ผมเองไม่ใช่ "คอบอล" ที่จะยอมอดหลับอดนอน เพื่อดูการแข่งขันนัดสำคัญอย่างฟุตบอลยูโรที่กำลังเล่นอยู่ระยะนี้
ผมคิดว่าเกมและกติกาเกี่ยวกับฟุตบอล สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการลงทุนในตลาดหุ้นได้ อย่างน้อยก็สองเรื่องดังต่อไปนี้
ข้อแรก คือ เรื่องการพนันบอล หรือ "แทงบอล"
กับเจ้ามือที่เป็นบริษัทรับพนันบอลชั้นนำที่อยู่ในต่างประเทศ
ผมไม่เคยเล่นพนันบอล แต่รู้ว่า เราสามารถเล่นพนันว่า
ทีมไหนจะชนะเลิศได้ถ้วยรางวัลหลังจากจบการแข่งขัน ในการพนัน แน่นอน
"เซียน" หรือคนที่ติดตามการแข่งขันฟุตบอลมาตลอด จะรู้ว่าทีมไหนที่เก่ง
หรือมีฝีเท้าดี และมีโอกาสที่จะได้แชมป์มากกว่าทีมอื่น
ดังนั้น โอกาสที่เขาจะทายถูกก็จะสูงกว่าคนที่ไม่รู้อะไรมากนักอย่างผม
ดังนั้น ถ้าเขาแทงทีมที่โดดเด่นสัก 3-4 ทีม โอกาสจะถูกก็คงมีสูงพอสมควร
เมื่อเทียบกับการที่ผมจะแทง เซียนบอลที่ว่า
อาจจะไม่ได้กำไรจากการเล่นพนันบอล เหตุผลเพราะการแทงบอล เขามี
"อัตราต่อรอง" สำหรับแต่ละทีมที่เข้าแข่งขัน อัตราต่อรองนี้
ทำให้การแทงทีมที่เราคิดว่าเป็นทีมที่เก่งกาจ เป็นเรื่องที่ไม่คุ้มค่าได้
ตัวอย่างเช่น ถ้าทีม A เป็นทีม "เต็งหนึ่ง" ที่คนในวงการบอลมองว่า
มีฝีเท้าดีเยี่ยม อัตราการต่อรองจะต่ำ เช่น ถ้าแทงว่าทีม A จะชนะด้วยเงิน 1
บาท และทีม A ชนะจริง เราอาจจะได้เงินรางวัลเพียง 2 บาท แต่ถ้าทีม B เป็น
ทีม "รองบ่อน" โอกาสชนะน้อย อัตราการต่อรองจะสูง เช่น แทง 1 บาท ถ้าทีม B
ชนะจริง เราอาจได้ถึง 10 บาท
ในการตั้งอัตราการต่อรอง ผมคิดว่าบริษัทรับพนันคงมี "ผู้เชี่ยวชาญ"
ในการตั้งที่จะทำให้บริษัทได้กำไรเมื่อจบการแข่งขัน แต่ผู้เชี่ยวชาญที่ว่า
นอกจากจะ มี "เซียนบอล" แล้ว ที่สำคัญยิ่งกว่า ก็คือ "นักคณิตศาสตร์"
ที่คอยคำนวณว่ามีใครแทงบอลทีมไหนเท่าไร
และบริษัทจะต้องจ่ายเท่าไรถ้าทีมนั้นชนะ
และบริษัทจะได้เงินเท่าไรจากคนที่แทงผิด ประเด็นสำคัญ คือ
เขาต้องทำให้รายได้จากคนที่แทงผิดสูงกว่ารางวัลที่ต้องจ่ายให้กับคนแทงถูก
แต่ถ้าไม่เป็นอย่างนั้น เขาจะไปปรับอัตราการต่อรองใหม่จนสุดท้ายแล้ว
ไม่ว่าทีมไหนจะได้ถ้วยรางวัล บริษัทจะกำไรเสมอ
หุ้นมีลักษณะคล้ายๆ กับการพนันบอลเหมือนกันใน แง่ "เซียนหุ้น"
อาจรู้ว่า บริษัทไหนดีเยี่ยม หรือมีกำไรเติบโตโดดเด่น แต่หุ้นมี
"อัตราต่อรอง" เช่นเดียวกัน นั่นคือ ถ้ากิจการดีเยี่ยม ราคาหุ้น อาจ "แพง"
มาก นั่นคือ ค่า PE อาจสูงกว่าปกติมาก จนทำให้ไม่คุ้มลงทุน
ราคาหุ้นที่แพง หรืออัตราการต่อรองที่ต่ำ
ในเรื่องหุ้นไม่มีใครมาเป็นผู้กำหนด แต่เกิดจากคนในตลาดหุ้นเองมาซื้อๆ ขายๆ
ทำให้ราคาเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ถ้าจะพูดอีกทางหนึ่ง คือ
อัตราการต่อรองของหุ้น กำหนดโดยคนที่เข้ามาเล่นหุ้นเองทุกคนในตลาด
และถ้าคนเหล่านี้ สามารถกำหนดอัตราการต่อรองได้ถูกต้อง นั่นคือ ถ้าบริษัทดี
ราคาหุ้นก็แพง หรือ PE สูง บริษัทไม่โดดเด่น ราคาหุ้นก็ถูก หรือ PE ต่ำ
โดยนัยนี้ การซื้อ หรือ "แทง" หุ้นตัวที่มีผลประกอบการดี
อาจไม่คุ้มค่าก็ได้
ข้อสรุปของทั้งเรื่องบอลและเรื่องหุ้น ก็คือ อย่าสักแต่ดูว่าทีม
หรือหุ้นจะเป็นทีม หรือหุ้นของบริษัทที่มีผลประกอบการโดดเด่นเท่านั้น
ต้องคิดถึงอัตราต่อรอง หรือราคาหุ้นด้วยว่าเป็นอย่างไร ถ้าไม่เหมาะสม เช่น
อัตราต่อรองต่ำ หรือราคาหุ้นแพงเกินไป ก็ไม่คุ้ม
และเราอาจขาดทุนได้ถ้าเข้าไปเล่น
ข้อที่สอง คือ กติกาการนับคะแนน ที่ตอบแทนให้กับผลการเล่น
เรื่องฟุตบอล ทีมที่แพ้จะได้ 0 คะแนน ทีมที่เสมอจะได้ 1 คะแนน
ขณะที่คนชนะจะได้ 3 คะแนน แปลว่าชนะ 1 ครั้งได้คะแนนเท่ากับเสมอ 3 ครั้ง
เป็นการบอกว่าการเสมอ มีประโยชน์น้อย คุณต้องพยายามเอาชนะให้ได้
เพื่อที่จะประสบความสำเร็จ เรื่องของหุ้น ผมคิดว่า ก็มีลักษณะคล้ายๆ กัน
คือ เราต้องพยายามเลือกบริษัทที่จะ "ชนะ" ซึ่งจะ ได้ "คะแนน" สูงกว่าบริษัท
ที่ "เสมอ" มาก และแน่นอน เราต้องหลีกเลี่ยงบริษัทที่จะ "แพ้"
ความหมายของการชนะ คือ บริษัทสามารถเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดขึ้นเรื่อยๆ
บริษัทมีความแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับคู่แข่ง
และบริษัทมีส่วนแบ่งมากที่สุด และทิ้งห่างอันดับสองมากขึ้นเรื่อยๆ
อนาคตของบริษัทสดใสขึ้นมากกว่าคู่แข่ง ส่วนบริษัทที่แพ้
ก็เป็นอะไรที่อยู่ตรงกันข้าม เมื่อเวลาผ่านไปนาน บริษัทที่แพ้อาจจะสูญหายไป
หรือหมดศักยภาพในการแข่งขันและอยู่ๆ ไปอย่างนั้นเอง
ประเด็นคือ บริษัท ที่ "เสมอ" นี่คือ บริษัทที่ไม่ชนะและก็ไม่แพ้
บริษัทสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ยอดเยี่ยมและ "ทรหด" ผลัดกันแพ้และชนะ
แต่ก็ไม่มีใครทิ้งห่างใคร ฝีมือและความสามารถในการแข่งขันพอๆ กันตลอดเวลา
ขนาดของกิจการก็ไม่ทิ้งห่างจนทำให้แข่งขันกันไม่ได้
ตัวอย่างที่พอจะมองเห็นได้ เช่น ธุรกิจ ธนาคารพาณิชย์ที่ธนาคารขนาดใหญ่
3-4 แห่ง สามารถแข่งขันกันได้ และมีขนาดใกล้เคียงกันมานานหลายสิบปี
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทสร้างบ้านขายที่มีการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งทาง
การตลาดสลับไปมาในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา และยังไม่รู้ว่าใครจะชนะจริงๆ
ในอนาคต เป็นต้น
บริษัท ที่ "ชนะ" ในทางธุรกิจ จะได้ผลตอบแทนมหาศาล จริงๆ
ผมคิดว่าอาจ มากกว่า "3 คะแนน" เมื่อเทียบกับบริษัท ที่ "เสมอ"
ความหมายของผม คือ ถ้าบริษัทชนะ
พวกเขามักจะมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงกว่าอันดับสองมาก อาจเป็นเท่าตัว
