หุ้นกลุ่มหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์ ที่แทบไม่เคยสร้างความผิดหวังให้แก่นักลงทุนระยะยาวเลยในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ก็คือ หุ้นค้าปลีกสมัยใหม่ ที่เรียกว่า Modern Trade เพราะหุ้นในกลุ่มนี้ แทบทุกตัวให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจทั้งในด้านของเงินปันผล และราคาหุ้นที่ปรับตัวขึ้นเรื่อยๆ ต่อเนื่องมาตลอด ที่สำคัญ แม้ในยามที่ตลาดหุ้นเกิดวิกฤติ หุ้นส่วนใหญ่มีราคาตกลงมาก หุ้นกลุ่มค้าปลีกก็ไม่ได้ตกลงมากนัก และเมื่อภาวะวิกฤติผ่านไป ราคาก็กลับมาที่เดิมและปรับตัวสูงขึ้นไปอีก
ถ้าจะพูดไป หุ้นค้าปลีกช่วงเร็วๆ นี้ เป็นทั้งหุ้น Defensive หรือหุ้นที่ทนทานต่อภาวะเศรษฐกิจที่เลวร้าย และเป็นหุ้น Growth หรือหุ้นที่เติบโต อยู่ในตัวเดียวกัน หุ้นหลายตัวในกลุ่ม ก็ให้ปันผลสูงและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็น Dividend Stock หรือ "หุ้นปันผล" ที่จ่ายปันผลงดงามทุกไตรมาส และนี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้หุ้นกลุ่ม Modern Trade ส่วนใหญ่มีราคาสูงเมื่อเทียบกับกำไรของบริษัท หรือมี PE สูงมากโดยเฉพาะในช่วงหลังๆ
ก่อนที่ผมจะพูดว่า ทำไมหุ้นค้าปลีกสมัยใหม่จึงได้ราคาที่สูงกว่าหุ้นในกลุ่มอื่นๆ ผมอยากจะทำความเข้าใจก่อนว่า หุ้นที่อยู่ในข่าย Modern Trade คือ หุ้นกลุ่มไหน เพราะหลายคนอาจบอกว่า นี่คือ หุ้นกลุ่มพาณิชย์ แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เสียทีเดียว เพราะหุ้นค้าปลีกสมัยใหม่ในนิยามของผม ต้องเป็นหุ้นของบริษัทที่ขายสินค้าอุปโภคบริโภคแก่ประชาชนทั่วไปทั้งประเทศ การขายจะขายผ่านเครือข่ายร้านสาขาที่มีอยู่ทั่วประเทศ ราคาสินค้าที่ขายมักเท่ากัน ไม่ว่าจะขายในร้านหรู ในกรุงเทพฯ หรือร้านค้าต่างจังหวัด ตัวสินค้าก็มีความหลากหลายและใกล้เคียงกันในแต่ละสาขา ระบบการทำงานของสาขาทั้งหมดจะต่อถึงกันผ่านสำนักงานใหญ่ ข้อมูลการขายสินค้า จะเป็นระบบรวมศูนย์ ที่ทำให้การบริหารงานขาย มักเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเทียบกับร้านค้าแบบ "ดั้งเดิม" ที่มักจะมีร้านเพียงร้านเดียว หรือมีสาขาน้อยมาก
หุ้นค้าปลีกสมัยใหม่ส่วนใหญ่อยู่ในหุ้นกลุ่มพาณิชย์ เริ่มตั้งแต่ หุ้น BIGC ซึ่งขายสินค้าอุปโภคบริโภคในราคาถูกที่เรียกว่า Discount Store แบบที่เป็นร้านค้าขนาดใหญ่ ขายสินค้าที่ต้องกินต้องใช้ประจำวัน และสินค้าราคาถูกอื่นๆ หุ้นCPALL เจ้าของร้านสะดวกซื้อ 7-11 ที่ขายสินค้าปริมาณเล็กๆ น้อยๆ เน้นความสะดวกเพราะอยู่ใกล้ชุมชน หุ้น HMPRO ซึ่งขายสินค้าปรับปรุงและตกแต่งบ้าน หุ้น GLOBAL ซึ่งขายวัสดุก่อสร้าง หุ้น IT ซึ่งขายสินค้าคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ไฮเทค หุ้น MAKRO ขายสินค้าให้กับร้านค้าโชห่วยและกิจการอื่นๆ เช่น ร้านอาหาร หรือโรงแรม หุ้น ROBINS ทำห้างสรรพสินค้าโรบินสัน นอกจากนี้ ยังมีหุ้นที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มพาณิชย์ เช่น หุ้น SE-ED ซึ่งเป็นร้านขายหนังสือ หุ้น JMART ขายโทรศัพท์มือถือ และยังมีหุ้นที่อาจจะเรียกว่าเป็น Modern Trade ได้เหมือนกันแต่ขายเฉพาะสินค้าจากโรงงาน หรือบริษัทของตนเองเป็นหลัก อย่างหุ้น DCC ซึ่งขายกระเบื้องก่อสร้าง หุ้น JUBILY ขายเครื่องประดับเพชร และหุ้น BGT ซึ่งขายเสื้อผ้า เป็นต้น
จุดเด่นของกิจการค้าปลีกสมัยใหม่นั้น มีหลายประการ เริ่มตั้งแต่ ข้อแรก คือ มักเป็นกิจการที่มีความสม่ำเสมอของผลการดำเนินงานทั้งยอดขายและกำไร เหตุผล ก็คือ บริษัทมีการขายสินค้าให้กับคนจำนวนมาก มักจะเป็นแสนหรือล้านๆ รายการเปลี่ยนแปลงของยอดขายในแต่ละปีจะไม่มาก สินค้าที่ขายก็มักจะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของคน ซึ่งมักจะไม่เปลี่ยนแปลงในระยะเวลาอันสั้น บริษัทสามารถกำหนดราคาขายให้อิงกับต้นทุนของบริษัทได้ทันที เพราะเป็นกิจการที่ซื้อมา-ขายไป ทำให้กำไรของบริษัทผันแปรไปตามยอดขายเสมอ
ข้อสอง กิจการ Modern Trade มักมีความเสี่ยงในการล้มละลายต่ำเนื่องจากบริษัทขายสินค้าเป็นเงินสด แต่จ่ายค่าสินค้าเป็นเงินเชื่อหลายเดือน ทำให้บริษัทมีเงินสดมากในขณะที่มักจะมีหนี้เงินกู้น้อย หลายบริษัทไม่มีหนี้เงินกู้จากธนาคารเลยและทำให้บริษัทสามารถจ่ายปันผลให้ แก่ผู้ถือหุ้นได้สูงเมื่อเทียบกับกำไรที่ทำได้ บางบริษัทจ่ายถึง 100% และจ่ายทุกไตรมาส
ข้อสาม กิจการ Modern Trade ในตลาดหลักทรัพย์มักจะเป็นผู้นำในกลุ่มสินค้าที่ตนเองขาย เป็นกิจการที่มีขนาดใหญ่ บริษัทจึงมีความได้เปรียบคู่แข่งโดยเฉพาะ เมื่อเทียบกับร้านค้าแบบดั้งเดิม บริษัทจึงมักได้ส่วนแบ่งทางการตลาดของสินค้ามากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้บริษัทสามารถจะเติบโตไปได้เรื่อยๆ อย่างยาวนานทั้งๆ ที่ตัวอุตสาหกรรมโดยรวมอาจไม่ได้เติบโตมากนัก การเติบโตของกิจการค้าปลีกสมัยใหม่ นอกจากจะเติบโตจากร้านสาขาเดิมแล้ว ยังมักเติบโตจากการเปิดสาขาใหม่ด้วย หุ้นในกลุ่มนี้หลายๆ ตัวจึงเป็นหุ้น ที่ "เติบโต" ระยะยาว แม้อัตราการเติบโตของบางบริษัทอาจจะไม่สูงนัก
หุ้นค้าปลีก มีผลงานที่ดีและให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างดีมาตลอด แต่ในช่วงเร็วๆ นี้ดูเหมือนว่า จะได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นไปอีกหลังจากที่ไทยผ่านการเลือกตั้ง และกำลังมีรัฐบาลที่มีนโยบายในการเพิ่มรายได้ให้กับคนมีรายได้ต่ำ โดยการเพิ่มเงินเดือน และการ "ประกัน" ราคาสินค้าการเกษตรในระดับที่สูง ผลจากนโยบายนี้จะทำให้การบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้นพร้อมๆ กับอัตราเงินเฟ้อที่จะเร่งตัวขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อยอดขายของกลุ่มค้าปลีกสมัยใหม่ให้เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ
การลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% ในเวลาเดียวกัน จะช่วยลดต้นทุนของบริษัทลง จริงอยู่ที่ต้นทุนค่าแรงของบริษัทอาจจะเพิ่มขึ้น แต่บริษัทน่าจะส่งผ่านต้นทุนนี้ให้กับผู้ซื้อสินค้าได้ เพราะทุกบริษัทต้องจ่ายค่าแรงที่เพิ่มขึ้นด้วยกันทั้งสิ้น หากเป็นไปตามภาพดังกล่าวนี้ กิจการค้าปลีกสมัยใหม่ส่วนใหญ่ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ น่าจะมีผลประกอบการที่ดีขึ้น และนี่น่าจะเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ราคาหุ้นในกลุ่มนี้ปรับตัวขึ้นในช่วงนี้
