้วย นอกจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นแล้ว หากว่ารัฐบาลลดอัตราภาษีนิติบุคคลลง ต้นทุนทางด้านภาษีก็ลดลง เมื่อประกอบกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น กำไรของบริษัทก็อาจจะไม่ลดลง หรือบางทีอาจจะดีขึ้นด้วย ดังนั้น สำหรับผู้ที่ขายสินค้าหรือให้บริการภายในประเทศแล้ว พวกเขาอาจจะไม่เสียประโยชน์ หลายบริษัทอาจได้ประโยชน์ด้วยซ้ำ
หากว่าอัตราการเพิ่มของค่าแรงสูงมากพอ ผลกระทบรุนแรงพอ เราก็อาจจะได้เห็นธุรกิจโดยเฉพาะที่เป็นผู้ส่งออกบางรายอยู่ไม่ได้ เพราะสินค้าที่เคยผลิตไม่สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก การส่งออกที่เคยเป็น "เครื่องยนต์หลัก" ในการผลักดันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจะมีบทบาทน้อยลง เราจะไม่ได้เห็นการส่งออกที่โตเอาๆ ต่อเนื่องมาเป็นสิบๆ ปีอีกต่อไป ในอีกด้านหนึ่ง การบริโภคภายในประเทศ เข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ในภาพใหญ่ของประเทศ การกระจายความมั่งคั่งของคนไทย ก็จะดีขึ้นเพราะประชาชนทั่วไปจะมีรายได้มากขึ้น ในขณะที่ผู้ส่งออกและผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยอาจจะมีรายได้น้อยลง ดังนั้น ถ้าเป็นแบบนี้ผมคิดว่านโยบายที่เสนอมาก็ไม่น่ามีปัญหาอะไรมากและน่าจะเป็น ผลดี
ประเด็นปัญหา ก็คือ ถ้าหากการเพิ่มค่าแรงและรายได้ให้กับผู้มีรายได้น้อย สูงเกินกว่าที่ควรจะเป็นมาก เมื่อเทียบกับผลิตภาพในการผลิตและธุรกิจ และแรงงานไม่สามารถปรับตัวได้ ผลที่จะเกิดขึ้นก็อาจจะน่ากลัวและเป็นอันตรายกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ของประเทศในระยะยาว เหตุผล ก็คือ การส่งออกของประเทศก็จะลดลงมาก ธุรกิจก็อาจจะต้องเลิก การจ้างงานอาจจะลดลง คนอาจจะตกงาน รายได้โดยรวมของผู้มีรายได้น้อยก็จะลดลง การบริโภคภายในประเทศก็จะลดลงตาม และดังนั้น แม้แต่ธุรกิจที่เน้นการบริโภคในประเทศเองก็อาจจะมีรายได้น้อยลง การจ้างงานก็อาจจะลดลงไปอีก สุดท้าย การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศก็จะลดลง และเมืองไทยก็อาจจะกลายเป็นประเทศที่ไม่สามารถแข่งขันได้คล้ายๆ กับประเทศอย่างฟิลิปปินส์ที่มีค่าแรงขั้นต่ำอาจจะสูงแต่คนไม่มีงานทำ
ผมคงไม่กล้าเดาว่าประเทศไทยหลังจากมีรัฐบาลใหม่เศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร แต่ในด้านของหุ้นนั้น ในขั้นนี้เพื่อความปลอดภัย ผมคงพยายามที่จะเลือกหุ้นลงทุนที่จะปลอดภัยถ้ามีการดำเนินการตามนโยบายดัง กล่าว และอาจจะพิจารณาหลีกเลี่ยงหุ้นของกิจการที่จะถูกกระทบรุนแรง โดยส่วนตัวแล้วผมก็คิดว่า บริษัทจดทะเบียนในตลาดดูเหมือนว่าจะถูกกระทบน้อยกว่าบริษัทขนาดเล็ก และบริษัทผู้ส่งออกที่ส่วนใหญ่อยู่นอกตลาดหุ้น
บทความนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ 14 มิถุนายน 2554
การเลือกตั้งครั้งนี้ มีการเสนอนโยบายที่ชัดเจน และเป็นรูปธรรมอย่างยิ่งในแง่ที่ว่า "ถ้าคุณเลือกเราแล้ว คุณจะได้อะไร" สิ่งที่จะได้ไม่ใช่แค่นโยบายกว้างๆ อย่างที่เคยเป็นมา แต่เป็นสิ่งที่ชัดเจนและบอกเป็นตัวเลขได้ในหลายๆ ด้าน ผมคงไม่พูดถึงนโยบายทั้งหมด แต่จะพูดเฉพาะเรื่องที่ผมคิดว่า จะมีผลกระทบรุนแรง และน่าจะเกิดได้ทันทีหรือในเวลาอันสั้นมาก นั่นคือ นโยบายเกี่ยวกับค่าแรงขั้นต่ำ และนโยบายอัตราภาษีนิติบุคคล เพราะนี่คือ นโยบายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโดยตรง และนโยบายการ "รับประกันราคา" สินค้าเกษตรหลักๆ เช่น ข้าว เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับคนจำนวนมากที่เป็นเกษตรกร
ถ้าหากมีการดำเนินนโยบายตามที่ประกาศจริง หลังจากที่ได้มีการจัดตั้งรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นพรรคไหน ดูเหมือนว่าสิ่งที่ค่อนข้างแน่นอน ก็คือ จะปรับอัตราค่าแรงงานขั้นต่ำเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งนี่ก็น่าจะกระทบไปถึงแรงงานในระดับอื่นด้วย ที่จะต้องเพิ่มขึ้นไม่มากก็น้อย ผลก็คือ คนงานซึ่งมีอยู่จำนวนมากจะมีรายได้เพิ่มขึ้นมาก เช่นเดียวกัน การประกันราคาพืชผลก็จะส่งผลให้เกษตรกรจำนวนมากมีรายได้เพิ่มขึ้นค่อนข้าง มากเช่นเดียวกัน
นี่จะส่งผลให้ผู้ใช้แรงงานและเกษตรกร ที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นมากทันที เงินที่มากขึ้นนี้จะถูกนำมาใช้จ่ายซื้อสินค้าทำให้การบริโภคภายในประเทศ เฟื่องฟูขึ้นมาก และสิ่งที่จะตามมา ก็คือ อัตราเงินเฟ้อก็น่าจะสูง ขึ้นพอสมควรทีเดียว เงินเฟ้อนี้ก็ไม่น่าจะสูงเกินกว่าค่าแรงที่ได้เพิ่มขึ้น ผลก็คือ คนที่มีรายได้น้อยและเป็นคนส่วนใหญ่ในประเทศน่าจะได้ประโยชน์ ความมั่งคั่งของพวกเขาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
หันกลับมาดูธุรกิจและผู้ประกอบการทั้งหลาย ก็จะพบว่าต้นทุนของสินค้าและบริการของเขาจะเพิ่มขึ้น มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณแรงงานที่พวกเขาต้องใช้ โดยทั่วไป สัดส่วนต้นทุนแรงงานของธุรกิจขนาดเล็กจะสูงกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ สัดส่วนการใช้แรงงานของธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีต่ำก็จะสูงกว่าอุตสาหกรรมที่ ใช้เทคโนโลยีสูง ดังนั้น ธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีต่ำ ก็ จะถูกกระทบรุนแรง เพราะจะมีต้นทุนการผลิตสูง ขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ถ้าหากว่าธุรกิจมีการแข่งขัน หรือขายสินค้าหรือบริการภายในประเทศเป็นหลักและสินค้าหรือบริการจากต่าง ประเทศไม่สามารถเข้ามาแข่งขันได้อย่างจริงๆ จังๆ แบบนี้ธุรกิจก็อาจจะไม่ถูกกระทบมาก เพราะเมื่อต้นทุนของธุรกิจสูงขึ้นพอๆ กันทุกราย พวกเขาก็สามารถส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปยังผู้ซื้อสินค้าหรือใช้บริการ ผลก็คือ พวกเขาก็น่าจะยังสามารถทำกำไรได้ต่อไป ธุรกิจที่ส่งออกสินค้าไปขายยังต่างประเทศนั้น ถึงแม้ต้นทุนค่าแรงจะเพิ่มขึ้นมาก พวกเขาก็ไม่สามารถส่งผ่านต้นทุนไปยังผู้ซื้อในต่างประเทศได้ เพราะคู่แข่งของพวกเขาที่อยู่ในประเทศอื่นนั้น ไม่ได้มีต้นทุนแรงงานที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น ผู้ส่งออกน่าจะมีกำไรน้อยลงหรือบางรายอาจจะขาดทุน และไม่สามารถส่งออกสินค้าได้ต่อไป ดังนั้น สิ่งที่แน่ชัด ก็คือ การส่งออกของประเทศน่าจะชะลอตัวลง กำไรของบริษัทส่งออกน่าจะน้อยลง ความมั่งคั่งของผู้ส่งออกน่าจะลดลง ผู้ส่งออกเป็นผู้ที่เสียประโยชน์อย่างชัดเจน
ธุรกิจที่เน้นขายให้กับผู้บริโภคภายในประเทศ บอกไม่ได้ชัดว่าเสียประโยชน์จากนโยบายเพิ่มค่าแรงและเพิ่มรายได้ให้กับ เกษตรกร เพราะถึงแม้ค่าแรง ซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตจะเพิ่มขึ้น หลายๆ ธุรกิจก็สามารถเพิ่มราคาขายสินค้าและบริการได้ นอกจากนั้น การที่ประชาชนมีรายได้มากขึ้นก็ทำให้พวกเขามีการซื้อมากขึ้น รายได้ของธุรกิจก็สูงขึ้น นี่ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ก็ส่งผลให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นซึ่งก็ทำให้ธุรกิจขายสินค้าและมียอดขายสูง ขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อด้วย นอกจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นแล้ว หากว่ารัฐบาลลดอัตราภาษีนิติบุคคลลง ต้นทุนทางด้านภาษีก็ลดลง เมื่อประกอบกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น กำไรของบริษัทก็อาจจะไม่ลดลง หรือบางทีอาจจะดีขึ้นด้วย ดังนั้น สำหรับผู้ที่ขายสินค้าหรือให้บริการภายในประเทศแล้ว พวกเขาอาจจะไม่เสียประโยชน์ หลายบริษัทอาจได้ประโยชน์ด้วยซ้ำ
หากว่าอัตราการเพิ่มของค่าแรงสูงมากพอ ผลกระทบรุนแรงพอ เราก็อาจจะได้เห็นธุรกิจโดยเฉพาะที่เป็นผู้ส่งออกบางรายอยู่ไม่ได้ เพราะสินค้าที่เคยผลิตไม่สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก การส่งออกที่เคยเป็น "เครื่องยนต์หลัก" ในการผลักดันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจะมีบทบาทน้อยลง เราจะไม่ได้เห็นการส่งออกที่โตเอาๆ ต่อเนื่องมาเป็นสิบๆ ปีอีกต่อไป ในอีกด้านหนึ่ง การบริโภคภายในประเทศ เข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ในภาพใหญ่ของประเทศ การกระจายความมั่งคั่งของคนไทย ก็จะดีขึ้นเพราะประชาชนทั่วไปจะมีรายได้มากขึ้น ในขณะที่ผู้ส่งออกและผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยอาจจะมีรายได้น้อยลง ดังนั้น ถ้าเป็นแบบนี้ผมคิดว่านโยบายที่เสนอมาก็ไม่น่ามีปัญหาอะไรมากและน่าจะเป็น ผลดี
ประเด็นปัญหา ก็คือ ถ้าหากการเพิ่มค่าแรงและรายได้ให้กับผู้มีรายได้น้อย สูงเกินกว่าที่ควรจะเป็นมาก เมื่อเทียบกับผลิตภาพในการผลิตและธุรกิจ และแรงงานไม่สามารถปรับตัวได้ ผลที่จะเกิดขึ้นก็อาจจะน่ากลัวและเป็นอันตรายกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ของประเทศในระยะยาว เหตุผล ก็คือ การส่งออกของประเทศก็จะลดลงมาก ธุรกิจก็อาจจะต้องเลิก การจ้างงานอาจจะลดลง คนอาจจะตกงาน รายได้โดยรวมของผู้มีรายได้น้อยก็จะลดลง การบริโภคภายในประเทศก็จะลดลงตาม และดังนั้น แม้แต่ธุรกิจที่เน้นการบริโภคในประเทศเองก็อาจจะมีรายได้น้อยลง การจ้างงานก็อาจจะลดลงไปอีก สุดท้าย การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศก็จะลดลง และเมืองไทยก็อาจจะกลายเป็นประเทศที่ไม่สามารถแข่งขันได้คล้ายๆ กับประเทศอย่างฟิลิปปินส์ที่มีค่าแรงขั้นต่ำอาจจะสูงแต่คนไม่มีงานทำ
ผมคงไม่กล้าเดาว่าประเทศไทยหลังจากมีรัฐบาลใหม่เศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร แต่ในด้านของหุ้นนั้น ในขั้นนี้เพื่อความปลอดภัย ผมคงพยายามที่จะเลือกหุ้นลงทุนที่จะปลอดภัยถ้ามีการดำเนินการตามนโยบายดัง กล่าว และอาจจะพิจารณาหลีกเลี่ยงหุ้นของกิจการที่จะถูกกระทบรุนแรง โดยส่วนตัวแล้วผมก็คิดว่า บริษัทจดทะเบียนในตลาดดูเหมือนว่าจะถูกกระทบน้อยกว่าบริษัทขนาดเล็ก และบริษัทผู้ส่งออกที่ส่วนใหญ่อยู่นอกตลาดหุ้น
บทความนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ 14 มิถุนายน 2554
Tuesday, June 7, 2011
จอห์น โบเกิล
ในปี 1999 นิตยสารฟอร์จูนอันทรงอิทธิพลประกาศชื่อนักลงทุนที่เป็น "ยักษ์ใหญ่แห่งศตวรรษที่ 20" จำนวน 4 คนประกอบด้วย วอร์เรน บัฟเฟตต์ ปีเตอร์ ลินช์ จอร์จ โซรอส และ จอห์น โบเกิล แห่งกองทุน แวนการ์ด เจ้าพ่อกองทุนอิงดัชนีที่มีเม็ดเงินลงทุนมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก มาดูชีวิตและผลงานของเขา