กำไรของบริษัทมักจะมากกว่าอันดับสองเกิน 2 เท่า
มูลค่าตลาดของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ จะสูงกว่าอันดับ 2 หลายเท่า ส่วน ผู้
"แพ้" มักจะแทบล้มหายตายจาก หรือไม่มีกำไร ประเด็น คือ บริษัท ที่ "เสมอ"
ซึ่งมักจะอยู่ในอุตสาหกรรมบางประเภท ส่วนใหญ่จะมีกำไรตามอัตภาพ
แต่ความเสี่ยงของการประกอบการจะสูง
เพราะการแข่งขันที่เข้มข้นที่เกิดตลอดเวลา ส่วนแบ่งทางการตลาดของบริษัท
แค่รักษาไว้ก็ยากแล้ว และจะใกล้เคียงกับคู่แข่ง มูลค่าตลาดของหุ้นในตลาด
ก็เพิ่มขึ้นช้าๆ และมีโอกาสปรับลงได้ตลอดเวลาขึ้นกับสถานการณ์ขณะนั้น การ
"เสมอ" ในทางธุรกิจ ก็เป็นได้แค่บริษัทที่ดี แต่ไม่ใช่ซูเปอร์สต็อก
นักลงทุนที่จะทำกำไรได้งดงาม ได้ผลตอบแทนที่ดีต่อเนื่องยาวนาน
ต้องพยายามหาให้ได้ก่อนคนอื่นว่า หุ้นตัวใด "กำลัง" จะชนะ เพราะนั่นคือ
ช่วงเวลาที่หุ้นกำลังจะเริ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ต้องรู้ว่าหุ้นตัวใดชนะแล้ว
แต่ ยัง "ชนะเพิ่มขึ้น" ซึ่งสัญญาณที่สำคัญ คือ
การที่ยอดขายและกำไรยังเติบโตแข็งแกร่ง พร้อมๆ
กับความได้เปรียบของการแข่งขันที่ยังเพิ่มขึ้นโดยที่ "ภัยคุกคาม"
ที่จริงจัง ยังมองไม่เห็น การลงทุนในหุ้น ที่ "เสมอ"
บางทีก็ไม่เลวนักถ้าราคาหุ้นต่ำ
อาจจะเนื่องจากสถานการณ์ชั่วคราวเช่นเรื่องภาวะตลาด หรือเศรษฐกิจที่ไม่ดี
หุ้นที่พึงละ เลี่ยง แม้ราคาจะต่ำมากคือ หุ้น ที่ "แพ้" เพราะระยะยาว
ยากที่จะทำกำไรให้กับเราได้
บทความนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ 26 มิถุนายน 2555
Friday, June 29, 2012
ศึกชิงเท้า
สิ่งที่ผมต้องทำในวันหยุดสุดสัปดาห์ ก็คือ อย่างน้อยหนึ่งวันผมต้องไป "จ่ายตลาด" เข้าซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ เพื่อหาอาหารมากิน ระหว่างสัปดาห์ต่อมา นอก
จากซื้ออาหารและของใช้ประจำวันแล้ว ผมจะถือโอกาสเดินดูและ "ชอปปิง" สิ่งที่
"ไม่จำเป็น" แต่ผมอยากได้ เช่น หนังสือดีๆ หรืออะไรต่างๆ
ที่ผมเผอิญพบในห้างสรรพสินค้า หรือมอลล์ทั้งหลาย ที่มีอยู่ทั่วกรุงเทพฯ
และปริมณฑล การ "เดินห้าง" เป็นส่วนหนึ่งของ "ชีวิต" ของผม
และผมเชื่อว่าจะเป็นชีวิตของคนในเมืองในไทยอีกไม่น้อย เหนือสิ่งอื่นใด
เมืองไทยเป็นเมืองร้อน
จะมีที่ไหนที่ดีไปกว่าห้างติดแอร์ในยามที่คุณต้องการพักผ่อนอย่างสบายในวัน
หยุด
ผมมีศูนย์การค้าประจำ ที่ผมมักจะไปใช้บริการบ่อย เพราะสะดวก อยู่ใกล้บ้าน และมี "ของครบ" ตามที่ผมต้องการ ผมมักจะไปเยี่ยมเยือน "มอลล์" แทบจะทุกแห่งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศเป็นครั้งคราว และแน่นอนว่า นอกจากจะเป็นเรื่องความบันเทิงแล้ว ผมจะถือเป็นโอกาส "วิเคราะห์หุ้น" เพื่อการลงทุนด้วย
เพราะผมคิดว่า ที่ที่คนไป และใช้จ่ายเงิน เป็นแหล่งสำคัญที่จะเรียนรู้ว่า ธุรกิจอะไรดีและธุรกิจอะไรจะแย่ เทรนด์การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคจะไปทางไหน นอกจากธุรกิจที่มีห้างร้านอยู่ในมอลล์แล้ว ธุรกิจสำคัญอีกธุรกิจหนึ่ง คือ ธุรกิจ "ศูนย์การค้า" และนี่คือ สิ่งที่ผมจะพูดถึงในวันนี้
ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมานี้ เรียกได้ว่าเป็นช่วง "บูม" ของศูนย์การค้า เหตุผลเพราะว่า เศรษฐกิจไทยเติบโตขึ้นมาจนถึงจุดที่คนจำนวนมาก มีรายได้มากพอที่จะเดินเข้าห้างร้านสมัยใหม่ และสังคมของเราคงก้าวมาถึงจุดที่การบริโภค กลายเป็นตัวนำการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ดังนั้น การเดินเข้าห้างของผู้คน จึงเพิ่มขึ้นในอัตราเร่ง ทำให้ห้างร้านเต็มไปด้วยผู้คน คนที่ทำธุรกิจศูนย์การค้าอยู่เดิม สามารถเพิ่มค่าเช่า และทำกำไรได้เป็นกอบเป็นกำ
ดังนั้น พวกเขาก็ขยายห้างไปยังทำเลอื่นๆ ซึ่งมักจะประสบความสำเร็จอย่างงดงาม แม้แต่ศูนย์ที่เคย "เจ๊ง" ไปแล้ว ก็ปรับเปลี่ยนรูปแบบร้านค้าย่อยและตัวสินค้าจน "กู้" ให้ศูนย์กลับมามีชีวิตชีวาและทำกำไรได้ใหม่ ธุรกิจห้าง จึงดูเหมือนว่าจะเป็นธุรกิจที่ดีมาก เป็นธุรกิจ "ดารา" ที่ทำเงินดี และเสี่ยง "ต่ำ" และนี่ทำให้มีผู้เล่นหน้าใหม่เข้าวงการกันมากมาย ห้างใหม่ๆ ที่เปิดขึ้นมา ทั้งๆ ที่ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน ก็ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน และดึงดูดห้างใหม่จากผู้เล่นรายเดิมและผู้เล่นรายใหม่เข้ามาอีก ศึก "ชิงเท้า" กำลังเกิดขึ้นแล้ว!
ไม่ว่าจะเป็นห้างประเภทไหน การเปิดขึ้นมาใหม่ ก็จำเป็นต้องหาคนมาเดิน-และซื้อสินค้าหรือบริการ คนที่เข้ามาใช้บริการหลักๆ คือ คนที่อาศัย หรือทำงานอยู่ในบริเวณนั้น และน่า จะมีสองกลุ่ม คือ กลุ่มแรก เป็นกลุ่มคนที่ยังไม่ใคร่เข้า หรือเดินห้างเพราะอยู่ห่างจากห้างสมัยใหม่ และรายได้ยังไม่สูงนัก และ กลุ่มที่สอง คือคนที่เดินห้างอื่นๆ อยู่แล้ว ในความคิดของผม คือ ลูกค้าหลักที่จะมาเดินห้างใหม่ คือ กลุ่มที่สอง
ประเด็นสำคัญ คือ จำนวนคน หรือเท้าของคนกลุ่มที่สอง ไม่น่าจะเดินห้างมากขึ้นนัก หรือเดินห้างเท่าเดิม ดังนั้น เขาก็จะลดการเดินในห้างเดิม เพื่อมาเดินห้างใหม่ ผลคือ ห้างเดิมน่าจะมีคนเดินน้อยลงจากการเปิดห้างใหม่
ภาพการแข่งขันของห้าง หรือศูนย์การค้า ไม่ใช่แค่ต้องเป็นศูนย์การค้าประเภทเดียวกันถึงจะแข่งขันกัน ห้างอะไรก็ตาม ที่ดึงดูดผู้บริโภคสมัยใหม่ให้มาใช้บริการ ผมคิดว่าแข่งขันกันหมด ตัวอย่างเช่น คอมมูนิตี้มอลล์ ก็ดึงดูดให้คนที่อยู่ใกล้ๆ มากินอาหาร หรือซื้อของเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งทำให้คนที่มาลดการไปศูนย์การค้าใหญ่ๆ ที่เป็นมอลล์ลง เช่นเดียวกัน เมกะมอลล์ ก็อาจดึงดูดคนที่ใช้บริการห้างในเมือง กรณีที่เขาต้องการซื้อสินค้าชิ้นใหญ่ หรือมากรายการในบางครั้ง ดังนั้นในสงคราม "ศึกชิงเท้า" นี้ จึงไม่น่าที่จะมีห้างที่ไม่ถูกกระทบ