ประเด็นที่ต้องคำนึงสำหรับหุ้นในกลุ่มค้าปลีกสมัยใหม่ ไม่ใช่เรื่องของผลประกอบการ หรือความเข้มแข็งของตัวธุรกิจ แต่น่าจะอยู่ที่ราคาหุ้น ที่มีการปรับตัวขึ้นมามาก และทำให้หุ้นกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีราคาที่ "ไม่ถูก" แล้ว ว่าที่จริง ถ้ามองจากค่า PE และค่า PB ผมคิดว่าน่าจะเป็นหุ้นกลุ่มที่ "แพงที่สุด" ในตลาดหลักทรัพย์ อาจจะพูดได้เหมือนกันว่ามันเป็นหุ้นกลุ่มที่ "ดีที่สุด" ในตลาดหลักทรัพย์ได้เช่นกัน การลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ช่วงเวลานี้ จึงจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
ในความคิดของผม หุ้นกลุ่มค้าปลีกสมัยใหม่ ถ้าจะลงทุนก็คงไม่ใช่แนวทางแบบ เบน เกรแฮม ที่เน้นหาหุ้นถูกเป็นหลัก แต่อาจจะเป็นแนวทางแบบ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ที่เน้นลงทุนหุ้นแบบ "ซูเปอร์สต็อก" คือ ลงทุนในหุ้นที่ดีสุดยอด ในราคาที่ยุติธรรม ว่าที่จริง บัฟเฟตต์ก็ซื้อหุ้นวอลมาร์ท ซึ่งเป็นร้านค้าปลีกสมัยใหม่ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อไม่นานมานี้ ในราคาที่ไม่ถูกเลย
บทความนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ 19 กรกฎาคม 2554
Wednesday, July 20, 2011
เส้นทางเศรษฐีหุ้นหนุ่ม
ปรากฏการณ์ที่น่า สนใจมากอย่างหนึ่งในแวดวงของนักลงทุน ที่ผมเห็นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ก็คือ มีคนหนุ่ม (ที่เป็นสาวมีน้อยมาก) จำนวนไม่น้อย เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น ตั้งแต่หรือก่อนที่จะเรียนจบมหาวิทยาลัย คนหนุ่มเหล่านี้ บางคนแทบจะไม่เคยทำงานเป็นพนักงานของหน่วยงานใด บางคนอาจจะทำงานกับธุรกิจ "ที่บ้าน" ที่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก หลายคนก็ "ทำงานไปอย่างนั้นเอง" แต่ชีวิตจิตใจอาจจะอยู่กับการลงทุนในตลาดหุ้น
แต่สิ่งที่ผมคิดว่าน่าทึ่ง ก็คือ คนหนุ่มบางคน หลังจากที่ผ่านการลงทุนมาไม่กี่ปี ด้วยเงินที่น้อยมาก บัดนี้พวกเขาได้กลายเป็น "เศรษฐี" มีเงินหลายสิบล้าน หรือบางคนเป็นร้อยล้านบาทตั้งแต่อายุยังไม่ครบ 30 ปี ผมพยายามวิเคราะห์หาว่า พวกเขาทำอย่างไรจึงสร้างตนเองให้ร่ำรวยได้เร็วขนาดนั้น และต่อไปนี้คือเส้นทางของพวกเขา ที่ผมจินตนาการขึ้น โดยอิงจากการที่ผมได้สัมผัสกับพวกเขาหลายๆ คน นำมาร้อยเรียงเป็นนิยาย "ร่วมสมัย"
คุณไว (มาจากภาษาอังกฤษว่า VI) เริ่มต้นด้วยเงินเพียง 250,000 บาท ด้วยความทุ่มเทเขาศึกษาการลงทุนอย่างหนัก ทั้งการลงทุนแบบพื้นฐาน และความคิดแบบนักเทคนิค เขาเข้าร่วมอบรมและสัมมนาจำนวนมาก เขาได้รู้จักนักลงทุนร่วมอุดมการณ์ทั้งผ่านเว็บไซต์การลงทุน และการเข้าร่วมในกิจกรรมการลงทุนต่างๆ เช่น ในงานแนะนำหรือเยี่ยมชมบริษัทจดทะเบียน เขาเริ่มเห็นว่า มีบริษัทที่มี "คุณภาพดี" จำนวนไม่น้อยที่อยู่ๆ ก็มีราคาและปริมาณการซื้อขายหุ้นเพิ่มขึ้นมาก หลายตัวมีราคาขึ้นไปหลายเท่าตัวในเวลาอันสั้นเพียงไม่กี่เดือน เขาเริ่ม "จับได้" ว่า หุ้นเหล่านี้มักมีคุณสมบัติและ "พฤติกรรม" อย่างไร และเมื่อเขาเห็น เขาก็ทุ่มเงินทั้งหมดซื้อหุ้นตัวนั้นพร้อมๆ กับการใช้ มาร์จิน หรือกู้เงินจากโบรกเกอร์อีกเท่าตัวมาซื้อหุ้น ครั้งแรกด้วยเม็ดเงิน 500,000 บาท
หุ้นที่ซื้อมีราคาเพิ่มขึ้นตามคาดจาก 500,000 บาท เป็น 750,000 บาทในเวลาเดือนเดียว เขาสั่งซื้อหุ้นเพิ่มขึ้นตามกำไรที่ได้ด้วยเงินมาร์จินที่เพิ่มขึ้น ราคาหุ้นยังเพิ่มขึ้นอีกและเขาสั่งซื้อหุ้นเพิ่มอีกตามวงเงินมาร์จินที่ เพิ่มขึ้นอีก ในบางช่วงเมื่อหุ้นขึ้นไปแรง เขาก็ขายไปบ้างและก็กลับไปซื้อใหม่เมื่อหุ้นปรับตัวลง พอผ่านไป 3 เดือน เมื่อหุ้น เริ่ม "นิ่ง" นั่นคือ การวิ่งขึ้นลงของราคาและหรือปริมาณการซื้อขายเริ่มลดน้อยลง เขาก็ขายหุ้นทิ้งทั้งหมด เม็ดเงินที่เหลือของเขา คือ 1 ล้านบาท เขาทำกำไร 300% หรือ 3 เท่าภายในเวลา 3 เดือน
หลังจากนั้น เขาสังเกตเห็นหุ้นตัวใหม่ที่มีคุณสมบัติและพฤติกรรมคล้ายๆ กับหุ้นตัวเดิม ซึ่งเขาได้รับรู้ผ่าน "เครือข่าย" และเช่นเดิม เขาทุ่มเงิน 1 ล้านบาทที่มีอยู่พร้อมๆ กับการใช้มาร์จินเต็มอัตราอีก 1 ล้านบาทเข้าซื้อหุ้นตัวใหม่ และก็เช่นเคย หุ้นวิ่งตามคาด แต่เขาใช้เวลายาวกว่าหุ้นตัวเดิมในการทำเงินจาก 2 ล้านบาทเป็น 3 ล้านบาท หลังจากหักเงินกู้มาร์จิน เขาเหลือเงิน 2 ล้านบาท เมื่อลงทุนมาครบปีแรก เงิน 250,000 บาท กลายเป็นเงิน 2 ล้านบาท หลังจากลงทุนเพียง 1 ปี ผลตอบแทน คือ 700% ในหนึ่งปี เงินโตขึ้นมาเป็น 8 เท่า เขาเห็นแล้วว่านี่คือ "มหัศจรรย์" ของการลงทุน ในแบบ "ของเขา"
เงิน 2 ล้านบาทของเขายังคงถูกใช้ในการลงทุนตาม "สูตรเดิม" แต่ปรับเปลี่ยนบ้าง เขาเริ่มมีหุ้นเล่น 2-3 ตัวในเวลาเดียวกัน การใช้เงินมาร์จินก็ปรับลดลง จากเดิม 100% ก็อาจจะเปลี่ยนไปเป็น 80% เหตุผลก็เป็นเพราะเขาไม่เจอหุ้นตัวที่ "ใช่" อย่างปีก่อน เขาเริ่มกลัวบ้างว่า การเล่นหุ้นตัวเดียวและใช้มาร์จินเต็มที่นั้นอันตราย เขาอาจจะพลาดได้ ว่าที่จริง เขาก็เคยพลาดจากหุ้นบางตัวแต่โชคดีที่เขา "ออก" ได้ทัน ปีที่สองนี้ พอร์ตของเขาเพิ่มขึ้นเป็น 4 ล้านบาท ผลตอบแทน 100% แต่เขา รู้สึก "ผิดหวัง" เพราะเมื่อเทียบกับผลตอบแทนของปีก่อนแล้ว น้อยลงมาก นั่นก็คือ ผลตอบแทนของเขาแพ้เพื่อนในกลุ่มอย่าง "ยับเยิน"
ปีที่สามของเขาผ่านไปอย่าง "ยากลำบาก" เพราะเกิด "ภาวะวิกฤติ" ผลตอบแทนติดลบถึง 25% เงินในพอร์ตเหลือ 3 ล้านบาท สูตรที่เคยใช้การได้ดีกลับกลายเป็นตรงกันข้าม หุ้นที่เขาเข้าลงทุนมีราคาลดลงมาก โชคยังดีที่เขาไม่ถูก "บังคับขาย" เพื่อรักษาอัตรามาร์จินไว้ พอขึ้นปีที่สี่ ทุกอย่างกลับมาสดใสดังเดิม เขามีความรู้และประสบการณ์เพิ่มขึ้นมาก บางครั้งเขาไม่ใช่แค่เป็น "ผู้ตาม" แต่เขาเป็น "ผู้นำ" ในการค้นหาหุ้นที่จะลงทุนและ "ผลักดัน" ราคาหุ้นให้ขึ้นไปด้วย สิ้นปีที่สี่ พอร์ตของเขาผ่านหลัก 10 ล้านไปได้เหมือน "ฝัน" เขาเริ่มได้รับการยอมรับว่าเป็น คนที่มีความสามารถสูงแม้อายุยังน้อย
ปีที่ห้าของคุณไว เขาเริ่มมีหุ้นหลายตัวมากขึ้น การใช้มาร์จินลดลง เฉลี่ยแล้วเขาใช้เพียง 50% เขาเริ่มเห็นว่าการรักษาเงินต้นไว้ เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้การทำเงินมากๆ แต่มีความเสี่ยงสูง ด้วยภาวะตลาดหุ้นที่ยังสดใสและ "สูตร" การลงทุนของเขายังทำงานได้ดี ในช่วงหลังๆ นี้ สื่อสมัยใหม่ช่วยให้มีการเผยแพร่สูตรสำเร็จ ในการลงทุนรวมถึงตัวหุ้นที่น่าสนใจได้มากและเร็วขึ้น ทำให้พอร์ตลงทุนของเขาโตขึ้นอีก 100% เขามีเงิน 20 ล้าน และถือว่าเป็นเศรษฐีน้อยๆ คนหนึ่ง พ่อแม่เขาภาคภูมิใจมากที่ลูกหาเงินได้มาก และกลายเป็น "เศรษฐี" คนแรกของ "เครือญาติ" เพื่อนฝูงและคนรู้จักยอมรับในฝีมือของเขา บางคนถือว่าเขาเป็น "กูรู" คนหนึ่งของวงการหุ้น