โบเกิล เกิดในปี 1929 ซึ่งเป็นปีที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดในอเมริกาและในโลก นับถึงวันนี้ก็อายุ 82 ปีแล้วแต่เขาก็ยังกระตือรือร้นและเขียนหนังสือการลงทุนออกมาอย่างต่อเนื่อง เขาเป็นนักเรียนที่เรียนเก่ง จบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยพรินซตันและปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย สิ่งที่ทำให้โบเกิลมีชื่อเสียงโด่งดังเคียงข้าง วอร์เรน บัฟเฟตต์ ก็คือ การที่เขาเป็นผู้ก่อตั้งกองทุนรวมอิงดัชนี S&P 500 ในปี 1974 หรือกว่า 30 ปีมาแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นกองทุนอิงดัชนีที่ขายหน่วยลงทุนให้กับประชาชนทั่วไปเป็นกอง แรก โดยที่กองทุนอิงดัชนีนี้ เขาได้รับอิทธิพลจากงานวิจัยของ ยูจีน ฟามา เบอร์ตัน มาลคีล และพอล แซมมวลสัน ปรมาจารย์ทางด้านวิชาการลงทุนที่ค้นพบทฤษฎี "ตลาดหุ้นที่มีประสิทธิภาพ" ที่บอกว่า ราคาหุ้นในตลาดนั้นมีราคาเหมาะสมอยู่แล้ว ไม่มีประโยชน์ที่จะไปเลือกหุ้น ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในการลงทุนก็คือ ซื้อหุ้นทุกตัวที่อยู่ในดัชนีหรืออยู่ในตลาด ไม่ต้องจ้างคนมาเลือกหุ้นลงทุนที่ทำให้สิ้นเปลืองซึ่งทำให้ผลตอบแทนของกอง ทุนลดลง
กองทุนอิงดัชนีของแวนการ์ดนั้น คิดค่าธรรมเนียมในการบริหารกองทุนต่ำมาก ระดับแค่ 0.1 หรือ 0.2 เปอร์เซ็นต์ หรือไม่น่าจะเกิน 0.5% ในขณะที่กองทุนทั่วไปที่มีผู้บริหารเลือกซื้อขายหุ้นนั้นมีต้นทุนสูง มาก โดยเฉลี่ยน่าจะถึง 4-5% ต่อปี ดังนั้น โอกาสที่กองทุนทั่วไปจะทำผลงานได้ดีกว่ากองทุนอิงดัชนีจะน้อยมาก สถิติคร่าวๆ ก็คือ กองทุนอิงดัชนีสามารถเอาชนะกองทุนทั่วไปกว่า 70% ของกองทุน ผลตอบแทนที่ยอดเยี่ยมของกองทุนอิงดัชนีทำให้กองทุนอิงดัชนีได้รับความนิยม สูงมาก กลายเป็น "กระแส" ที่มาแรงและกลายเป็นกองทุนที่คนจำนวนมากเลือกที่จะลงทุน ส่งผลให้ชื่อของ โบเกิล ในฐานะ "ผู้ริเริ่ม" กลายเป็น "ตำนาน" ของนักลงทุนแห่งศตวรรษคนหนึ่ง
โบเกิลเองนั้น ไม่ได้แค่บริหารกองทุนรวมอิงดัชนี เขาให้คำแนะนำและเผยแพร่แนวคิดเกี่ยวกับการลงทุนที่ถูกต้องและเหมาะสมกับนัก ลงทุนทั่วไป ผลงานการเขียนของเขามีหลายเล่ม อิทธิพลต่อนักลงทุนของเขาได้รับการยอมรับอย่างสูง นิตยสารไทม์ในปี 2004 จัดให้เขาเป็น "บุคคลที่มีอิทธิพลต่อประชาชนสูงที่สุด 100 คนของโลก" และต่อไปนี้คือกฎพื้นฐาน 8 ข้อ สำหรับคนที่จะซื้อกองทุนรวมเพื่อการลงทุนของโบเกิล
1.เลือกซื้อกองทุนรวมอิงดัชนีที่มีต้นทุนต่ำ นี่มาจากพื้นฐานที่กล่าวแล้วว่า ผู้จัดการการลงทุนนั้น ไม่สามารถที่จะเลือกหุ้นได้ถูกต้อง ดังนั้น ถ้าต้นทุนต่ำ ผลตอบแทนก็จะสูง
2.พิจารณาอย่างรอบคอบถึงต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากคำแนะนำต่างๆ ข้อนี้ก็คล้ายๆ กับข้อแรก เขาคิดว่าคำแนะนำส่วนใหญ่ไม่มีประโยชน์และไม่คุ้มกับเงินที่เสียไป
3.อย่าให้ค่ากับผลงานในอดีตของกองทุนมากเกินไป เขาเชื่อว่าอดีตไม่ได้บอกว่าอนาคตกองทุนจะบริหารได้ดีเหมือนกับที่ผ่านมา