ห้างที่มีฐานเดิมแน่นหนา น่าจะรักษา "เท้า" ของตนเองไว้ได้พอสมควร เพราะความสามารถและชื่อเสียงที่มีมานาน การที่จะเติบโต และทำกำไรได้เพิ่มขึ้นโดดเด่น อย่างที่เป็นก่อนสงครามจะเริ่ม ผมคิดว่าอาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย จริงอยู่ กำไรอาจเพิ่ม เพราะการขยายสาขาออกไปมาก แต่กำไรที่ได้มา เกิดขึ้นจากการที่ต้องลงทุนไปมาก ซึ่งทำให้เป็นกำไรที่มีคุณภาพไม่สูง แต่กำไรคุณภาพสูง ที่จะเพิ่มขึ้น เพราะเพิ่มราคาค่าเช่าพื้นที่ในห้าง อาจไม่ได้เป็นไปตามคาดหากจำนวน "เท้า" ของคนเข้าห้างไม่ได้เพิ่มขึ้น
ส่วนห้างใหม่ๆ ของผู้เล่นใหม่ๆ หรือผู้เล่นที่ไม่ได้เป็นผู้นำในธุรกิจ ผมคิดว่า อาจจะอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สดใสนัก โดยเฉพาะห้างที่ไม่ได้มีทำเล หรือมี "แม่เหล็ก" ที่โดดเด่นจริงๆ จริงอยู่ ในช่วงที่เปิดห้างใหม่ๆ เราอาจจะยังไม่เห็นปัญหาชัด เนื่องจากคนอาจจะยัง "เห่อ" กับห้างใหม่ ผู้เช่า บางทีอาจจะยังต้องประคองตัวในช่วงแรก แม้จะขายสินค้าไม่ได้ดี แต่เมื่อเวลาผ่านไป และพบว่าห้างไม่ใคร่ประสบความสำเร็จ นั่นจะเป็นเวลาที่เห็นว่าในศึก หรือสงครามครั้งนี้ ใครชนะและใครแพ้ แต่ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหนอาจจะเป็นไปได้ว่า เสียหายหรือเจ็บกันหมด
ปัญหาของธุรกิจศูนย์การค้า คือ เป็นธุรกิจที่ไม่มี Barrier to Entry นั่นคือ เป็นธุรกิจที่ทุกคนเข้ามาเล่นได้ เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่มีปัจจัยของความสำเร็จที่สำคัญที่สุด คือ ทำเล ทำเล และทำเล ซึ่งไม่มีใครยึดได้คนเดียว และคนจำนวนมากสามารถที่จะมีทำเล ที่ "สุดยอด" ได้ ดังนั้น คนจำนวนไม่น้อย จึงเข้ามาแข่งในธุรกิจได้ โดยเฉพาะคนที่มีที่ดินในทำเลที่ดี และเป็นคนที่มีเงินมากพอที่จะทำ ซึ่งบังเอิญมักเป็นคนเดียวกัน เพราะคนมีเงินมักจะเก็บที่ดินไว้เป็นสมบัติด้วย
เช่นเดียวกัน บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ประเภทที่ขายบ้านและคอนโดมิเนียมบางแห่ง เมื่อเห็นว่า ธุรกิจทำศูนย์การค้าทำกำไรได้งดงาม แถมเป็นรายได้สม่ำเสมอ ซึ่งจะทำให้หุ้นของบริษัทมีค่ามากขึ้น ก็เข้ามาทำธุรกิจศูนย์การค้าเป็นรายได้เสริมด้วย กลุ่มต่างๆ เหล่านี้ แม้จะไม่ใช่ "มืออาชีพ" จริงๆ ในธุรกิจทำศูนย์การค้าและไม่สามารถ "ทำลาย" ผู้นำในวงการได้ แต่บางช่วงบางตอนที่พวกเขาเข้ามามากๆ และรวดเร็วอย่างที่เกิดขึ้นช่วงนี้ จะทำให้ทุกคน "เหนื่อย" ได้เหมือนกัน
ตลาดของศูนย์การค้าที่พอจะยังเติบโต หรือยัง มี "เท้า" ของคนที่ยังไม่ได้เข้าห้างมากนัก คือ ตลาดในหัวเมืองในต่างจังหวัด ประเด็นชี้ขาด ก็คือ กำลังซื้อของคนในจังหวัดนั้นเพียงพอที่จะ "เข้าห้าง" มากน้อยแค่ไหน ประเด็น คือ ห้างต้องมีตำแหน่งทางการตลาดที่เหมาะสมกับรายได้ของผู้คนในท้องถิ่น มิฉะนั้น ศูนย์การค้า อาจจะไม่ประสบความสำเร็จ และทั้งหมด ก็คือ ภาพของธุรกิจศูนย์การค้าที่ดูเหมือนว่าจะดีและบูมมาก แต่ดูเหมือนว่า จะมีคนเข้ามาแข่งขันกันมากมายจนกำลังจะกลายเป็น "สงคราม" ที่ทุกคนเสียหายกันหมด
บทความนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ 19 มิถุนายน 2555
ผมมีศูนย์การค้าประจำ ที่ผมมักจะไปใช้บริการบ่อย เพราะสะดวก อยู่ใกล้บ้าน และมี "ของครบ" ตามที่ผมต้องการ ผมมักจะไปเยี่ยมเยือน "มอลล์" แทบจะทุกแห่งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศเป็นครั้งคราว และแน่นอนว่า นอกจากจะเป็นเรื่องความบันเทิงแล้ว ผมจะถือเป็นโอกาส "วิเคราะห์หุ้น" เพื่อการลงทุนด้วย
เพราะผมคิดว่า ที่ที่คนไป และใช้จ่ายเงิน เป็นแหล่งสำคัญที่จะเรียนรู้ว่า ธุรกิจอะไรดีและธุรกิจอะไรจะแย่ เทรนด์การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคจะไปทางไหน นอกจากธุรกิจที่มีห้างร้านอยู่ในมอลล์แล้ว ธุรกิจสำคัญอีกธุรกิจหนึ่ง คือ ธุรกิจ "ศูนย์การค้า" และนี่คือ สิ่งที่ผมจะพูดถึงในวันนี้
ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมานี้ เรียกได้ว่าเป็นช่วง "บูม" ของศูนย์การค้า เหตุผลเพราะว่า เศรษฐกิจไทยเติบโตขึ้นมาจนถึงจุดที่คนจำนวนมาก มีรายได้มากพอที่จะเดินเข้าห้างร้านสมัยใหม่ และสังคมของเราคงก้าวมาถึงจุดที่การบริโภค กลายเป็นตัวนำการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ดังนั้น การเดินเข้าห้างของผู้คน จึงเพิ่มขึ้นในอัตราเร่ง ทำให้ห้างร้านเต็มไปด้วยผู้คน คนที่ทำธุรกิจศูนย์การค้าอยู่เดิม สามารถเพิ่มค่าเช่า และทำกำไรได้เป็นกอบเป็นกำ
ดังนั้น พวกเขาก็ขยายห้างไปยังทำเลอื่นๆ ซึ่งมักจะประสบความสำเร็จอย่างงดงาม แม้แต่ศูนย์ที่เคย "เจ๊ง" ไปแล้ว ก็ปรับเปลี่ยนรูปแบบร้านค้าย่อยและตัวสินค้าจน "กู้" ให้ศูนย์กลับมามีชีวิตชีวาและทำกำไรได้ใหม่ ธุรกิจห้าง จึงดูเหมือนว่าจะเป็นธุรกิจที่ดีมาก เป็นธุรกิจ "ดารา" ที่ทำเงินดี และเสี่ยง "ต่ำ" และนี่ทำให้มีผู้เล่นหน้าใหม่เข้าวงการกันมากมาย ห้างใหม่ๆ ที่เปิดขึ้นมา ทั้งๆ ที่ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน ก็ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน และดึงดูดห้างใหม่จากผู้เล่นรายเดิมและผู้เล่นรายใหม่เข้ามาอีก ศึก "ชิงเท้า" กำลังเกิดขึ้นแล้ว!