ปีที่หกเริ่มต้นด้วยตลาดหุ้นที่ไม่สดใสนัก พอร์ตของคุณไวไม่ใคร่จะไปไหน ขณะนี้ เขาเริ่มรู้สึกว่าหุ้นมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เหนือสิ่งอื่นใด เงิน 20 ล้านของเขา หมายถึง ชีวิตที่ดีๆ ที่เขาต้องรักษาไว้โดยให้มีความเสี่ยงน้อยลง แน่นอน เขาอยากได้ผลตอบแทนมาก แต่ถ้ามันเป็นเรื่องเสี่ยงเกินไป เขาไม่อยากรับ มาร์จินที่เขาเคยใช้เต็ม ขณะนี้ลดลงมาก บางช่วงเขาไม่ได้ใช้เลย หุ้นที่เคยมีอยู่เพียง 2-3 ตัวก็กลายเป็น 7-8 ตัว เขายังใช้สูตรเดิมในการลงทุน แต่ผลกำไรที่ได้จากหุ้นแต่ละตัว เมื่อคิดเทียบกับพอร์ต 20 ล้านแล้วไม่มากนัก ซึ่งหุ้น 7-8 ตัวนั้น โอกาสที่เขาจะได้กำไรโดดเด่นทุกตัวดูเหมือนจะยาก จบปีที่หก ผลตอบแทนของเขาลดลงเหลือ 20% เมื่อเทียบกับอดีตแล้วลดลงมาก แต่เป็นผลตอบแทนที่ดีเมื่อเทียบกับตลาดหลักทรัพย์ที่หุ้นแทบไม่ให้ผลตอบแทน เลย
ปลายปีที่หก คุณไวแต่งงานกับสาวสวยที่มีดีกรีเป็นแพทย์ ไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับเขา เพราะเพื่อนๆ นักลงทุนของเขาที่ "ลงทุนเป็นอาชีพ" และไม่ได้ทำงานในบริษัทใหญ่ๆ ที่ "มีหน้ามีตา" หลายคน ต่างแต่งงานหรือมีแฟนเป็นผู้หญิงที่ผู้ชายต่างหมายปอง บางทีการเป็น "เศรษฐี" ตั้งแต่อายุน้อย อาจจะลบล้างค่านิยมเก่าๆ ว่า คุณต้องมีงานการเป็นหลักเป็นฐานที่แน่นอนได้
ความสำเร็จในแบบของคุณไว ผมคิดว่าไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายถ้ามองไปในอนาคต บางที คุณไวอาจจะโชคดีที่เริ่มต้นช่วง "โอกาสทอง" ที่หุ้นบางประเภท ปรับตัวขึ้นมาก คนรุ่นใหม่อาจไม่ได้เจอแบบนั้น การใช้มาร์จินและลงทุนในหุ้นน้อยตัวเกินไป เป็นความเสี่ยงที่สูงเกินไป และอาจทำให้เรา "ติด" จนในที่สุดวันหนึ่งเราอาจจะพลาดอย่างร้ายแรงจนทำให้เกิดหายนะได้ ผมคิดว่า การลงทุนโดยยึดหลักการที่เหมาะสม น่าจะเป็นทางเดินที่ดีกว่าสำหรับคนส่วนใหญ่ที่ไม่ได้มีความสามารถพิเศษในการลงทุน
บทความนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ 12 กรกฎาคม 2554
แต่สิ่งที่ผมคิดว่าน่าทึ่ง ก็คือ คนหนุ่มบางคน หลังจากที่ผ่านการลงทุนมาไม่กี่ปี ด้วยเงินที่น้อยมาก บัดนี้พวกเขาได้กลายเป็น "เศรษฐี" มีเงินหลายสิบล้าน หรือบางคนเป็นร้อยล้านบาทตั้งแต่อายุยังไม่ครบ 30 ปี ผมพยายามวิเคราะห์หาว่า พวกเขาทำอย่างไรจึงสร้างตนเองให้ร่ำรวยได้เร็วขนาดนั้น และต่อไปนี้คือเส้นทางของพวกเขา ที่ผมจินตนาการขึ้น โดยอิงจากการที่ผมได้สัมผัสกับพวกเขาหลายๆ คน นำมาร้อยเรียงเป็นนิยาย "ร่วมสมัย"
คุณไว (มาจากภาษาอังกฤษว่า VI) เริ่มต้นด้วยเงินเพียง 250,000 บาท ด้วยความทุ่มเทเขาศึกษาการลงทุนอย่างหนัก ทั้งการลงทุนแบบพื้นฐาน และความคิดแบบนักเทคนิค เขาเข้าร่วมอบรมและสัมมนาจำนวนมาก เขาได้รู้จักนักลงทุนร่วมอุดมการณ์ทั้งผ่านเว็บไซต์การลงทุน และการเข้าร่วมในกิจกรรมการลงทุนต่างๆ เช่น ในงานแนะนำหรือเยี่ยมชมบริษัทจดทะเบียน เขาเริ่มเห็นว่า มีบริษัทที่มี "คุณภาพดี" จำนวนไม่น้อยที่อยู่ๆ ก็มีราคาและปริมาณการซื้อขายหุ้นเพิ่มขึ้นมาก หลายตัวมีราคาขึ้นไปหลายเท่าตัวในเวลาอันสั้นเพียงไม่กี่เดือน เขาเริ่ม "จับได้" ว่า หุ้นเหล่านี้มักมีคุณสมบัติและ "พฤติกรรม" อย่างไร และเมื่อเขาเห็น เขาก็ทุ่มเงินทั้งหมดซื้อหุ้นตัวนั้นพร้อมๆ กับการใช้ มาร์จิน หรือกู้เงินจากโบรกเกอร์อีกเท่าตัวมาซื้อหุ้น ครั้งแรกด้วยเม็ดเงิน 500,000 บาท
หุ้นที่ซื้อมีราคาเพิ่มขึ้นตามคาดจาก 500,000 บาท เป็น 750,000 บาทในเวลาเดือนเดียว เขาสั่งซื้อหุ้นเพิ่มขึ้นตามกำไรที่ได้ด้วยเงินมาร์จินที่เพิ่มขึ้น ราคาหุ้นยังเพิ่มขึ้นอีกและเขาสั่งซื้อหุ้นเพิ่มอีกตามวงเงินมาร์จินที่ เพิ่มขึ้นอีก ในบางช่วงเมื่อหุ้นขึ้นไปแรง เขาก็ขายไปบ้างและก็กลับไปซื้อใหม่เมื่อหุ้นปรับตัวลง พอผ่านไป 3 เดือน เมื่อหุ้น เริ่ม "นิ่ง" นั่นคือ การวิ่งขึ้นลงของราคาและหรือปริมาณการซื้อขายเริ่มลดน้อยลง เขาก็ขายหุ้นทิ้งทั้งหมด เม็ดเงินที่เหลือของเขา คือ 1 ล้านบาท เขาทำกำไร 300% หรือ 3 เท่าภายในเวลา 3 เดือน
หลังจากนั้น เขาสังเกตเห็นหุ้นตัวใหม่ที่มีคุณสมบัติและพฤติกรรมคล้ายๆ กับหุ้นตัวเดิม ซึ่งเขาได้รับรู้ผ่าน "เครือข่าย" และเช่นเดิม เขาทุ่มเงิน 1 ล้านบาทที่มีอยู่พร้อมๆ กับการใช้มาร์จินเต็มอัตราอีก 1 ล้านบาทเข้าซื้อหุ้นตัวใหม่ และก็เช่นเคย หุ้นวิ่งตามคาด แต่เขาใช้เวลายาวกว่าหุ้นตัวเดิมในการทำเงินจาก 2 ล้านบาทเป็น 3 ล้านบาท หลังจากหักเงินกู้มาร์จิน เขาเหลือเงิน 2 ล้านบาท เมื่อลงทุนมาครบปีแรก เงิน 250,000 บาท กลายเป็นเงิน 2 ล้านบาท หลังจากลงทุนเพียง 1 ปี ผลตอบแทน คือ 700% ในหนึ่งปี เงินโตขึ้นมาเป็น 8 เท่า เขาเห็นแล้วว่านี่คือ "มหัศจรรย์" ของการลงทุน ในแบบ "ของเขา"
เงิน 2 ล้านบาทของเขายังคงถูกใช้ในการลงทุนตาม "สูตรเดิม" แต่ปรับเปลี่ยนบ้าง เขาเริ่มมีหุ้นเล่น 2-3 ตัวในเวลาเดียวกัน การใช้เงินมาร์จินก็ปรับลดลง จากเดิม 100% ก็อาจจะเปลี่ยนไปเป็น 80% เหตุผลก็เป็นเพราะเขาไม่เจอหุ้นตัวที่ "ใช่" อย่างปีก่อน เขาเริ่มกลัวบ้างว่า การเล่นหุ้นตัวเดียวและใช้มาร์จินเต็มที่นั้นอันตราย เขาอาจจะพลาดได้ ว่าที่จริง เขาก็เคยพลาดจากหุ้นบางตัวแต่โชคดีที่เขา "ออก" ได้ทัน ปีที่สองนี้ พอร์ตของเขาเพิ่มขึ้นเป็น 4 ล้านบาท ผลตอบแทน 100% แต่เขา รู้สึก "ผิดหวัง" เพราะเมื่อเทียบกับผลตอบแทนของปีก่อนแล้ว น้อยลงมาก นั่นก็คือ ผลตอบแทนของเขาแพ้เพื่อนในกลุ่มอย่าง "ยับเยิน"
ปีที่สามของเขาผ่านไปอย่าง "ยากลำบาก" เพราะเกิด "ภาวะวิกฤติ" ผลตอบแทนติดลบถึง 25% เงินในพอร์ตเหลือ 3 ล้านบาท สูตรที่เคยใช้การได้ดีกลับกลายเป็นตรงกันข้าม หุ้นที่เขาเข้าลงทุนมีราคาลดลงมาก โชคยังดีที่เขาไม่ถูก "บังคับขาย" เพื่อรักษาอัตรามาร์จินไว้ พอขึ้นปีที่สี่ ทุกอย่างกลับมาสดใสดังเดิม เขามีความรู้และประสบการณ์เพิ่มขึ้นมาก บางครั้งเขาไม่ใช่แค่เป็น "ผู้ตาม" แต่เขาเป็น "ผู้นำ" ในการค้นหาหุ้นที่จะลงทุนและ "ผลักดัน" ราคาหุ้นให้ขึ้นไปด้วย สิ้นปีที่สี่ พอร์ตของเขาผ่านหลัก 10 ล้านไปได้เหมือน "ฝัน" เขาเริ่มได้รับการยอมรับว่าเป็น คนที่มีความสามารถสูงแม้อายุยังน้อย
ปีที่ห้าของคุณไว เขาเริ่มมีหุ้นหลายตัวมากขึ้น การใช้มาร์จินลดลง เฉลี่ยแล้วเขาใช้เพียง 50% เขาเริ่มเห็นว่าการรักษาเงินต้นไว้ เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้การทำเงินมากๆ แต่มีความเสี่ยงสูง ด้วยภาวะตลาดหุ้นที่ยังสดใสและ "สูตร" การลงทุนของเขายังทำงานได้ดี ในช่วงหลังๆ นี้ สื่อสมัยใหม่ช่วยให้มีการเผยแพร่สูตรสำเร็จ ในการลงทุนรวมถึงตัวหุ้นที่น่าสนใจได้มากและเร็วขึ้น ทำให้พอร์ตลงทุนของเขาโตขึ้นอีก 100% เขามีเงิน 20 ล้าน และถือว่าเป็นเศรษฐีน้อยๆ คนหนึ่ง พ่อแม่เขาภาคภูมิใจมากที่ลูกหาเงินได้มาก และกลายเป็น "เศรษฐี" คนแรกของ "เครือญาติ" เพื่อนฝูงและคนรู้จักยอมรับในฝีมือของเขา บางคนถือว่าเขาเป็น "กูรู" คนหนึ่งของวงการหุ้น
ปีที่หกเริ่มต้นด้วยตลาดหุ้นที่ไม่สดใสนัก พอร์ตของคุณไวไม่ใคร่จะไปไหน ขณะนี้ เขาเริ่มรู้สึกว่าหุ้นมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เหนือสิ่งอื่นใด เงิน 20 ล้านของเขา หมายถึง ชีวิตที่ดีๆ ที่เขาต้องรักษาไว้โดยให้มีความเสี่ยงน้อยลง แน่นอน เขาอยากได้ผลตอบแทนมาก แต่ถ้ามันเป็นเรื่องเสี่ยงเกินไป เขาไม่อยากรับ มาร์จินที่เขาเคยใช้เต็ม ขณะนี้ลดลงมาก บางช่วงเขาไม่ได้ใช้เลย หุ้นที่เคยมีอยู่เพียง 2-3 ตัวก็กลายเป็น 7-8 ตัว เขายังใช้สูตรเดิมในการลงทุน แต่ผลกำไรที่ได้จากหุ้นแต่ละตัว เมื่อคิดเทียบกับพอร์ต 20 ล้านแล้วไม่มากนัก ซึ่งหุ้น 7-8 ตัวนั้น โอกาสที่เขาจะได้กำไรโดดเด่นทุกตัวดูเหมือนจะยาก จบปีที่หก ผลตอบแทนของเขาลดลงเหลือ 20% เมื่อเทียบกับอดีตแล้วลดลงมาก แต่เป็นผลตอบแทนที่ดีเมื่อเทียบกับตลาดหลักทรัพย์ที่หุ้นแทบไม่ให้ผลตอบแทน เลย
ปลายปีที่หก คุณไวแต่งงานกับสาวสวยที่มีดีกรีเป็นแพทย์ ไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับเขา เพราะเพื่อนๆ นักลงทุนของเขาที่ "ลงทุนเป็นอาชีพ" และไม่ได้ทำงานในบริษัทใหญ่ๆ ที่ "มีหน้ามีตา" หลายคน ต่างแต่งงานหรือมีแฟนเป็นผู้หญิงที่ผู้ชายต่างหมายปอง บางทีการเป็น "เศรษฐี" ตั้งแต่อายุน้อย อาจจะลบล้างค่านิยมเก่าๆ ว่า คุณต้องมีงานการเป็นหลักเป็นฐานที่แน่นอนได้
ความสำเร็จในแบบของคุณไว ผมคิดว่าไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายถ้ามองไปในอนาคต บางที คุณไวอาจจะโชคดีที่เริ่มต้นช่วง "โอกาสทอง" ที่หุ้นบางประเภท ปรับตัวขึ้นมาก คนรุ่นใหม่อาจไม่ได้เจอแบบนั้น การใช้มาร์จินและลงทุนในหุ้นน้อยตัวเกินไป เป็นความเสี่ยงที่สูงเกินไป และอาจทำให้เรา "ติด" จนในที่สุดวันหนึ่งเราอาจจะพลาดอย่างร้ายแรงจนทำให้เกิดหายนะได้ ผมคิดว่า การลงทุนโดยยึดหลักการที่เหมาะสม น่าจะเป็นทางเดินที่ดีกว่าสำหรับคนส่วนใหญ่ที่ไม่ได้มีความสามารถพิเศษในการลงทุน
บทความนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ 12 กรกฎาคม 2554
ข้อมูลที่ลำเอียง
เวลาที่รับข้อมูล เข้ามา สิ่งที่ Value Investor จะต้องพิจารณาก่อนที่จะนำไปใช้หรือนำไปวิเคราะห์ต่อก็คือ ข้อมูลนั้นถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง.ถ้าไม่ถูกต้อง น่าจะมากหรือน้อยเกินไป ดีเกินไปหรือแย่เกินไป วิธีที่จะดูหลักการสำคัญ คือ ดูว่าคนให้ข้อมูล "รู้จริง" หรือมีข้อมูลจริงไหม สิ่งที่สำคัญมากอีกข้อหนึ่ง คือ คนที่ให้ข้อมูลมี "แรงจูงใจ" อะไรในการที่ให้ข้อมูล
เวลาที่มีนักเศรษฐศาสตร์มาบอกหรือพยากรณ์ภาวะเศรษฐกิจ ถ้าเขามาจากหน่วยงานที่มีนักเศรษฐศาสตร์ ที่มักจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก และหน่วยงานนั้นไม่ได้อิงกับการเมืองในทางใดทางหนึ่ง ในกรณีแบบนี้ พวกเขาจะมีทั้งความรู้ ข้อมูล และไม่มีความ "ลำเอียง" ในการให้ความเห็นหรือพยากรณ์ ข้อมูลที่เราได้น่าจะเป็นข้อมูลที่เรานำไปใช้ได้อย่างสบายใจ พึงระลึกเสมอว่า การพยากรณ์เป็นศาสตร์ที่มีความไม่แน่นอนสูง แม้แต่นักเศรษฐศาสตร์ที่เก่งที่สุดในโลก ก็มักทำนายผิดอยู่บ่อยๆ ดังนั้นเวลาที่เราอ่านหรือฟังคำพยากรณ์เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ ผมคิดว่าอย่าไปเชื่ออย่างปักใจว่ามันจะถูกต้อง แม้แหล่งข้อมูลหรือคนที่ให้ข้อมูลจะเป็นน่าเชื่อถือมากๆ
นักเศรษฐศาสตร์หรือหน่วยงานที่อิงกับการเมืองในทางใดทางหนึ่ง อาจจะให้ความเห็นหรือพยากรณ์ภาวะเศรษฐกิจโดยมีความ "ลำเอียง" ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว ความลำเอียงที่ว่านั้น มักจะออกมาในด้านที่ดีกว่าความเป็นจริง เหตุผลก็คือ ฝ่ายการเมือง อยากจะให้ภาพเศรษฐกิจที่ดีๆ เพราะนั่นคือ "ผลงาน" ของเขาในการบริหารเศรษฐกิจของประเทศ เวลาดูหรืออ่านข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐกิจจากหน่วยงานรัฐ เราจึงควรจะดูว่ามาจากหน่วยงานไหน ในแวดวงของนักเศรษฐศาสตร์กันเอง บางทีก็พูดกันว่า ถ้ามาจากหน่วยงานนี้ ตัวเลขมักจะดูมองโลกในแง่ดีกว่าอีกหน่วยงานหนึ่งเสมอจนแทบจะเป็น "ธรรมเนียม"
ผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทจดทะเบียน มักจะให้ข้อมูลและคาดการณ์ผลประกอบการของบริษัทด้านที่ดีกว่าความเป็นจริง เสมอ เริ่มตั้งแต่ความสามารถในการแข่งขันของบริษัทเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ผมพบว่าแทบไม่มีบริษัทไหนบอกว่าตนเองฝีมือต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม ว่าที่จริงแทบทุกบริษัทจะบอกว่าตนเองเป็นบริษัทระดับต้นๆ ของอุตสาหกรรม บางบริษัทบอกว่าตนเองเป็นบริษัทที่เด่นมากในการผลิต หรือการดำเนินงานที่คู่แข่งไม่สามารถเข้ามาแข่งขันได้ พวกเขาอาจจะไม่ได้โกหก แต่มักจะลำเอียงทั้งที่รู้ตัว และไม่รู้ตัว แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ด้วยท่าทีที่มั่นอกมั่นใจ และด้วยความรู้ที่มีมากกว่าคนฟัง หรือนักวิเคราะห์ของผู้บริหาร ทำให้คนฟังมักจะเชื่ออย่างสนิทใจว่ามันเป็นเรื่องจริง เหนือสิ่งอื่นใด ก็คือ ข้อมูลผลประกอบการที่ "ดีๆ" ในช่วงที่ผ่านมาเร็วๆ นี้ ที่แสดงให้คนฟังเห็น มักจะเป็นเครื่องยืนยันว่าสิ่งที่ผู้บริหารพูด เป็นความจริงอย่างแน่นอน
ภาพในอนาคตบริษัทที่ผู้บริหารแถลงออกมา มักจะยิ่งสดใสกว่าความเป็นจริง ผู้บริหารมีแรงจูงใจวาดภาพบริษัทให้ดูดี เพราะเขามีแรงจูงใจหลายๆ อย่าง เช่น เขาอยากจะเป็นผู้บริหารที่มีความสามารถได้รับการยกย่อง หรือผู้บริหารที่เป็นเจ้าของ หรือผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทอยากให้คนมาซื้อหุ้น ทำให้ราคาขึ้นไป และเขาจะขายได้ราคาสูงเป็นต้น
ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะประเมินว่าผู้บริหารพูด "เวอร์" หรือลำเอียงมากไปแค่ไหน เหตุผลเพราะเราไม่ได้อยู่ในธุรกิจ หรือไม่สามารถหาข้อมูลได้มากพอที่จะตัดสิน นักวิเคราะห์หรือนักลงทุนบางคนใช้วิธีดูผลงานที่ผ่านมาเทียบกับสิ่งที่ผู้ บริหารเคยพูดไว้ว่าตรงหรือใกล้เคียงไหม ซึ่งผมคิดว่าเป็นวิธีที่พอใช้ได้ บางบริษัทอาจไม่มีข้อมูลที่ยาวพอ ทำให้เราใช้ข้อมูลนี้ได้ยาก วิธีที่น่าจะดีกว่าก็คือ ผมจะมองไปถึง "โครงสร้างของอุตสาหกรรม" ว่า บริษัททำธุรกิจอะไร ปัจจัยการแข่งขันในอุตสาหกรรมเป็นอย่างไร บริษัทอยู่ในตำแหน่งไหน? ได้เปรียบหรือเสียเปรียบคู่แข่งขันอื่น และการได้เปรียบ เป็นการได้เปรียบชั่วคราวหรือถาวร สุดท้ายยังต้องดูอีกว่าในอนาคต 3-4 ปีขึ้นไป จะมีผู้เล่นรายใหม่ๆ มาแข่งขันด้วยหรือไม่
สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเป็นตัวบอกว่า "คำคุย" ของผู้บริหารจะเป็นจริงหรือไม่ พูดง่ายๆ ในการวิเคราะห์ว่า ผู้บริหารลำเอียงไปมากน้อยแค่ไหน ผมพยายามตัดประเด็นเรื่องฝีมือของผู้บริหารออก แล้วดูตัวอุตสาหกรรม และตำแหน่งของบริษัทในอุตสาหกรรมเป็นหลัก ถ้าตำแหน่งของบริษัทแย่หรือเสียเปรียบ แต่ผู้บริหารบอกว่าบริษัทของตนจะเอาชนะ และแย่งชิงธุรกิจได้มากกว่าคู่แข่งมากด้วยเพราะฝีมือของผู้บริหารหรือ พนักงาน ผมไม่มั่นใจเลยว่าเขาจะทำได้
โบรกเกอร์และนักวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์ เราต้องรู้ว่าเขามีความลำเอียง ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ ที่จะให้เราซื้อๆ ขายๆ หุ้นมากกว่าปกติ เขามักจะชอบแนะนำหุ้นที่กำลังมีราคา และปริมาณการซื้อขายหุ้นที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก ดังนั้นการให้ความเห็นเกี่ยวกับหุ้น จึงมักเป็นการแนะนำให้ซื้อหุ้นที่กำลังร้อนแรง และราคาอาจสูงเกินพื้นฐานไปแล้ว แต่ในความเห็นของเขา กลับเห็นว่าหุ้นยังต่ำกว่าพื้นฐานและน่าลงทุนทั้งๆ ที่ก่อนหน้าที่หุ้นจะร้อนและราคาหุ้นยังต่ำอยู่ พวกเขาไม่เคยพูดถึงเลยว่าเป็นหุ้นที่น่าสนใจ
ข้อเตือนใจของผมสำหรับเรื่องนี้ ก็คือ ราคา หรือมูลค่าพื้นฐานของหุ้นที่เกิดจากการคำนวณของนักวิเคราะห์ ส่วนใหญ่เป็น "มูลค่าในจินตนาการ" หมายความว่า คุณอาจให้ค่าเท่าไรก็ได้จากราคาเช่น 10 บาท ถึง 40 บาท ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะตั้งสมมติฐานอย่างไร หรือให้คุณค่ากับบริษัทมากน้อยแค่ไหน ในยามที่ราคาและปริมาณการซื้อขายหุ้นร้อนแรง คุณจะให้ราคา 40 บาท คนก็เชื่อ แต่ในยามที่หุ้นตัวนั้นเงียบเหงา บางทีคุณบอกว่า 10 บาท คนก็ยังบอกว่าไม่น่าสนใจ
เรื่องความลำเอียงในตลาดหุ้น ผมคิดว่ายังมีอีกมาก สิ่งที่เราควรเข้าใจคือ ตลาดหุ้น เป็นที่อยู่ของคนที่มักจะมองโลกด้านบวกสูงกว่าคนปกติ เป็นที่อยู่ของคนที่มีความหวังหรือความฝันที่สูงกว่าคนทั่วไป พวกเขาฝันจะรวยอย่างรวดเร็ว หรือทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำ ไม่ว่าเมื่อวานตลาดหุ้นจะเลวร้ายแค่ไหน ก่อน 10 โมงเช้าที่ตลาดเปิด คนเล่นหุ้นก็มักจะมีความหวังเสมอ การมองโลกที่สดใสกว่าปกติ ผมคิดว่าทำให้คนในตลาดหุ้นส่วนใหญ่มี "ความลำเอียง" ที่จะมองการลงทุนหรือการซื้อขายหุ้นในแง่ที่ดีกว่าความเป็นจริง ถ้าลองถามคนที่ลงทุนเล่นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ว่า เขาคิดจะได้รับผลตอบแทน "ปีนี้" กี่เปอร์เซ็นต์ ผมเชื่อว่าคำตอบเฉลี่ยคงเป็นอย่างน้อย 20-30% ขึ้นไป ทั้งๆ ที่ผลตอบแทนต่อปีในอดีตของตลาดหุ้นเท่ากับ 10% เท่านั้น
ในฐานะของ Value Investor เราต้องพยายาม "ฉีก" ตนเองออกจาก "ตลาด" ความหมายก็คือ ต้องเข้าใจเรื่อง "ความลำเอียง" ทั้งหลายที่เกิดขึ้นจากเหตุจูงใจต่างๆ และธรรมชาติบางอย่างของคนโดยเฉพาะที่อยู่ในตลาดหุ้น การอ่านหรือฟังข้อมูล เราต้องรู้ "เบื้องหลัง" หรือ "วาระซ่อนเร้น" ที่อาจจะมีอยู่ เพื่อที่ว่าเราจะได้นำข้อมูลที่ได้รับมา "ปรับ" ให้ถูกต้องใกล้เคียงขึ้น การรับข้อมูลโดยไม่พิจารณาเพิ่มเติม เป็นอันตรายอย่างใหญ่หลวง เพราะบางครั้งอาจจะหมายถึงการถูก "หลอก" ให้สำคัญผิดใน "พื้นฐาน" ของบริษัท ซึ่งทำให้การตัดสินใจของเราผิดพลาด และเกิดความเสียหายร้ายแรงได้
บทความนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ 5 กรกฎาคม 2554
เวลาที่มีนักเศรษฐศาสตร์มาบอกหรือพยากรณ์ภาวะเศรษฐกิจ ถ้าเขามาจากหน่วยงานที่มีนักเศรษฐศาสตร์ ที่มักจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก และหน่วยงานนั้นไม่ได้อิงกับการเมืองในทางใดทางหนึ่ง ในกรณีแบบนี้ พวกเขาจะมีทั้งความรู้ ข้อมูล และไม่มีความ "ลำเอียง" ในการให้ความเห็นหรือพยากรณ์ ข้อมูลที่เราได้น่าจะเป็นข้อมูลที่เรานำไปใช้ได้อย่างสบายใจ พึงระลึกเสมอว่า การพยากรณ์เป็นศาสตร์ที่มีความไม่แน่นอนสูง แม้แต่นักเศรษฐศาสตร์ที่เก่งที่สุดในโลก ก็มักทำนายผิดอยู่บ่อยๆ ดังนั้นเวลาที่เราอ่านหรือฟังคำพยากรณ์เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ ผมคิดว่าอย่าไปเชื่ออย่างปักใจว่ามันจะถูกต้อง แม้แหล่งข้อมูลหรือคนที่ให้ข้อมูลจะเป็นน่าเชื่อถือมากๆ
นักเศรษฐศาสตร์หรือหน่วยงานที่อิงกับการเมืองในทางใดทางหนึ่ง อาจจะให้ความเห็นหรือพยากรณ์ภาวะเศรษฐกิจโดยมีความ "ลำเอียง" ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว ความลำเอียงที่ว่านั้น มักจะออกมาในด้านที่ดีกว่าความเป็นจริง เหตุผลก็คือ ฝ่ายการเมือง อยากจะให้ภาพเศรษฐกิจที่ดีๆ เพราะนั่นคือ "ผลงาน" ของเขาในการบริหารเศรษฐกิจของประเทศ เวลาดูหรืออ่านข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐกิจจากหน่วยงานรัฐ เราจึงควรจะดูว่ามาจากหน่วยงานไหน ในแวดวงของนักเศรษฐศาสตร์กันเอง บางทีก็พูดกันว่า ถ้ามาจากหน่วยงานนี้ ตัวเลขมักจะดูมองโลกในแง่ดีกว่าอีกหน่วยงานหนึ่งเสมอจนแทบจะเป็น "ธรรมเนียม"
ผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทจดทะเบียน มักจะให้ข้อมูลและคาดการณ์ผลประกอบการของบริษัทด้านที่ดีกว่าความเป็นจริง เสมอ เริ่มตั้งแต่ความสามารถในการแข่งขันของบริษัทเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ผมพบว่าแทบไม่มีบริษัทไหนบอกว่าตนเองฝีมือต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม ว่าที่จริงแทบทุกบริษัทจะบอกว่าตนเองเป็นบริษัทระดับต้นๆ ของอุตสาหกรรม บางบริษัทบอกว่าตนเองเป็นบริษัทที่เด่นมากในการผลิต หรือการดำเนินงานที่คู่แข่งไม่สามารถเข้ามาแข่งขันได้ พวกเขาอาจจะไม่ได้โกหก แต่มักจะลำเอียงทั้งที่รู้ตัว และไม่รู้ตัว แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ด้วยท่าทีที่มั่นอกมั่นใจ และด้วยความรู้ที่มีมากกว่าคนฟัง หรือนักวิเคราะห์ของผู้บริหาร ทำให้คนฟังมักจะเชื่ออย่างสนิทใจว่ามันเป็นเรื่องจริง เหนือสิ่งอื่นใด ก็คือ ข้อมูลผลประกอบการที่ "ดีๆ" ในช่วงที่ผ่านมาเร็วๆ นี้ ที่แสดงให้คนฟังเห็น มักจะเป็นเครื่องยืนยันว่าสิ่งที่ผู้บริหารพูด เป็นความจริงอย่างแน่นอน