4.ใช้ผลงานในอดีตที่ผ่านมาเป็นตัวกำหนดว่ากองทุนมีความสม่ำเสมอของผลงานและมีความเสี่ยงขนาดไหน
5.ระวัง "ดารา" นี่ก็คือ ผู้จัดการกองทุนรวมที่ได้รับการจัดอันดับว่าเป็น "ดารา" มีผลงานที่โดดเด่น เพราะดาราเหล่านี้ ในอนาคตก็มักจะ "ตกอับ" ผลงานแย่ลงหลังจากที่เราเข้าไปลงทุนซื้อหน่วยลงทุนของเขา
6.ระวังขนาดของกองทุน เพราะเมื่อกองทุนยังเล็กนั้น หลายกองทุนอาจจะทำผลงานได้อย่างโดดเด่น แต่เมื่อกองทุนใหญ่ขึ้น ผลตอบแทนการลงทุนก็มักจะแย่ลง
7.อย่าลงทุนในหลายๆ กองทุนเกินไป เพราะมันไม่มีประโยชน์ การคิดว่ากองนั้นบริหารได้ดี กองนี้มีนโยบายที่น่าสนใจ และอื่นๆ นั้น ไม่ได้เพิ่มผลตอบแทนให้เรา
8.ซื้อกองทุนเท่าที่เหมาะสมกับตนเองแล้วถือไว้ ไม่ต้องไปซื้อๆ ขายๆ ตามภาวะตลาดหรือเปลี่ยนกองทุนหรือผู้บริหารกองทุนไปๆ มาๆ
การลงทุนซื้อกองทุนรวมนั้น เป็นกลยุทธ์การลงทุนในหุ้นที่เหมาะกับคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีเวลาหรือความสามารถ ในการวิเคราะห์หุ้น ในประเทศไทยเองนั้นดูเหมือนว่าคนที่ลงทุนในกองทุนรวมหุ้นจะมีค่อนข้างน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับในตลาดหุ้นสหรัฐที่นักลงทุนรายย่อยมักจะลงทุนผ่านกองทุน รวมในขณะที่นักลงทุนรายย่อยบ้านเรานั้นชอบลงทุน "เล่นหุ้น" เอง ว่าไปแล้ว กองทุนรวมหุ้นที่มีคนซื้อมากดูเหมือนว่าจะเป็นกองทุน LTF หรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่คนลงทุนเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีเป็น หลัก นอกเหนือไปจากนั้นก็จะเป็นการซื้อกองทุนรวมที่มีผู้บริหารกองทุนเลือกซื้อ หุ้นซึ่งผลงานการลงทุนดูเหมือนว่าจะไม่น่าประทับใจนัก
สำหรับคนที่ลงทุนซื้อกองทุนรวม กองทุนที่อิงดัชนีดูเหมือนว่าจะไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควร เหตุผลเป็นอย่างไรผมก็ไม่ทราบ อาจจะเป็นเพราะไม่มีคนเชียร์หรือชี้ให้เห็นถึงผลงานและข้อดีของกองทุนอิง ดัชนีอย่าง จอห์น โบเกิล ก็ได้ และถ้าเป็นสาเหตุนี้ ผมเองก็ขอแนะนำไว้ ณ ที่นี้เลยว่า การลงทุนในกองทุนหุ้นที่อิงดัชนีคือการลงทุนในกองทุนรวมที่ดีที่สุด และนี่ไม่ใช่ผมคนเดียวที่เห็นอย่างนั้น วอร์เรน บัฟเฟตต์ เองแนะนำว่า สำหรับนักลงทุนรายย่อยโดยทั่วไป กลยุทธ์การลงทุนที่ดีที่สุดก็คือ การลงทุนในกองทุนรวมหุ้นที่อิงดัชนีที่มีต้นทุนการดำเนินงานที่ต่ำที่สุด
บทความนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ 31 พฤษภาคม 2554