ไม่ว่าจะเป็นห้างประเภทไหน การเปิดขึ้นมาใหม่ ก็จำเป็นต้องหาคนมาเดิน-และซื้อสินค้าหรือบริการ คนที่เข้ามาใช้บริการหลักๆ คือ คนที่อาศัย หรือทำงานอยู่ในบริเวณนั้น และน่า จะมีสองกลุ่ม คือ กลุ่มแรก เป็นกลุ่มคนที่ยังไม่ใคร่เข้า หรือเดินห้างเพราะอยู่ห่างจากห้างสมัยใหม่ และรายได้ยังไม่สูงนัก และ กลุ่มที่สอง คือคนที่เดินห้างอื่นๆ อยู่แล้ว ในความคิดของผม คือ ลูกค้าหลักที่จะมาเดินห้างใหม่ คือ กลุ่มที่สอง
ประเด็นสำคัญ คือ จำนวนคน หรือเท้าของคนกลุ่มที่สอง ไม่น่าจะเดินห้างมากขึ้นนัก หรือเดินห้างเท่าเดิม ดังนั้น เขาก็จะลดการเดินในห้างเดิม เพื่อมาเดินห้างใหม่ ผลคือ ห้างเดิมน่าจะมีคนเดินน้อยลงจากการเปิดห้างใหม่
ภาพการแข่งขันของห้าง หรือศูนย์การค้า ไม่ใช่แค่ต้องเป็นศูนย์การค้าประเภทเดียวกันถึงจะแข่งขันกัน ห้างอะไรก็ตาม ที่ดึงดูดผู้บริโภคสมัยใหม่ให้มาใช้บริการ ผมคิดว่าแข่งขันกันหมด ตัวอย่างเช่น คอมมูนิตี้มอลล์ ก็ดึงดูดให้คนที่อยู่ใกล้ๆ มากินอาหาร หรือซื้อของเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งทำให้คนที่มาลดการไปศูนย์การค้าใหญ่ๆ ที่เป็นมอลล์ลง เช่นเดียวกัน เมกะมอลล์ ก็อาจดึงดูดคนที่ใช้บริการห้างในเมือง กรณีที่เขาต้องการซื้อสินค้าชิ้นใหญ่ หรือมากรายการในบางครั้ง ดังนั้นในสงคราม "ศึกชิงเท้า" นี้ จึงไม่น่าที่จะมีห้างที่ไม่ถูกกระทบ
ห้างที่มีฐานเดิมแน่นหนา น่าจะรักษา "เท้า" ของตนเองไว้ได้พอสมควร เพราะความสามารถและชื่อเสียงที่มีมานาน การที่จะเติบโต และทำกำไรได้เพิ่มขึ้นโดดเด่น อย่างที่เป็นก่อนสงครามจะเริ่ม ผมคิดว่าอาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย จริงอยู่ กำไรอาจเพิ่ม เพราะการขยายสาขาออกไปมาก แต่กำไรที่ได้มา เกิดขึ้นจากการที่ต้องลงทุนไปมาก ซึ่งทำให้เป็นกำไรที่มีคุณภาพไม่สูง แต่กำไรคุณภาพสูง ที่จะเพิ่มขึ้น เพราะเพิ่มราคาค่าเช่าพื้นที่ในห้าง อาจไม่ได้เป็นไปตามคาดหากจำนวน "เท้า" ของคนเข้าห้างไม่ได้เพิ่มขึ้น
ส่วนห้างใหม่ๆ ของผู้เล่นใหม่ๆ หรือผู้เล่นที่ไม่ได้เป็นผู้นำในธุรกิจ ผมคิดว่า อาจจะอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สดใสนัก โดยเฉพาะห้างที่ไม่ได้มีทำเล หรือมี "แม่เหล็ก" ที่โดดเด่นจริงๆ จริงอยู่ ในช่วงที่เปิดห้างใหม่ๆ เราอาจจะยังไม่เห็นปัญหาชัด เนื่องจากคนอาจจะยัง "เห่อ" กับห้างใหม่ ผู้เช่า บางทีอาจจะยังต้องประคองตัวในช่วงแรก แม้จะขายสินค้าไม่ได้ดี แต่เมื่อเวลาผ่านไป และพบว่าห้างไม่ใคร่ประสบความสำเร็จ นั่นจะเป็นเวลาที่เห็นว่าในศึก หรือสงครามครั้งนี้ ใครชนะและใครแพ้ แต่ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหนอาจจะเป็นไปได้ว่า เสียหายหรือเจ็บกันหมด
ปัญหาของธุรกิจศูนย์การค้า คือ เป็นธุรกิจที่ไม่มี Barrier to Entry นั่นคือ เป็นธุรกิจที่ทุกคนเข้ามาเล่นได้ เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่มีปัจจัยของความสำเร็จที่สำคัญที่สุด คือ ทำเล ทำเล และทำเล ซึ่งไม่มีใครยึดได้คนเดียว และคนจำนวนมากสามารถที่จะมีทำเล ที่ "สุดยอด" ได้ ดังนั้น คนจำนวนไม่น้อย จึงเข้ามาแข่งในธุรกิจได้ โดยเฉพาะคนที่มีที่ดินในทำเลที่ดี และเป็นคนที่มีเงินมากพอที่จะทำ ซึ่งบังเอิญมักเป็นคนเดียวกัน เพราะคนมีเงินมักจะเก็บที่ดินไว้เป็นสมบัติด้วย
เช่นเดียวกัน บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ประเภทที่ขายบ้านและคอนโดมิเนียมบางแห่ง เมื่อเห็นว่า ธุรกิจทำศูนย์การค้าทำกำไรได้งดงาม แถมเป็นรายได้สม่ำเสมอ ซึ่งจะทำให้หุ้นของบริษัทมีค่ามากขึ้น ก็เข้ามาทำธุรกิจศูนย์การค้าเป็นรายได้เสริมด้วย กลุ่มต่างๆ เหล่านี้ แม้จะไม่ใช่ "มืออาชีพ" จริงๆ ในธุรกิจทำศูนย์การค้าและไม่สามารถ "ทำลาย" ผู้นำในวงการได้ แต่บางช่วงบางตอนที่พวกเขาเข้ามามากๆ และรวดเร็วอย่างที่เกิดขึ้นช่วงนี้ จะทำให้ทุกคน "เหนื่อย" ได้เหมือนกัน
ตลาดของศูนย์การค้าที่พอจะยังเติบโต หรือยัง มี "เท้า" ของคนที่ยังไม่ได้เข้าห้างมากนัก คือ ตลาดในหัวเมืองในต่างจังหวัด ประเด็นชี้ขาด ก็คือ กำลังซื้อของคนในจังหวัดนั้นเพียงพอที่จะ "เข้าห้าง" มากน้อยแค่ไหน ประเด็น คือ ห้างต้องมีตำแหน่งทางการตลาดที่เหมาะสมกับรายได้ของผู้คนในท้องถิ่น มิฉะนั้น ศูนย์การค้า อาจจะไม่ประสบความสำเร็จ และทั้งหมด ก็คือ ภาพของธุรกิจศูนย์การค้าที่ดูเหมือนว่าจะดีและบูมมาก แต่ดูเหมือนว่า จะมีคนเข้ามาแข่งขันกันมากมายจนกำลังจะกลายเป็น "สงคราม" ที่ทุกคนเสียหายกันหมด
บทความนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ 19 มิถุนายน 2555
ความสุข-และความทุกข์-ของการเล่นหุ้น
"เงิน 1 ดอลลาร์ ที่เก็บได้บนถนนนั้น ให้ความพึงพอใจแก่คุณมากกว่าเงิน 99 ดอลลาร์ ที่คุณได้จากการทำงาน และเงินที่คุณเล่นได้จากวงไพ่ หรือในตลาดหุ้น ก็สอดแทรกเข้าไปในหัวใจคุณในแบบเดียวกัน" นั่นคือ คำกล่าวของ มาร์ก ทเวน นักเขียนชื่อดังชาวอเมริกัน
ความสุขและความพึงพอใจจากเงินที่ได้จากการพนัน ซึ่งในสายตาของ มาร์ก ทเวน หรือคนทั่วไป รวมถึงการเล่นหุ้นนั้น ช่างมากมายเสียเหลือเกิน และนี่น่าจะเป็นเหตุผลที่คนจำนวนไม่น้อย ที่มีเงินพอสมควร และคนที่มีเงินมาก ต่างก็เข้ามาเล่นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เป็นนิจศีล
แต่ความพึงพอใจที่ "ได้เงิน" เท่านั้น หรือที่ทำให้คน "ติด" อยู่กับการเล่นหุ้น ทำไมคนจำนวนมากที่วนเวียนเล่นหุ้นมายาวนาน แต่โดยรวมแล้วก็ไม่ได้กำไร บางคนขาดทุนด้วยซ้ำ แต่พวกเขาเหล่านั้น ก็ไม่เลิกเล่น อะไรเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้คนอยากเล่นหุ้นจริงๆ นอกเหนือจากเรื่องเงินที่จะได้ คำตอบ ก็คือ "ความสุขและความพึงพอใจจากการเล่นหุ้น"
การศึกษาทางวิทยาศาสตร์เรื่องของ ความสุขและความพึงพอใจ ของคนเรา น่าจะอธิบายพฤติกรรมของคนที่ชอบ "เล่นหุ้น" ซึ่งในความหมายของผม คือ คนที่ชอบ "เก็งกำไร" นั่นคือ ซื้อๆ ขายๆ หุ้นในระยะเวลาอันสั้นได้ ลองมาดูกันว่าเป็นอย่างไร