ภาพในอนาคตบริษัทที่ผู้บริหารแถลงออกมา มักจะยิ่งสดใสกว่าความเป็นจริง ผู้บริหารมีแรงจูงใจวาดภาพบริษัทให้ดูดี เพราะเขามีแรงจูงใจหลายๆ อย่าง เช่น เขาอยากจะเป็นผู้บริหารที่มีความสามารถได้รับการยกย่อง หรือผู้บริหารที่เป็นเจ้าของ หรือผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทอยากให้คนมาซื้อหุ้น ทำให้ราคาขึ้นไป และเขาจะขายได้ราคาสูงเป็นต้น
ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะประเมินว่าผู้บริหารพูด "เวอร์" หรือลำเอียงมากไปแค่ไหน เหตุผลเพราะเราไม่ได้อยู่ในธุรกิจ หรือไม่สามารถหาข้อมูลได้มากพอที่จะตัดสิน นักวิเคราะห์หรือนักลงทุนบางคนใช้วิธีดูผลงานที่ผ่านมาเทียบกับสิ่งที่ผู้ บริหารเคยพูดไว้ว่าตรงหรือใกล้เคียงไหม ซึ่งผมคิดว่าเป็นวิธีที่พอใช้ได้ บางบริษัทอาจไม่มีข้อมูลที่ยาวพอ ทำให้เราใช้ข้อมูลนี้ได้ยาก วิธีที่น่าจะดีกว่าก็คือ ผมจะมองไปถึง "โครงสร้างของอุตสาหกรรม" ว่า บริษัททำธุรกิจอะไร ปัจจัยการแข่งขันในอุตสาหกรรมเป็นอย่างไร บริษัทอยู่ในตำแหน่งไหน? ได้เปรียบหรือเสียเปรียบคู่แข่งขันอื่น และการได้เปรียบ เป็นการได้เปรียบชั่วคราวหรือถาวร สุดท้ายยังต้องดูอีกว่าในอนาคต 3-4 ปีขึ้นไป จะมีผู้เล่นรายใหม่ๆ มาแข่งขันด้วยหรือไม่
สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเป็นตัวบอกว่า "คำคุย" ของผู้บริหารจะเป็นจริงหรือไม่ พูดง่ายๆ ในการวิเคราะห์ว่า ผู้บริหารลำเอียงไปมากน้อยแค่ไหน ผมพยายามตัดประเด็นเรื่องฝีมือของผู้บริหารออก แล้วดูตัวอุตสาหกรรม และตำแหน่งของบริษัทในอุตสาหกรรมเป็นหลัก ถ้าตำแหน่งของบริษัทแย่หรือเสียเปรียบ แต่ผู้บริหารบอกว่าบริษัทของตนจะเอาชนะ และแย่งชิงธุรกิจได้มากกว่าคู่แข่งมากด้วยเพราะฝีมือของผู้บริหารหรือ พนักงาน ผมไม่มั่นใจเลยว่าเขาจะทำได้
โบรกเกอร์และนักวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์ เราต้องรู้ว่าเขามีความลำเอียง ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ ที่จะให้เราซื้อๆ ขายๆ หุ้นมากกว่าปกติ เขามักจะชอบแนะนำหุ้นที่กำลังมีราคา และปริมาณการซื้อขายหุ้นที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก ดังนั้นการให้ความเห็นเกี่ยวกับหุ้น จึงมักเป็นการแนะนำให้ซื้อหุ้นที่กำลังร้อนแรง และราคาอาจสูงเกินพื้นฐานไปแล้ว แต่ในความเห็นของเขา กลับเห็นว่าหุ้นยังต่ำกว่าพื้นฐานและน่าลงทุนทั้งๆ ที่ก่อนหน้าที่หุ้นจะร้อนและราคาหุ้นยังต่ำอยู่ พวกเขาไม่เคยพูดถึงเลยว่าเป็นหุ้นที่น่าสนใจ
ข้อเตือนใจของผมสำหรับเรื่องนี้ ก็คือ ราคา หรือมูลค่าพื้นฐานของหุ้นที่เกิดจากการคำนวณของนักวิเคราะห์ ส่วนใหญ่เป็น "มูลค่าในจินตนาการ" หมายความว่า คุณอาจให้ค่าเท่าไรก็ได้จากราคาเช่น 10 บาท ถึง 40 บาท ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะตั้งสมมติฐานอย่างไร หรือให้คุณค่ากับบริษัทมากน้อยแค่ไหน ในยามที่ราคาและปริมาณการซื้อขายหุ้นร้อนแรง คุณจะให้ราคา 40 บาท คนก็เชื่อ แต่ในยามที่หุ้นตัวนั้นเงียบเหงา บางทีคุณบอกว่า 10 บาท คนก็ยังบอกว่าไม่น่าสนใจ
เรื่องความลำเอียงในตลาดหุ้น ผมคิดว่ายังมีอีกมาก สิ่งที่เราควรเข้าใจคือ ตลาดหุ้น เป็นที่อยู่ของคนที่มักจะมองโลกด้านบวกสูงกว่าคนปกติ เป็นที่อยู่ของคนที่มีความหวังหรือความฝันที่สูงกว่าคนทั่วไป พวกเขาฝันจะรวยอย่างรวดเร็ว หรือทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำ ไม่ว่าเมื่อวานตลาดหุ้นจะเลวร้ายแค่ไหน ก่อน 10 โมงเช้าที่ตลาดเปิด คนเล่นหุ้นก็มักจะมีความหวังเสมอ การมองโลกที่สดใสกว่าปกติ ผมคิดว่าทำให้คนในตลาดหุ้นส่วนใหญ่มี "ความลำเอียง" ที่จะมองการลงทุนหรือการซื้อขายหุ้นในแง่ที่ดีกว่าความเป็นจริง ถ้าลองถามคนที่ลงทุนเล่นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ว่า เขาคิดจะได้รับผลตอบแทน "ปีนี้" กี่เปอร์เซ็นต์ ผมเชื่อว่าคำตอบเฉลี่ยคงเป็นอย่างน้อย 20-30% ขึ้นไป ทั้งๆ ที่ผลตอบแทนต่อปีในอดีตของตลาดหุ้นเท่ากับ 10% เท่านั้น
ในฐานะของ Value Investor เราต้องพยายาม "ฉีก" ตนเองออกจาก "ตลาด" ความหมายก็คือ ต้องเข้าใจเรื่อง "ความลำเอียง" ทั้งหลายที่เกิดขึ้นจากเหตุจูงใจต่างๆ และธรรมชาติบางอย่างของคนโดยเฉพาะที่อยู่ในตลาดหุ้น การอ่านหรือฟังข้อมูล เราต้องรู้ "เบื้องหลัง" หรือ "วาระซ่อนเร้น" ที่อาจจะมีอยู่ เพื่อที่ว่าเราจะได้นำข้อมูลที่ได้รับมา "ปรับ" ให้ถูกต้องใกล้เคียงขึ้น การรับข้อมูลโดยไม่พิจารณาเพิ่มเติม เป็นอันตรายอย่างใหญ่หลวง เพราะบางครั้งอาจจะหมายถึงการถูก "หลอก" ให้สำคัญผิดใน "พื้นฐาน" ของบริษัท ซึ่งทำให้การตัดสินใจของเราผิดพลาด และเกิดความเสียหายร้ายแรงได้
บทความนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ 5 กรกฎาคม 2554
หุ้นสถาบันการเงิน
หุ้นในกลุ่มสถาบัน การเงินที่ผมจะพูดถึงนั้น ผมรวมถึงกลุ่มต่อไปนี้ คือ 1.กลุ่มที่เป็นธนาคารพาณิชย์ 2.กลุ่มที่ทำธุรกิจเช่าซื้อและลิสซิ่งก็คือบริษัทที่ปล่อยกู้ ให้กับลูกค้าเพื่อซื้อสินค้าเงินผ่อนทั้งหลาย 3.กลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ที่ให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นในตลาดหลัก ทรัพย์ และ 4.กลุ่มบริษัทประกันภัยและประกันชีวิต ทั้งหมดนี้ผมแทบไม่ได้ซื้อหุ้นเพื่อลงทุนเลยในระยะสิบปีที่ผ่านมา เพราะผมเห็นว่าหุ้นในกลุ่มเหล่านี้มีความเสี่ยงที่ผมไม่ใคร่สบายใจนักที่จะ ลงทุนระยะยาว และต่อไปนี้คือความคิดของผม
ก่อนที่จะพูดถึงความเสี่ยงผมอยากจะบอกว่า ที่จริงหุ้นในกลุ่มสถาบันการเงินนั้น ส่วนใหญ่มีผลประกอบการที่ดีน่าประทับใจ ถ้าดูจากกำไรต่อส่วนของผู้ถือหุ้นก็จะเห็นว่าหุ้นเหล่านี้มีผลกำไรอยู่ใน เกณฑ์ที่สูงลิ่ว เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของหุ้นในอุตสาหกรรมอื่นๆ ในตลาดหลักทรัพย์ และเมื่อมองดูถึงความสม่ำเสมอของกำไรก็เห็นว่าบริษัทเหล่านั้น ทำได้ค่อนข้างดีพอจะบอกได้ว่าเป็นผลประกอบการที่สามารถคาดการณ์ได้