โบเกิล เกิดในปี 1929 ซึ่งเป็นปีที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดในอเมริกาและในโลก นับถึงวันนี้ก็อายุ 82 ปีแล้วแต่เขาก็ยังกระตือรือร้นและเขียนหนังสือการลงทุนออกมาอย่างต่อเนื่อง เขาเป็นนักเรียนที่เรียนเก่ง จบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยพรินซตันและปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย สิ่งที่ทำให้โบเกิลมีชื่อเสียงโด่งดังเคียงข้าง วอร์เรน บัฟเฟตต์ ก็คือ การที่เขาเป็นผู้ก่อตั้งกองทุนรวมอิงดัชนี S&P 500 ในปี 1974 หรือกว่า 30 ปีมาแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นกองทุนอิงดัชนีที่ขายหน่วยลงทุนให้กับประชาชนทั่วไปเป็นกอง แรก โดยที่กองทุนอิงดัชนีนี้ เขาได้รับอิทธิพลจากงานวิจัยของ ยูจีน ฟามา เบอร์ตัน มาลคีล และพอล แซมมวลสัน ปรมาจารย์ทางด้านวิชาการลงทุนที่ค้นพบทฤษฎี "ตลาดหุ้นที่มีประสิทธิภาพ" ที่บอกว่า ราคาหุ้นในตลาดนั้นมีราคาเหมาะสมอยู่แล้ว ไม่มีประโยชน์ที่จะไปเลือกหุ้น ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในการลงทุนก็คือ ซื้อหุ้นทุกตัวที่อยู่ในดัชนีหรืออยู่ในตลาด ไม่ต้องจ้างคนมาเลือกหุ้นลงทุนที่ทำให้สิ้นเปลืองซึ่งทำให้ผลตอบแทนของกอง ทุนลดลง
กองทุนอิงดัชนีของแวนการ์ดนั้น คิดค่าธรรมเนียมในการบริหารกองทุนต่ำมาก ระดับแค่ 0.1 หรือ 0.2 เปอร์เซ็นต์ หรือไม่น่าจะเกิน 0.5% ในขณะที่กองทุนทั่วไปที่มีผู้บริหารเลือกซื้อขายหุ้นนั้นมีต้นทุนสูง มาก โดยเฉลี่ยน่าจะถึง 4-5% ต่อปี ดังนั้น โอกาสที่กองทุนทั่วไปจะทำผลงานได้ดีกว่ากองทุนอิงดัชนีจะน้อยมาก สถิติคร่าวๆ ก็คือ กองทุนอิงดัชนีสามารถเอาชนะกองทุนทั่วไปกว่า 70% ของกองทุน ผลตอบแทนที่ยอดเยี่ยมของกองทุนอิงดัชนีทำให้กองทุนอิงดัชนีได้รับความนิยม สูงมาก กลายเป็น "กระแส" ที่มาแรงและกลายเป็นกองทุนที่คนจำนวนมากเลือกที่จะลงทุน ส่งผลให้ชื่อของ โบเกิล ในฐานะ "ผู้ริเริ่ม" กลายเป็น "ตำนาน" ของนักลงทุนแห่งศตวรรษคนหนึ่ง
โบเกิลเองนั้น ไม่ได้แค่บริหารกองทุนรวมอิงดัชนี เขาให้คำแนะนำและเผยแพร่แนวคิดเกี่ยวกับการลงทุนที่ถูกต้องและเหมาะสมกับนัก ลงทุนทั่วไป ผลงานการเขียนของเขามีหลายเล่ม อิทธิพลต่อนักลงทุนของเขาได้รับการยอมรับอย่างสูง นิตยสารไทม์ในปี 2004 จัดให้เขาเป็น "บุคคลที่มีอิทธิพลต่อประชาชนสูงที่สุด 100 คนของโลก" และต่อไปนี้คือกฎพื้นฐาน 8 ข้อ สำหรับคนที่จะซื้อกองทุนรวมเพื่อการลงทุนของโบเกิล
1.เลือกซื้อกองทุนรวมอิงดัชนีที่มีต้นทุนต่ำ นี่มาจากพื้นฐานที่กล่าวแล้วว่า ผู้จัดการการลงทุนนั้น ไม่สามารถที่จะเลือกหุ้นได้ถูกต้อง ดังนั้น ถ้าต้นทุนต่ำ ผลตอบแทนก็จะสูง
2.พิจารณาอย่างรอบคอบถึงต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากคำแนะนำต่างๆ ข้อนี้ก็คล้ายๆ กับข้อแรก เขาคิดว่าคำแนะนำส่วนใหญ่ไม่มีประโยชน์และไม่คุ้มกับเงินที่เสียไป