การศึกษาเรื่องของความสุข หรือความเพลิดเพลิน หรือความพึงพอใจของคนเรา พบว่ามันเกิดขึ้นใน "สมอง" นั่นก็คือ เวลาที่เรามีความสุข ร่างกายของเราก็จะหลั่งสารบางอย่างไปจับกับตัวจับที่ต่อเข้ากับสมอง เราจะรู้สึก "ชอบ" และ "อยากทำ" อีก เพราะมัน "มีความสุข"
การดื่มน้ำ การกินอาหาร การมีเซ็กซ์ หรือการออกกำลังกาย เหล่านี้ ร่างกายก็จะ "ส่งสัญญาณ" ผ่านเคมีบางอย่างไปที่ตัวจับเพื่อบอกสมองว่า นี่คือ "ความสุข" และคุณจะอยากทำอีก นี่เป็นเรื่องจำเป็นทางชีววิทยา เพื่อความอยู่รอดของชีวิต และสายพันธุ์ของมนุษย์
ยาเสพติดเช่น กัญชา ฝิ่น เฮโรอีน บุหรี่ เหล่านี้ มีสารที่ก่อให้เกิด "ความสุข" สูงมาก และเมื่อคนเสพเข้าไปแล้ว ก็จะรู้สึกดีมาก บางครั้งคล้ายจะ "หลุดโลก" นักวิจัยคนหนึ่งเคยทดลองเสพเฮโรอีน เพื่อดูความรู้สึกว่าเกิดอะไรขึ้น เขาถึงกับบอกว่าเหมือนกับการ "ถึงจุดสุดยอดจากการมีเพศสัมพันธ์พันครั้ง" ซึ่งทำให้คนอยากเสพอีก ปัญหา ก็คือ เมื่อเสพไปเรื่อยๆ ความรู้สึกสุดยอดก็จะน้อยลงไปเรื่อยๆ เพราะตัวจับเคมีอาจจะ "ด้าน" ต้องใช้ยาเพิ่มขึ้นๆ จนถึงจุดหนึ่ง "ความสุข" จากการเสพ ก็แทบจะหมดไป ความ "ชอบ" ก็ไม่มีเหลือ เหลือแต่ "ความต้องการ" คือ ถ้าไม่ได้เสพก็จะ "ลงแดง" ถึงจุดนี้ ความ "หายนะ" ก็จะเกิดขึ้นทั้งทางร่างกายและจิตใจ บางคนต้องก่ออาชญากรรมเพื่อให้ได้เงินมาซื้อยา
กิจกรรมบางอย่างของคนเรา ก็ก่อให้เกิดความสุข หรือความพึงพอใจได้ไม่น้อยและบางครั้งและ/หรือบางคนก็ "ติด" ได้เช่นเดียวกัน เช่น การดื่มสุรา การดื่มกาแฟ การเล่นการพนัน เช่น ในบ่อนกาสิโน การเล่นพนันบอล การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ หรือแม้การออกกำลัง หรือการมีเซ็กซ์ ทั้งหมดนี้ พิสูจน์ได้จากการตรวจสอบสารเคมีในสมองของคนที่กำลังทำ ประเด็นสำคัญคือ คนที่ "ติด" ก็คือคนที่ร่างกายมีสารเคมี หรือตัวรับที่ผิดปกติจากคนธรรมดา ที่ทำให้พวกเขาต้องทำมากกว่าคนอื่น เพื่อที่จะมีความสุข หรือความพึงพอใจเท่ากัน ในกรณีต่างๆ เหล่านี้ ยกเว้นสุราแล้ว คนจำนวนไม่น้อยก็สามารถ "เลิก" ได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องใช้ยา หรือปรึกษาแพทย์ พูดถึงเรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึง ไทเกอร์ วู้ดส์ นักกอล์ฟชื่อก้องโลกที่เคยบอกว่าเขาเป็นโรค "ติดเซ็กซ์" และต้องได้รับการบำบัด ทำให้ผมนึกต่อไปว่า คนที่ "ติด" ในเรื่องเหล่านี้ นอกจากเป็นเรื่องของร่างกายแล้ว ต้องอาศัย "สภาวะแวดล้อม" ที่ว่า คุณสามารถเข้าถึงมันได้ง่าย หรืออยู่ใกล้ตัวคุณมาก คุณมีกำลังซื้อพอ และไม่ผิดกฎหมาย ต่างๆ เหล่านี้เป็นต้น
การศึกษาที่น่าสนใจมากอีกเรื่องหนึ่ง คือ "ผลตอบแทน" นั่นคือ การทำอะไรก็ตาม โดย "ธรรมชาติ" มนุษย์น่าจะทำเพื่อให้ได้ผลตอบแทนต่อร่างกายและสืบเผ่าพันธุ์ แต่การทดลองพบว่า ความสุข หรือความพึงพอใจนั้นเกิดขึ้นได้ แม้จะไม่มีผลตอบแทนอะไรมา "ล่อ" พูดง่ายๆ สมองมีการเปลี่ยนแปลงแบบเดียวกันเวลาที่เราทำบางสิ่งบางอย่างทั้งๆ ที่ไม่ได้มีผลตอบแทนอะไรเลยเช่น การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ การทดลองยังพบว่า คนเรานั้น ชอบ "ลุ้น" นั่นก็คือ เราชอบเล่นกับความไม่แน่นอน โดยเฉพาะถ้าเรามีส่วนจะก่อให้เกิดผลตามที่เราต้องการ ตัวอย่างง่ายๆ คือ ความสุข หรือความพึงพอใจที่จะเล่นหวย หรือลอตเตอรี่ จะเพิ่มขึ้นถ้าเรามีสิทธิเลือกเบอร์ที่จะแทง และเรื่องผลลัพธ์ก็มีส่วนต่อความสุข หรือความพึงพอใจที่เกิดขึ้น
ถ้าผลลัพธ์ออกมาถูกต้อง แน่นอน เราจะมีความสุขมากและอยากเล่นอีก ถ้าผลลัพธ์ "ห่างไกล" ความพึงพอใจก็น้อย แต่ถ้าผลลัพธ์ใกล้เคียงกับตัวที่เราเลือก ซึ่งเราเสียเงินเท่ากัน แต่ผลทางสมองจะแตกต่างกัน เคมีที่เกิดขึ้นนั้น ผมคิดว่าคงไม่ใช่ตัวเดียวกับเคมีความสุขแต่ก็ใกล้กันมาก และทำให้เรา "อยากแทงอีก" พูดภาษาชาวบ้านผมคิดว่า น่าจะเป็นเรื่องความรู้สึก "เจ็บใจ" และเราอยาก "เอาคืน"
และนั่นทำให้ผมนึกถึงเรื่องการเล่นหุ้น ซึ่งผมคิดว่า เข้าข่ายก่อให้เกิดความสุข หรือความพึงพอใจให้แก่คนเล่นไม่น้อย ข้อแรก คือ เป็นเกมที่มีความไม่แน่นอนสูง ข้อสอง มีผลตอบแทนที่เป็นเงิน "เดิมพัน" ข้อสาม คนเล่นสามารถเลือกหุ้น หรือมีส่วนกำหนดผลลัพธ์ที่จะออกมาได้ในระดับหนึ่ง ที่ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับเกมอื่นๆ ข้อสี่ ผลลัพธ์ที่ออกมา คือ กำไร หรือขาดทุนในหุ้นแต่ละตัว หรือแต่ละครั้ง หรือแต่ละช่วงเวลานั้น จะเป็นเรื่องการผิดพลาดที่ "ใกล้เคียง" กับที่ "แทง" ไว้ ความหมาย คือ ในยามปกติ นักเล่นหุ้นจะมีได้มีเสียในบางตัว ผลตอบแทนมักจะกลับไปมาตามภาวะของตลาดหุ้น เวลาของการ "ลุ้น" มีอยู่ตลอดเวลา ไม่ใคร่ที่จะมีช่วงเวลาที่เล่นหุ้นแล้วเสียทุกตัว และพอร์ตมีแต่ลดลงต่อเนื่องยาวนาน ยกเว้นในช่วงวิกฤติครั้งใหญ่ ดังนั้น คนเล่นหุ้น แม้จะขาดทุน ก็ยังอยากกลับมาเล่นใหม่อีกเสมอๆ เพราะเขาคง "เจ็บใจ" และอยาก "เอาคืน"
ความสุขที่เกิดจากการ "เล่นหุ้น" ดังที่กล่าวนั้น น่าเสียดายที่ในระยะยาวแล้ว คนเล่นมักจะขาดทุน เพราะคนส่วนใหญ่ ไม่มีความรู้ หรือความสามารถ ที่จะควบคุมผลลัพธ์ที่จะออกมาได้จริง เขาเพียงคิดว่าเขารู้เขาคุมได้ ดังนั้น ในระยะยาว เขาจะต้องเสียค่าคอมมิชชั่น ในการซื้อขายและขาดทุนในส่วนต่างของราคาซื้อและราคาขาย นั่นคือ เวลาซื้อเขาจะต้องซื้อแพงขึ้นเล็กน้อย และเวลาขาย เขาจะขายได้ถูกลงเล็กน้อย แต่ผลจากการซื้อๆ ขายๆ จำนวนมาก เขาจะขาดทุน และนี่คือ ความทุกข์ของการ "เล่นหุ้น" หนทางหลีกเลี่ยง "กับดัก" นี้ คือ เราต้องเปลี่ยนการเล่นหุ้นเป็น "การลงทุน" ซึ่งจะต้องใช้แนวความคิดอีกชุดหนึ่งของความสุข และความพึงพอใจของคนเรา
บทความนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ 12 มิถุนายน 2555
ความสุขและความพึงพอใจจากเงินที่ได้จากการพนัน ซึ่งในสายตาของ มาร์ก ทเวน หรือคนทั่วไป รวมถึงการเล่นหุ้นนั้น ช่างมากมายเสียเหลือเกิน และนี่น่าจะเป็นเหตุผลที่คนจำนวนไม่น้อย ที่มีเงินพอสมควร และคนที่มีเงินมาก ต่างก็เข้ามาเล่นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เป็นนิจศีล