ประกอบกับการที่บริษัทเหล่านี้มีลูกค้าเป็น "ล้านๆ" คน ดังนั้นความผันผวนของรายได้ก็มักจะน้อย ข้อสรุปก็คือ โดยทั่วไปแล้ว เราสามารถหา "มูลค่าที่แท้จริง" ของกิจการ ได้ไม่ยากนักเทียบกับกิจการอื่นๆ อีกหลายอย่าง พูดง่ายๆ สามารถใช้ค่า PE และ/หรือ PB มาวัดค่าความถูก/แพงของหุ้นได้
ข้อดีของหุ้นสถาบันการเงินอีกอย่างหนึ่งก็คือ ส่วนใหญ่บริษัทเหล่านั้น มีกฎหมายและหน่วยงานของรัฐควบคุมอย่างเข้มงวด ข้อมูลต่างๆ ของบริษัทโดยเฉพาะบัญชีการเงินค่อนข้างเชื่อถือได้ เช่นเดียวกัน ผู้บริหารไม่สามารถนำเงินไป "ถลุง" ในกิจการอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องได้ง่ายนัก อีกเรื่องหนึ่งก็คือ นโยบายจ่ายปันผลมักจะดีเหตุ เพราะบริษัทเหล่านี้มีเงินสดเหลือเฟือที่จะจ่ายปันผล และที่น่าสนใจสุดยอดอีกอย่างหนึ่งก็คือ หุ้นเหล่านี้ จำนวนมากมีค่า PE และ PB ไม่สูง บางบริษัทต่ำมาก ดูไปแล้วน่าจะเป็นหุ้นที่เข้าข่ายเป็นหุ้น "Value" ที่น่าซื้อลงทุนระยะยาว แต่สิ่งที่ทำให้ผมไม่สบายใจนักที่จะลงทุนในหุ้นกลุ่มสถาบันการเงินก็คือ
ประการแรก หุ้นสถาบันการเงินยกเว้นบริษัทหลักทรัพย์ มีการกู้หรือรับฝากเงินจำนวนมาก อัตราการกู้ยืม กรณีธนาคารพาณิชย์สูงมาก อาจเกือบสิบเท่าของเงินในส่วนของผู้ถือหุ้น การกู้มากเป็นความเสี่ยงมหาศาล เพราะถ้าเงินที่กู้มาและนำไปปล่อยกู้หรือลงทุนต่อ เกิดเสียหายกลายเป็น NPL หรือหนี้สูญเพียงแค่ 10% แบงก์นั้นก็หมดทุนหรือล้ม จริงอยู่ที่ว่าอัตราการเกิด NPL ของแบงก์ในภาวะปกติ จะมีน้อยมากเพียง 1-2% และแบงก์ก็มักจะกันสำรองหนี้สูญทุกปีจนเพียงพอหรือเกินพอ แต่นั่นก็คือสภาวการณ์ "ปกติ" แต่ในสถานการณ์ "วิกฤติ" เช่นในปี 2540 ลูกหนี้ของแบงก์ต่าง "ล้มละลาย" เป็นลูกโซ่ และแบงก์เกือบทั้งหมดแทบเอาตัวไม่รอด หลายแห่งล้มลงไป และนี่ก็คือความเสี่ยงของหุ้นแบงก์
หุ้นของบริษัทลิสซิ่งและบริษัทที่ให้กู้สำหรับซื้อสินค้าเงินผ่อน ส่วนใหญ่กู้เงินไม่ต่ำกว่า 4-5 เท่าของเงินทุนตนเอง การปล่อยกู้ให้กับลูกค้า บริษัทมักจะคิดดอกเบี้ยสูงกว่าแบงก์มาก เพราะปล่อยกู้ให้กับคนที่มีรายได้น้อย หรือคนที่ยังไม่มีกำลังซื้อสินค้าราคาสูง เช่น รถยนต์ แต่อยากได้สินค้ามาใช้ก่อน ดังนั้นโอกาสที่ลูกหนี้จะกลายเป็นหนี้เสียสูงกว่ากรณีของแบงก์ ในกรณีที่เศรษฐกิจโดยทั่วไปดี อัตราหนี้เสียมักจะไม่สูงนัก ทำให้ผลประกอบการของบริษัทดี แต่บางช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี อาจเป็นเพราะพืชผลทางการเกษตรมีราคาตกต่ำ NPL จะเกิดขึ้นจำนวนมาก ผลก็คือ บริษัทอาจขาดทุนหนัก บางแห่งอาจไปไม่รอด เพราะบริษัทในกลุ่มนี้ไม่ได้ถูกถือว่า เป็นสถาบันการเงินที่มีการรับเงินฝากจากประชาชน การควบคุมจากทางการก็มีน้อย การบริหารงานภายในบริษัทอาจหละหลวมหรือมีการทุจริตได้ง่าย นี่ก็เป็นความเสี่ยงด้านบริหารงานที่เพิ่มขึ้นมาจากเรื่องภาวะทางเศรษฐกิจ
ข้อสรุปสั้นๆ ของผมสำหรับหุ้นสองกลุ่มนี้ ก็คือ "เป็นธุรกิจที่ดีจนถึงวันที่มันเจ๊ง" หากจะลงทุนในหุ้นสองกลุ่มนี้ ก็คงต้องพิจารณาและติดตามว่า จะมีโอกาสเจ๊งไหม ทั้งจากเรื่องของภาวะเศรษฐกิจและเรื่องของตัวบริษัทในด้านของการบริหารงาน ภายใน และนำมาเทียบกับราคาหุ้นที่จะเป็นตัวกำหนดผลตอบแทนที่เราจะได้จากการลงทุน
หุ้นในกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ ความเสี่ยงอยู่ที่การเปิด "เสรี" ธุรกิจหลักทรัพย์ซึ่งจะทำให้บริษัทแต่ละแห่ง คิดค่าธรรมเนียมการซื้อขายหุ้นได้อย่างอิสระ นี่จะทำให้รายได้หลักของโบรกเกอร์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เพราะโบรกเกอร์บางแห่งที่มีลูกค้าและคำสั่งซื้อขายหุ้นน้อย เสนออัตราค่านายหน้าในอัตราที่ต่ำ เพื่อดึงดูดให้ลูกค้ามาซื้อขายหุ้นกับตนเอง เมื่อคู่แข่งถูก "ตัดราคา" ค่าบริการ เขาต้องเสนอราคาที่ต่ำลงเพื่อรักษาลูกค้า ผลก็คือ ราคาค่าบริการจะต่ำลงเรื่อยๆ จนอาจเข้าใกล้ศูนย์ในบางกรณี กำไรของบริษัทหลักทรัพย์ส่วนใหญ่ก็จะลดลง และไม่สามารถคาดได้ว่าจะเป็นเท่าไร นอกจากเรื่องของค่าคอมมิชชั่นแล้ว อาจจะมีบริษัทหลักทรัพย์ โดยเฉพาะจากต่างประเทศ ที่จะมาเปิดให้บริการเพิ่ม ซึ่งจะทำให้เกิดการแย่งส่วนแบ่งตลาดของโบรกเกอร์เดิมอีก นี่คือความเสี่ยงสำคัญที่คาดการณ์ได้ยากสำหรับหุ้นบริษัทหลักทรัพย์
หุ้นกลุ่มสุดท้าย คือหุ้นของบริษัทประกันภัยและประกันชีวิต หุ้นกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่คือการประกันภัยรถยนต์ ส่วนน้อยและมักจะเป็นเครือของแบงก์จะมีรับประกันภัยบ้าน และอสังหาริมทรัพย์อื่น เช่น อาคาร และโรงงานต่างๆ ด้านการประกันภัยรถยนต์ การแข่งขันสูงมาก ทำให้บริษัทส่วนใหญ่มีกำไรไม่ดีนัก บางปีก็ขาดทุน โดยพื้นฐานแล้ว ไม่ถือว่าเป็นกิจการที่ดีนัก ส่วนบริษัทประกันภัยที่เป็นเครือของธนาคาร มักได้เปรียบเพราะจะได้ลูกค้าที่ถูกส่งต่อมาจากแบงก์ที่ให้เงินกู้ และบังคับให้ลูกค้าทำประกันทรัพย์สินที่นำมาจำนอง ซึ่งมักเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่โอกาสในการเคลมต่ำ ผลก็คือ บริษัทเหล่านี้มักจะมีกำไรดีต่อเนื่อง หุ้นก็มักจะไม่ถูก
หุ้นบริษัทประกันชีวิตในตลาดมีน้อย แต่เป็นหุ้นที่คึกคักมากในช่วงเร็วๆ นี้สำหรับ VI หลายคน เหตุผลเพราะว่า ธุรกิจประกันชีวิตโดยเฉพาะช่วงนี้เติบโตค่อนข้างสูง การที่บริษัทเป็นบริษัทในเครือแบงก์ ทำให้ขยายธุรกิจไปได้ง่าย โดยทำผ่านพนักงานของแบงก์ที่เรียกว่า "แบงก์แอสชัวรันส์" นั่นคือ ให้พนักงานแบงก์เป็นคนช่วยขายให้กับลูกค้าที่มีเงิน การขายทำได้ง่าย เพราะมีข้อมูลของลูกค้าครบ ประกอบกับดอกเบี้ยเงินฝากที่ต่ำมาก ทำให้การชักชวนคนทำประกันชีวิตทำได้ง่าย เพราะผลตอบแทนจากกรมธรรม์ดีกว่าการฝากเงิน หุ้นประกันชีวิตมีความเสี่ยงอยู่บ้าง เพราะต้องเอาเงินเบี้ยประกันไปลงทุน แม้มักจะลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำเป็นส่วนใหญ่ แต่ความเสี่ยงก็ยังมีอยู่ เหนือสิ่งอื่นใดที่ทำให้ผมยังไม่ลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ คือ ราคาหุ้นไม่ถูกเลย โดยเฉพาะเมื่อดูจากค่า PB ของหุ้น
บทความนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ 28 มิถุนายน 2554
ก่อนที่จะพูดถึงความเสี่ยงผมอยากจะบอกว่า ที่จริงหุ้นในกลุ่มสถาบันการเงินนั้น ส่วนใหญ่มีผลประกอบการที่ดีน่าประทับใจ ถ้าดูจากกำไรต่อส่วนของผู้ถือหุ้นก็จะเห็นว่าหุ้นเหล่านี้มีผลกำไรอยู่ใน เกณฑ์ที่สูงลิ่ว เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของหุ้นในอุตสาหกรรมอื่นๆ ในตลาดหลักทรัพย์ และเมื่อมองดูถึงความสม่ำเสมอของกำไรก็เห็นว่าบริษัทเหล่านั้น ทำได้ค่อนข้างดีพอจะบอกได้ว่าเป็นผลประกอบการที่สามารถคาดการณ์ได้