3.อย่าให้ค่ากับผลงานในอดีตของกองทุนมากเกินไป เขาเชื่อว่าอดีตไม่ได้บอกว่าอนาคตกองทุนจะบริหารได้ดีเหมือนกับที่ผ่านมา
4.ใช้ผลงานในอดีตที่ผ่านมาเป็นตัวกำหนดว่ากองทุนมีความสม่ำเสมอของผลงานและมีความเสี่ยงขนาดไหน
5.ระวัง "ดารา" นี่ก็คือ ผู้จัดการกองทุนรวมที่ได้รับการจัดอันดับว่าเป็น "ดารา" มีผลงานที่โดดเด่น เพราะดาราเหล่านี้ ในอนาคตก็มักจะ "ตกอับ" ผลงานแย่ลงหลังจากที่เราเข้าไปลงทุนซื้อหน่วยลงทุนของเขา
6.ระวังขนาดของกองทุน เพราะเมื่อกองทุนยังเล็กนั้น หลายกองทุนอาจจะทำผลงานได้อย่างโดดเด่น แต่เมื่อกองทุนใหญ่ขึ้น ผลตอบแทนการลงทุนก็มักจะแย่ลง
7.อย่าลงทุนในหลายๆ กองทุนเกินไป เพราะมันไม่มีประโยชน์ การคิดว่ากองนั้นบริหารได้ดี กองนี้มีนโยบายที่น่าสนใจ และอื่นๆ นั้น ไม่ได้เพิ่มผลตอบแทนให้เรา
8.ซื้อกองทุนเท่าที่เหมาะสมกับตนเองแล้วถือไว้ ไม่ต้องไปซื้อๆ ขายๆ ตามภาวะตลาดหรือเปลี่ยนกองทุนหรือผู้บริหารกองทุนไปๆ มาๆ
การลงทุนซื้อกองทุนรวมนั้น เป็นกลยุทธ์การลงทุนในหุ้นที่เหมาะกับคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีเวลาหรือความสามารถ ในการวิเคราะห์หุ้น ในประเทศไทยเองนั้นดูเหมือนว่าคนที่ลงทุนในกองทุนรวมหุ้นจะมีค่อนข้างน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับในตลาดหุ้นสหรัฐที่นักลงทุนรายย่อยมักจะลงทุนผ่านกองทุน รวมในขณะที่นักลงทุนรายย่อยบ้านเรานั้นชอบลงทุน "เล่นหุ้น" เอง ว่าไปแล้ว กองทุนรวมหุ้นที่มีคนซื้อมากดูเหมือนว่าจะเป็นกองทุน LTF หรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่คนลงทุนเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีเป็น หลัก นอกเหนือไปจากนั้นก็จะเป็นการซื้อกองทุนรวมที่มีผู้บริหารกองทุนเลือกซื้อ หุ้นซึ่งผลงานการลงทุนดูเหมือนว่าจะไม่น่าประทับใจนัก
สำหรับคนที่ลงทุนซื้อกองทุนรวม กองทุนที่อิงดัชนีดูเหมือนว่าจะไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควร เหตุผลเป็นอย่างไรผมก็ไม่ทราบ อาจจะเป็นเพราะไม่มีคนเชียร์หรือชี้ให้เห็นถึงผลงานและข้อดีของกองทุนอิง ดัชนีอย่าง จอห์น โบเกิล ก็ได้ และถ้าเป็นสาเหตุนี้ ผมเองก็ขอแนะนำไว้ ณ ที่นี้เลยว่า การลงทุนในกองทุนหุ้นที่อิงดัชนีคือการลงทุนในกองทุนรวมที่ดีที่สุด และนี่ไม่ใช่ผมคนเดียวที่เห็นอย่างนั้น วอร์เรน บัฟเฟตต์ เองแนะนำว่า สำหรับนักลงทุนรายย่อยโดยทั่วไป กลยุทธ์การลงทุนที่ดีที่สุดก็คือ การลงทุนในกองทุนรวมหุ้นที่อิงดัชนีที่มีต้นทุนการดำเนินงานที่ต่ำที่สุด
บทความนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ 31 พฤษภาคม 2554
Subscribe to:
Posts (Atom)