แต่ความพึงพอใจที่ "ได้เงิน" เท่านั้น หรือที่ทำให้คน "ติด" อยู่กับการเล่นหุ้น ทำไมคนจำนวนมากที่วนเวียนเล่นหุ้นมายาวนาน แต่โดยรวมแล้วก็ไม่ได้กำไร บางคนขาดทุนด้วยซ้ำ แต่พวกเขาเหล่านั้น ก็ไม่เลิกเล่น อะไรเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้คนอยากเล่นหุ้นจริงๆ นอกเหนือจากเรื่องเงินที่จะได้ คำตอบ ก็คือ "ความสุขและความพึงพอใจจากการเล่นหุ้น"
การศึกษาทางวิทยาศาสตร์เรื่องของ ความสุขและความพึงพอใจ ของคนเรา น่าจะอธิบายพฤติกรรมของคนที่ชอบ "เล่นหุ้น" ซึ่งในความหมายของผม คือ คนที่ชอบ "เก็งกำไร" นั่นคือ ซื้อๆ ขายๆ หุ้นในระยะเวลาอันสั้นได้ ลองมาดูกันว่าเป็นอย่างไร
การศึกษาเรื่องของความสุข หรือความเพลิดเพลิน หรือความพึงพอใจของคนเรา พบว่ามันเกิดขึ้นใน "สมอง" นั่นก็คือ เวลาที่เรามีความสุข ร่างกายของเราก็จะหลั่งสารบางอย่างไปจับกับตัวจับที่ต่อเข้ากับสมอง เราจะรู้สึก "ชอบ" และ "อยากทำ" อีก เพราะมัน "มีความสุข"
การดื่มน้ำ การกินอาหาร การมีเซ็กซ์ หรือการออกกำลังกาย เหล่านี้ ร่างกายก็จะ "ส่งสัญญาณ" ผ่านเคมีบางอย่างไปที่ตัวจับเพื่อบอกสมองว่า นี่คือ "ความสุข" และคุณจะอยากทำอีก นี่เป็นเรื่องจำเป็นทางชีววิทยา เพื่อความอยู่รอดของชีวิต และสายพันธุ์ของมนุษย์
ยาเสพติดเช่น กัญชา ฝิ่น เฮโรอีน บุหรี่ เหล่านี้ มีสารที่ก่อให้เกิด "ความสุข" สูงมาก และเมื่อคนเสพเข้าไปแล้ว ก็จะรู้สึกดีมาก บางครั้งคล้ายจะ "หลุดโลก" นักวิจัยคนหนึ่งเคยทดลองเสพเฮโรอีน เพื่อดูความรู้สึกว่าเกิดอะไรขึ้น เขาถึงกับบอกว่าเหมือนกับการ "ถึงจุดสุดยอดจากการมีเพศสัมพันธ์พันครั้ง" ซึ่งทำให้คนอยากเสพอีก ปัญหา ก็คือ เมื่อเสพไปเรื่อยๆ ความรู้สึกสุดยอดก็จะน้อยลงไปเรื่อยๆ เพราะตัวจับเคมีอาจจะ "ด้าน" ต้องใช้ยาเพิ่มขึ้นๆ จนถึงจุดหนึ่ง "ความสุข" จากการเสพ ก็แทบจะหมดไป ความ "ชอบ" ก็ไม่มีเหลือ เหลือแต่ "ความต้องการ" คือ ถ้าไม่ได้เสพก็จะ "ลงแดง" ถึงจุดนี้ ความ "หายนะ" ก็จะเกิดขึ้นทั้งทางร่างกายและจิตใจ บางคนต้องก่ออาชญากรรมเพื่อให้ได้เงินมาซื้อยา
กิจกรรมบางอย่างของคนเรา ก็ก่อให้เกิดความสุข หรือความพึงพอใจได้ไม่น้อยและบางครั้งและ/หรือบางคนก็ "ติด" ได้เช่นเดียวกัน เช่น การดื่มสุรา การดื่มกาแฟ การเล่นการพนัน เช่น ในบ่อนกาสิโน การเล่นพนันบอล การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ หรือแม้การออกกำลัง หรือการมีเซ็กซ์ ทั้งหมดนี้ พิสูจน์ได้จากการตรวจสอบสารเคมีในสมองของคนที่กำลังทำ ประเด็นสำคัญคือ คนที่ "ติด" ก็คือคนที่ร่างกายมีสารเคมี หรือตัวรับที่ผิดปกติจากคนธรรมดา ที่ทำให้พวกเขาต้องทำมากกว่าคนอื่น เพื่อที่จะมีความสุข หรือความพึงพอใจเท่ากัน ในกรณีต่างๆ เหล่านี้ ยกเว้นสุราแล้ว คนจำนวนไม่น้อยก็สามารถ "เลิก" ได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องใช้ยา หรือปรึกษาแพทย์ พูดถึงเรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึง ไทเกอร์ วู้ดส์ นักกอล์ฟชื่อก้องโลกที่เคยบอกว่าเขาเป็นโรค "ติดเซ็กซ์" และต้องได้รับการบำบัด ทำให้ผมนึกต่อไปว่า คนที่ "ติด" ในเรื่องเหล่านี้ นอกจากเป็นเรื่องของร่างกายแล้ว ต้องอาศัย "สภาวะแวดล้อม" ที่ว่า คุณสามารถเข้าถึงมันได้ง่าย หรืออยู่ใกล้ตัวคุณมาก คุณมีกำลังซื้อพอ และไม่ผิดกฎหมาย ต่างๆ เหล่านี้เป็นต้น
การศึกษาที่น่าสนใจมากอีกเรื่องหนึ่ง คือ "ผลตอบแทน" นั่นคือ การทำอะไรก็ตาม โดย "ธรรมชาติ" มนุษย์น่าจะทำเพื่อให้ได้ผลตอบแทนต่อร่างกายและสืบเผ่าพันธุ์ แต่การทดลองพบว่า ความสุข หรือความพึงพอใจนั้นเกิดขึ้นได้ แม้จะไม่มีผลตอบแทนอะไรมา "ล่อ" พูดง่ายๆ สมองมีการเปลี่ยนแปลงแบบเดียวกันเวลาที่เราทำบางสิ่งบางอย่างทั้งๆ ที่ไม่ได้มีผลตอบแทนอะไรเลยเช่น การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ การทดลองยังพบว่า คนเรานั้น ชอบ "ลุ้น" นั่นก็คือ เราชอบเล่นกับความไม่แน่นอน โดยเฉพาะถ้าเรามีส่วนจะก่อให้เกิดผลตามที่เราต้องการ ตัวอย่างง่ายๆ คือ ความสุข หรือความพึงพอใจที่จะเล่นหวย หรือลอตเตอรี่ จะเพิ่มขึ้นถ้าเรามีสิทธิเลือกเบอร์ที่จะแทง และเรื่องผลลัพธ์ก็มีส่วนต่อความสุข หรือความพึงพอใจที่เกิดขึ้น
ถ้าผลลัพธ์ออกมาถูกต้อง แน่นอน เราจะมีความสุขมากและอยากเล่นอีก ถ้าผลลัพธ์ "ห่างไกล" ความพึงพอใจก็น้อย แต่ถ้าผลลัพธ์ใกล้เคียงกับตัวที่เราเลือก ซึ่งเราเสียเงินเท่ากัน แต่ผลทางสมองจะแตกต่างกัน เคมีที่เกิดขึ้นนั้น ผมคิดว่าคงไม่ใช่ตัวเดียวกับเคมีความสุขแต่ก็ใกล้กันมาก และทำให้เรา "อยากแทงอีก" พูดภาษาชาวบ้านผมคิดว่า น่าจะเป็นเรื่องความรู้สึก "เจ็บใจ" และเราอยาก "เอาคืน"
และนั่นทำให้ผมนึกถึงเรื่องการเล่นหุ้น ซึ่งผมคิดว่า เข้าข่ายก่อให้เกิดความสุข หรือความพึงพอใจให้แก่คนเล่นไม่น้อย ข้อแรก คือ เป็นเกมที่มีความไม่แน่นอนสูง ข้อสอง มีผลตอบแทนที่เป็นเงิน "เดิมพัน" ข้อสาม คนเล่นสามารถเลือกหุ้น หรือมีส่วนกำหนดผลลัพธ์ที่จะออกมาได้ในระดับหนึ่ง ที่ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับเกมอื่นๆ ข้อสี่ ผลลัพธ์ที่ออกมา คือ กำไร หรือขาดทุนในหุ้นแต่ละตัว หรือแต่ละครั้ง หรือแต่ละช่วงเวลานั้น จะเป็นเรื่องการผิดพลาดที่ "ใกล้เคียง" กับที่ "แทง" ไว้ ความหมาย คือ ในยามปกติ นักเล่นหุ้นจะมีได้มีเสียในบางตัว ผลตอบแทนมักจะกลับไปมาตามภาวะของตลาดหุ้น เวลาของการ "ลุ้น" มีอยู่ตลอดเวลา ไม่ใคร่ที่จะมีช่วงเวลาที่เล่นหุ้นแล้วเสียทุกตัว และพอร์ตมีแต่ลดลงต่อเนื่องยาวนาน ยกเว้นในช่วงวิกฤติครั้งใหญ่ ดังนั้น คนเล่นหุ้น แม้จะขาดทุน ก็ยังอยากกลับมาเล่นใหม่อีกเสมอๆ เพราะเขาคง "เจ็บใจ" และอยาก "เอาคืน"