ประกอบกับการที่บริษัทเหล่านี้มีลูกค้าเป็น "ล้านๆ" คน ดังนั้นความผันผวนของรายได้ก็มักจะน้อย ข้อสรุปก็คือ โดยทั่วไปแล้ว เราสามารถหา "มูลค่าที่แท้จริง" ของกิจการ ได้ไม่ยากนักเทียบกับกิจการอื่นๆ อีกหลายอย่าง พูดง่ายๆ สามารถใช้ค่า PE และ/หรือ PB มาวัดค่าความถูก/แพงของหุ้นได้
ข้อดีของหุ้นสถาบันการเงินอีกอย่างหนึ่งก็คือ ส่วนใหญ่บริษัทเหล่านั้น มีกฎหมายและหน่วยงานของรัฐควบคุมอย่างเข้มงวด ข้อมูลต่างๆ ของบริษัทโดยเฉพาะบัญชีการเงินค่อนข้างเชื่อถือได้ เช่นเดียวกัน ผู้บริหารไม่สามารถนำเงินไป "ถลุง" ในกิจการอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องได้ง่ายนัก อีกเรื่องหนึ่งก็คือ นโยบายจ่ายปันผลมักจะดีเหตุ เพราะบริษัทเหล่านี้มีเงินสดเหลือเฟือที่จะจ่ายปันผล และที่น่าสนใจสุดยอดอีกอย่างหนึ่งก็คือ หุ้นเหล่านี้ จำนวนมากมีค่า PE และ PB ไม่สูง บางบริษัทต่ำมาก ดูไปแล้วน่าจะเป็นหุ้นที่เข้าข่ายเป็นหุ้น "Value" ที่น่าซื้อลงทุนระยะยาว แต่สิ่งที่ทำให้ผมไม่สบายใจนักที่จะลงทุนในหุ้นกลุ่มสถาบันการเงินก็คือ
ประการแรก หุ้นสถาบันการเงินยกเว้นบริษัทหลักทรัพย์ มีการกู้หรือรับฝากเงินจำนวนมาก อัตราการกู้ยืม กรณีธนาคารพาณิชย์สูงมาก อาจเกือบสิบเท่าของเงินในส่วนของผู้ถือหุ้น การกู้มากเป็นความเสี่ยงมหาศาล เพราะถ้าเงินที่กู้มาและนำไปปล่อยกู้หรือลงทุนต่อ เกิดเสียหายกลายเป็น NPL หรือหนี้สูญเพียงแค่ 10% แบงก์นั้นก็หมดทุนหรือล้ม จริงอยู่ที่ว่าอัตราการเกิด NPL ของแบงก์ในภาวะปกติ จะมีน้อยมากเพียง 1-2% และแบงก์ก็มักจะกันสำรองหนี้สูญทุกปีจนเพียงพอหรือเกินพอ แต่นั่นก็คือสภาวการณ์ "ปกติ" แต่ในสถานการณ์ "วิกฤติ" เช่นในปี 2540 ลูกหนี้ของแบงก์ต่าง "ล้มละลาย" เป็นลูกโซ่ และแบงก์เกือบทั้งหมดแทบเอาตัวไม่รอด หลายแห่งล้มลงไป และนี่ก็คือความเสี่ยงของหุ้นแบงก์
หุ้นของบริษัทลิสซิ่งและบริษัทที่ให้กู้สำหรับซื้อสินค้าเงินผ่อน ส่วนใหญ่กู้เงินไม่ต่ำกว่า 4-5 เท่าของเงินทุนตนเอง การปล่อยกู้ให้กับลูกค้า บริษัทมักจะคิดดอกเบี้ยสูงกว่าแบงก์มาก เพราะปล่อยกู้ให้กับคนที่มีรายได้น้อย หรือคนที่ยังไม่มีกำลังซื้อสินค้าราคาสูง เช่น รถยนต์ แต่อยากได้สินค้ามาใช้ก่อน ดังนั้นโอกาสที่ลูกหนี้จะกลายเป็นหนี้เสียสูงกว่ากรณีของแบงก์ ในกรณีที่เศรษฐกิจโดยทั่วไปดี อัตราหนี้เสียมักจะไม่สูงนัก ทำให้ผลประกอบการของบริษัทดี แต่บางช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี อาจเป็นเพราะพืชผลทางการเกษตรมีราคาตกต่ำ NPL จะเกิดขึ้นจำนวนมาก ผลก็คือ บริษัทอาจขาดทุนหนัก บางแห่งอาจไปไม่รอด เพราะบริษัทในกลุ่มนี้ไม่ได้ถูกถือว่า เป็นสถาบันการเงินที่มีการรับเงินฝากจากประชาชน การควบคุมจากทางการก็มีน้อย การบริหารงานภายในบริษัทอาจหละหลวมหรือมีการทุจริตได้ง่าย นี่ก็เป็นความเสี่ยงด้านบริหารงานที่เพิ่มขึ้นมาจากเรื่องภาวะทางเศรษฐกิจ
ข้อสรุปสั้นๆ ของผมสำหรับหุ้นสองกลุ่มนี้ ก็คือ "เป็นธุรกิจที่ดีจนถึงวันที่มันเจ๊ง" หากจะลงทุนในหุ้นสองกลุ่มนี้ ก็คงต้องพิจารณาและติดตามว่า จะมีโอกาสเจ๊งไหม ทั้งจากเรื่องของภาวะเศรษฐกิจและเรื่องของตัวบริษัทในด้านของการบริหารงาน ภายใน และนำมาเทียบกับราคาหุ้นที่จะเป็นตัวกำหนดผลตอบแทนที่เราจะได้จากการลงทุน
หุ้นในกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ ความเสี่ยงอยู่ที่การเปิด "เสรี" ธุรกิจหลักทรัพย์ซึ่งจะทำให้บริษัทแต่ละแห่ง คิดค่าธรรมเนียมการซื้อขายหุ้นได้อย่างอิสระ นี่จะทำให้รายได้หลักของโบรกเกอร์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เพราะโบรกเกอร์บางแห่งที่มีลูกค้าและคำสั่งซื้อขายหุ้นน้อย เสนออัตราค่านายหน้าในอัตราที่ต่ำ เพื่อดึงดูดให้ลูกค้ามาซื้อขายหุ้นกับตนเอง เมื่อคู่แข่งถูก "ตัดราคา" ค่าบริการ เขาต้องเสนอราคาที่ต่ำลงเพื่อรักษาลูกค้า ผลก็คือ ราคาค่าบริการจะต่ำลงเรื่อยๆ จนอาจเข้าใกล้ศูนย์ในบางกรณี กำไรของบริษัทหลักทรัพย์ส่วนใหญ่ก็จะลดลง และไม่สามารถคาดได้ว่าจะเป็นเท่าไร นอกจากเรื่องของค่าคอมมิชชั่นแล้ว อาจจะมีบริษัทหลักทรัพย์ โดยเฉพาะจากต่างประเทศ ที่จะมาเปิดให้บริการเพิ่ม ซึ่งจะทำให้เกิดการแย่งส่วนแบ่งตลาดของโบรกเกอร์เดิมอีก นี่คือความเสี่ยงสำคัญที่คาดการณ์ได้ยากสำหรับหุ้นบริษัทหลักทรัพย์
หุ้นกลุ่มสุดท้าย คือหุ้นของบริษัทประกันภัยและประกันชีวิต หุ้นกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่คือการประกันภัยรถยนต์ ส่วนน้อยและมักจะเป็นเครือของแบงก์จะมีรับประกันภัยบ้าน และอสังหาริมทรัพย์อื่น เช่น อาคาร และโรงงานต่างๆ ด้านการประกันภัยรถยนต์ การแข่งขันสูงมาก ทำให้บริษัทส่วนใหญ่มีกำไรไม่ดีนัก บางปีก็ขาดทุน โดยพื้นฐานแล้ว ไม่ถือว่าเป็นกิจการที่ดีนัก ส่วนบริษัทประกันภัยที่เป็นเครือของธนาคาร มักได้เปรียบเพราะจะได้ลูกค้าที่ถูกส่งต่อมาจากแบงก์ที่ให้เงินกู้ และบังคับให้ลูกค้าทำประกันทรัพย์สินที่นำมาจำนอง ซึ่งมักเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่โอกาสในการเคลมต่ำ ผลก็คือ บริษัทเหล่านี้มักจะมีกำไรดีต่อเนื่อง หุ้นก็มักจะไม่ถูก
หุ้นบริษัทประกันชีวิตในตลาดมีน้อย แต่เป็นหุ้นที่คึกคักมากในช่วงเร็วๆ นี้สำหรับ VI หลายคน เหตุผลเพราะว่า ธุรกิจประกันชีวิตโดยเฉพาะช่วงนี้เติบโตค่อนข้างสูง การที่บริษัทเป็นบริษัทในเครือแบงก์ ทำให้ขยายธุรกิจไปได้ง่าย โดยทำผ่านพนักงานของแบงก์ที่เรียกว่า "แบงก์แอสชัวรันส์" นั่นคือ ให้พนักงานแบงก์เป็นคนช่วยขายให้กับลูกค้าที่มีเงิน การขายทำได้ง่าย เพราะมีข้อมูลของลูกค้าครบ ประกอบกับดอกเบี้ยเงินฝากที่ต่ำมาก ทำให้การชักชวนคนทำประกันชีวิตทำได้ง่าย เพราะผลตอบแทนจากกรมธรรม์ดีกว่าการฝากเงิน หุ้นประกันชีวิตมีความเสี่ยงอยู่บ้าง เพราะต้องเอาเงินเบี้ยประกันไปลงทุน แม้มักจะลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำเป็นส่วนใหญ่ แต่ความเสี่ยงก็ยังมีอยู่ เหนือสิ่งอื่นใดที่ทำให้ผมยังไม่ลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ คือ ราคาหุ้นไม่ถูกเลย โดยเฉพาะเมื่อดูจากค่า PB ของหุ้น
บทความนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ 28 มิถุนายน 2554
Subscribe to:
Posts (Atom)