ความสุขที่เกิดจากการ "เล่นหุ้น" ดังที่กล่าวนั้น น่าเสียดายที่ในระยะยาวแล้ว คนเล่นมักจะขาดทุน เพราะคนส่วนใหญ่ ไม่มีความรู้ หรือความสามารถ ที่จะควบคุมผลลัพธ์ที่จะออกมาได้จริง เขาเพียงคิดว่าเขารู้เขาคุมได้ ดังนั้น ในระยะยาว เขาจะต้องเสียค่าคอมมิชชั่น ในการซื้อขายและขาดทุนในส่วนต่างของราคาซื้อและราคาขาย นั่นคือ เวลาซื้อเขาจะต้องซื้อแพงขึ้นเล็กน้อย และเวลาขาย เขาจะขายได้ถูกลงเล็กน้อย แต่ผลจากการซื้อๆ ขายๆ จำนวนมาก เขาจะขาดทุน และนี่คือ ความทุกข์ของการ "เล่นหุ้น" หนทางหลีกเลี่ยง "กับดัก" นี้ คือ เราต้องเปลี่ยนการเล่นหุ้นเป็น "การลงทุน" ซึ่งจะต้องใช้แนวความคิดอีกชุดหนึ่งของความสุข และความพึงพอใจของคนเรา
บทความนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ 12 มิถุนายน 2555
กฎของชีวิต-กฎของการลงทุน
ผมได้อ่านหนังสือเรื่อง “กฎของชีวิต” (The Rules of Life) เขียนโดย Richard Templar แล้วก็นึกไปถึงเรื่องของการลงทุน
เพราะกฎหลาย ๆ ข้อนั้น ผมคิดว่ามันนำมาประยุกต์ใช้กับการลงทุนได้เป็นอย่างดี ลองมาดูกันทีละข้อ
ข้อแรกที่ผมคิดว่านักลงทุนควรนำมาใช้ก็คือ “รู้ว่าอะไรสำคัญและอะไรไม่สำคัญ” ผมคงไม่พูดในเรื่องอื่น ๆ ของชีวิต แต่ในเรื่องของการลงทุนแล้ว นี่คือสิ่งที่จะทำให้เราชนะหรือแพ้ได้ ยกตัวอย่างเช่น เราคิดว่าการอยู่รอดของเศรษฐกิจกรีซนั้นสำคัญต่อการทำกำไรหรือผลประกอบการ ระยะยาวของบริษัทหรือหุ้นที่เราลงทุนอยู่ไหม? ถ้าเราคิดว่าไม่ ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องไปกังวลว่ากรีซจะแก้ปัญหาของตนเองได้หรือไม่ ในความเป็นจริง สิ่งที่สำคัญในเรื่องของการลงทุน ก็เช่นเดียวกับในเรื่องของชีวิต คือมันมีอยู่ไม่มาก และเราก็ควรจะต้องรู้ อย่าสนใจหรือทุ่มเทกับสิ่งที่ไม่สำคัญมากนัก
ข้อสอง “ถ้าคุณจะกระโดดลงคลอง ก็ขอให้แน่ใจว่าคุณรู้ว่าน้ำนั้นลึกเท่าไร” นี่ก็เป็นเรื่องของการรู้ว่าความเสี่ยงของชีวิตและในกรณีของเราก็คือ การลงทุน เป็นอย่างไร ตัวอย่างเช่น ถ้าเราซื้อหุ้นตัวเดียวด้วยเงินทั้งหมดและใช้มาร์จินด้วยโดยที่เราคิดว่า หุ้นตัวนั้นดีเยี่ยมและถูกมากและมันจะทำให้เรารวยไปเลย เราก็อาจจะพลาดและเกิดหายนะได้ ดังนั้น ในการลงทุนทุกครั้งและตลอดเวลา เราจะต้องรู้ว่า “น้ำนั้น ลึกแค่ไหน” ประเด็นก็คือ เราจะเสี่ยงอะไรก็ตาม ตรวจสอบและวิเคราะห์ให้ถี่ถ้วนที่สุด ดูว่าถ้าพลาดร้ายแรง เราจะยังอยู่รอดได้และไม่เสียหายมากเกินไป
ข้อสาม ซึ่งผมจะรวมกฎสามข้อเข้าด้วยกันก็คือ “มีระบบความเชื่อของตนเอง” “มีความมั่นคงและยึดมั่นในสิ่งที่ทำ” และ “มีศรัทธาต่อสิ่งนั้น” นี่คือกฎที่จะทำให้เราไม่วอกแวก และความคิดและการกระทำของเราจะเป็นระบบที่ถูกต้องและสอดคล้องกันในระยะยาว แต่สิ่งที่ผมอยากจะกล่าวเพิ่มเติมก็คือ ระบบความเชื่อของเรานั้นจะต้องเป็นระบบที่ถูกต้องที่มีการพิสูจน์มาช้านาน ตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีความเชื่อว่าการลงทุนในหุ้นนั้น ก็คือการเป็นเจ้าของส่วนหนึ่งของธุรกิจ วิธีที่จะชนะในระยะยาวก็คือ การถือหุ้นหรือบริษัทที่ดีเยี่ยมในราคาที่ยุติธรรมให้ยาวที่สุด เราก็จะต้องเชื่อและทำแบบนั้น อย่ากลับไปกลับมาโดยการขายไปอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดสถานการณ์บางอย่างที่เรา อาจจะกลัวเกินเหตุหรือคิดว่าราคาหุ้นอาจจะสูงเกินไปแล้วชั่วคราว
บางคนอาจจะสงสัยว่า “ระบบที่ถูกต้อง” ที่ผมพูดถึงในข้อสามนั้น มีเพียงระบบเดียวหรือ? และใครจะเป็นคนบอกว่าระบบความคิดไหนเป็นระบบที่ดีและถูกต้องที่สุด คำตอบของผมก็คือ คงไม่มีใครบอกได้ มีระบบมากมายที่มีคนคิดและเสนอขึ้นมา เราเองจะต้องเป็นคนเลือกที่จะเชื่อ บางคนอาจจะบอกว่าวิธีการลงทุนที่จะได้ผลตอบแทนสูงที่สุดก็คือการซื้อหุ้นใน ยามที่มันมีราคาถูกและขายเมื่อมันมีราคายุติธรรมหรือแพงแล้ว การคิดถึงหุ้นเราไม่ควรคิดว่าเราเป็นเจ้าของธุรกิจเพราะเราไม่ได้มีอำนาจ อะไรเลยในการควบคุมกิจการ นี่ก็เป็นระบบความเชื่ออีกแบบหนึ่งซึ่งผมก็บอกไม่ได้ว่าดีกว่าแบบแรกหรือ ไม่ บางทีมันอาจจะดีกว่าในบางตลาดหุ้นและแย่กว่าในบางแห่ง ประเด็นของผมก็คือ ถ้าคุณเชื่อแบบไหน คุณก็ควรจะทำแบบสม่ำเสมอและสอดคล้องกันทุกอย่าง- ด้วยความศรัทธา อย่างเริ่มต้นซื้อหุ้นด้วยความคิดหนึ่งแต่ขายหุ้นด้วยความคิดอีกชุดหนึ่ง ซึ่งอยู่ตรงกันข้าม
ข้อสี่ “อยู่ข้างเทพ อย่าอยู่ข้างมาร” นี่ก็เป็นกฎที่น่าจะมีคำถามตามมาว่า ข้างไหนคือเทพและข้างไหนคือมาร? คำตอบก็คือ เราก็ต้องเป็นคนที่คิดและเลือก ว่าที่จริง คงไม่มีใครเลือกที่จะเป็นมารหรืออยู่ข้างมาร เขาคิดว่าฝั่งที่เขาเลือกคือเทพ สำหรับผมแล้ว ผมคิดว่านักลงทุนนั้นจะต้องเลือกข้าง “ผู้ชนะ” ซึ่งก็คือ ข้างเทพ เพราะผู้ชนะนั้นจะเป็นคน “เขียนประวัติศาสตร์” และแน่นอน เขาจะต้องเขียนว่าเขาเป็นฝ่ายเทพ ความหมายของผมก็คือ ในการลงทุน เราควรเลือกบริษัทที่อยู่ในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่อยู่ในช่วงของการเติบโต เป็นธุรกิจที่กำลังมี “กระแส” หรือมี “ลมพัดมาทางข้างหลัง” เป็นอุตสาหกรรม “เทพ” นอกจากนั้น เราควรเลือกบริษัทที่กำลังเป็น “ผู้ชนะ” เป็นบริษัท “เทพ” วิธีที่เราจะเลือกได้ถูกต้องนั้น นอกจากการวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง ซึ่งบ่อยครั้งจะต้องมองไปถึง “กระแสระดับโลก” ที่อาจจะมาก่อนแล้ว เรายังต้องพยายามตัดอคติและความรู้สึกส่วนตัวที่มีออกให้มากที่สุด เพราะนั่นมักทำให้เรามีความลำเอียงจนทำให้วิเคราะห์ผิดไปได้
ข้อห้า “คุณจะไม่มีวันเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างได้” ว่าที่จริงผมคิดว่าคนเราอาจจะเข้าใจอย่างลึกซึ้งเฉพาะในบางเรื่องเท่านั้น เรื่องส่วนใหญ่นั้นเราไม่ค่อยจะเข้าใจหรอกแต่เราอาจจะคิดว่าเราเข้าใจ กฎข้อนี้เพื่อที่จะเตือนใจเราให้รู้ว่ายังมีเรื่องที่เราไม่เข้าใจอีกมาก และถ้าเราไม่เข้าใจแต่เราตัดสินใจลงทุน เราก็อาจจะพบกับความผิดหวังได้ง่าย ๆ วิธีการของผมก็คือ ถ้าเรายังไม่ค่อยจะเข้าใจหุ้นตัวไหน ก็อย่าไปลงทุนหรืออย่าลงทุนมาก ถ้าเราลงทุนก็จะต้องรู้ว่ามันคือการ “เก็งกำไร” และโอกาสเสียก็มีไม่น้อย โดยส่วนตัวผมแล้ว ผมจะพยายามทำความเข้าใจในเรื่องของโลกในวงกว้าง ทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วิทยาศาสตร์ ปรัชญา และอื่น ๆ อีกร้อยแปด ผมพยายามที่จะเข้าใจ “ภาพใหญ่” ของสิ่งเหล่านี้ ในขณะที่ถ้าเป็นเรื่องที่ผมสนใจเป็นพิเศษ เช่น การลงทุน ผมก็จะพยายามศึกษาให้มากเพื่อที่จะได้ “รู้จริง” โชคดีที่ว่า ในการลงทุนนั้น การมีความรู้ในเรื่องของโลกอย่างกว้าง สามารถที่จะช่วยทำให้การลงทุนดีขึ้นมาก
ข้อหก “รักษาคุณธรรมและจริยธรรมให้สูงเข้าไว้” นี่คือสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับชีวิตเช่นเดียวกับการลงทุน เป็นเรื่องธรรมชาติที่สิ่งมีชีวิตซึ่งรวมถึงคนจะต้องดิ้นรนเพื่อเอาตัวรอด บางครั้งก็เกิดการ “แย่งชิง” ทรัพยากรกัน การที่เราจะมีชีวิตที่ดีได้ เราต้องยึดถือคุณธรรมและจริยธรรมที่ดีตลอดเวลาเพราะนี่คือ “กติกา” ที่คนส่วนใหญ่ยอมรับและยกย่อง ถ้าเราทำผิดเราจะไม่ได้รับความเชื่อถือไปนานหรือตลอดไป และนั่นจะทำให้ชีวิตในอนาคตของเราตกต่ำลงและยากที่จะแก้ไขได้ ในเรื่องของการลงทุนนั้น ก็เช่นเดียวกัน อย่าใช้วิธีการที่ไม่มีคุณธรรมในการลงทุนหรือเล่นหุ้นแม้ว่ามันจะทำให้เรา ได้กำไรเร็วและมาก อะไรคือคุณธรรมในการลงทุนนี่ก็เป็นประเด็นอยู่เหมือนกัน แน่นอน การทำผิดกฎหมายไม่ว่าจะถูกจับได้หรือไม่ก็ต้องถือว่าไม่มีคุณธรรมแน่นอน แต่การกระทำอย่างอื่นที่ทำให้นักลงทุนคนอื่นเสียหายโดยที่เราได้ประโยชน์ ตัวอย่างเช่น เราแนะนำให้เขาซื้อหุ้นตัวหนึ่งแต่ในเวลาเดียวกันเราขาย แล้วหลังจากนั้นราคาหุ้นก็ตกต่ำลงมามากเนื่องจากข้อมูลที่เรารู้อยู่ก่อน แล้ว แบบนี้ก็อาจจะถือว่าเราไม่ได้มีคุณธรรมที่สูงพอ แม้จะยอมรับกันว่า ในเรื่องของการลงทุน ทุกคนต้องรับผิดชอบกับการกระทำของตนเอง
สุดท้าย สำหรับคนที่ประสบความสำเร็จจากการลงทุนจนทำให้มีเงินมากพอที่จะใช้ชีวิตแบบ เศรษฐี หรือแม้แต่คนที่มุ่งมั่นที่จะสร้างความมั่งคั่งอย่างรวดเร็วจากการลงทุนก็ คือ “รู้ว่าความสุขที่แท้จริงมาจากไหน” เรื่องนี้ผมขอตอบเองว่า เงินนั้นก่อให้เกิดความสุขได้ถึงระดับหนึ่งเท่านั้น เงินที่มากขึ้นจากนั้นจะสร้างความสุขเพิ่มขึ้นได้น้อยลงและน้อยลงเรื่อย ๆ ดังนั้น การมุ่งที่จะหาความสุขจากเงินมากเกินไปรังแต่จะก่อให้เกิดความทุกข์ขึ้นมา แทน เพราะความสุขที่แท้จริงนั้น ผมว่าอยู่ในใจเสียมากกว่า
บทความนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ 5 มิถุนายน 2555
เพราะกฎหลาย ๆ ข้อนั้น ผมคิดว่ามันนำมาประยุกต์ใช้กับการลงทุนได้เป็นอย่างดี ลองมาดูกันทีละข้อ
ข้อแรกที่ผมคิดว่านักลงทุนควรนำมาใช้ก็คือ “รู้ว่าอะไรสำคัญและอะไรไม่สำคัญ” ผมคงไม่พูดในเรื่องอื่น ๆ ของชีวิต แต่ในเรื่องของการลงทุนแล้ว นี่คือสิ่งที่จะทำให้เราชนะหรือแพ้ได้ ยกตัวอย่างเช่น เราคิดว่าการอยู่รอดของเศรษฐกิจกรีซนั้นสำคัญต่อการทำกำไรหรือผลประกอบการ ระยะยาวของบริษัทหรือหุ้นที่เราลงทุนอยู่ไหม? ถ้าเราคิดว่าไม่ ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องไปกังวลว่ากรีซจะแก้ปัญหาของตนเองได้หรือไม่ ในความเป็นจริง สิ่งที่สำคัญในเรื่องของการลงทุน ก็เช่นเดียวกับในเรื่องของชีวิต คือมันมีอยู่ไม่มาก และเราก็ควรจะต้องรู้ อย่าสนใจหรือทุ่มเทกับสิ่งที่ไม่สำคัญมากนัก
ข้อสอง “ถ้าคุณจะกระโดดลงคลอง ก็ขอให้แน่ใจว่าคุณรู้ว่าน้ำนั้นลึกเท่าไร” นี่ก็เป็นเรื่องของการรู้ว่าความเสี่ยงของชีวิตและในกรณีของเราก็คือ การลงทุน เป็นอย่างไร ตัวอย่างเช่น ถ้าเราซื้อหุ้นตัวเดียวด้วยเงินทั้งหมดและใช้มาร์จินด้วยโดยที่เราคิดว่า หุ้นตัวนั้นดีเยี่ยมและถูกมากและมันจะทำให้เรารวยไปเลย เราก็อาจจะพลาดและเกิดหายนะได้ ดังนั้น ในการลงทุนทุกครั้งและตลอดเวลา เราจะต้องรู้ว่า “น้ำนั้น ลึกแค่ไหน” ประเด็นก็คือ เราจะเสี่ยงอะไรก็ตาม ตรวจสอบและวิเคราะห์ให้ถี่ถ้วนที่สุด ดูว่าถ้าพลาดร้ายแรง เราจะยังอยู่รอดได้และไม่เสียหายมากเกินไป
ข้อสาม ซึ่งผมจะรวมกฎสามข้อเข้าด้วยกันก็คือ “มีระบบความเชื่อของตนเอง” “มีความมั่นคงและยึดมั่นในสิ่งที่ทำ” และ “มีศรัทธาต่อสิ่งนั้น” นี่คือกฎที่จะทำให้เราไม่วอกแวก และความคิดและการกระทำของเราจะเป็นระบบที่ถูกต้องและสอดคล้องกันในระยะยาว แต่สิ่งที่ผมอยากจะกล่าวเพิ่มเติมก็คือ ระบบความเชื่อของเรานั้นจะต้องเป็นระบบที่ถูกต้องที่มีการพิสูจน์มาช้านาน ตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีความเชื่อว่าการลงทุนในหุ้นนั้น ก็คือการเป็นเจ้าของส่วนหนึ่งของธุรกิจ วิธีที่จะชนะในระยะยาวก็คือ การถือหุ้นหรือบริษัทที่ดีเยี่ยมในราคาที่ยุติธรรมให้ยาวที่สุด เราก็จะต้องเชื่อและทำแบบนั้น อย่ากลับไปกลับมาโดยการขายไปอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดสถานการณ์บางอย่างที่เรา อาจจะกลัวเกินเหตุหรือคิดว่าราคาหุ้นอาจจะสูงเกินไปแล้วชั่วคราว
บางคนอาจจะสงสัยว่า “ระบบที่ถูกต้อง” ที่ผมพูดถึงในข้อสามนั้น มีเพียงระบบเดียวหรือ? และใครจะเป็นคนบอกว่าระบบความคิดไหนเป็นระบบที่ดีและถูกต้องที่สุด คำตอบของผมก็คือ คงไม่มีใครบอกได้ มีระบบมากมายที่มีคนคิดและเสนอขึ้นมา เราเองจะต้องเป็นคนเลือกที่จะเชื่อ บางคนอาจจะบอกว่าวิธีการลงทุนที่จะได้ผลตอบแทนสูงที่สุดก็คือการซื้อหุ้นใน ยามที่มันมีราคาถูกและขายเมื่อมันมีราคายุติธรรมหรือแพงแล้ว การคิดถึงหุ้นเราไม่ควรคิดว่าเราเป็นเจ้าของธุรกิจเพราะเราไม่ได้มีอำนาจ อะไรเลยในการควบคุมกิจการ นี่ก็เป็นระบบความเชื่ออีกแบบหนึ่งซึ่งผมก็บอกไม่ได้ว่าดีกว่าแบบแรกหรือ ไม่ บางทีมันอาจจะดีกว่าในบางตลาดหุ้นและแย่กว่าในบางแห่ง ประเด็นของผมก็คือ ถ้าคุณเชื่อแบบไหน คุณก็ควรจะทำแบบสม่ำเสมอและสอดคล้องกันทุกอย่าง- ด้วยความศรัทธา อย่างเริ่มต้นซื้อหุ้นด้วยความคิดหนึ่งแต่ขายหุ้นด้วยความคิดอีกชุดหนึ่ง ซึ่งอยู่ตรงกันข้าม
ข้อสี่ “อยู่ข้างเทพ อย่าอยู่ข้างมาร” นี่ก็เป็นกฎที่น่าจะมีคำถามตามมาว่า ข้างไหนคือเทพและข้างไหนคือมาร? คำตอบก็คือ เราก็ต้องเป็นคนที่คิดและเลือก ว่าที่จริง คงไม่มีใครเลือกที่จะเป็นมารหรืออยู่ข้างมาร เขาคิดว่าฝั่งที่เขาเลือกคือเทพ สำหรับผมแล้ว ผมคิดว่านักลงทุนนั้นจะต้องเลือกข้าง “ผู้ชนะ” ซึ่งก็คือ ข้างเทพ เพราะผู้ชนะนั้นจะเป็นคน “เขียนประวัติศาสตร์” และแน่นอน เขาจะต้องเขียนว่าเขาเป็นฝ่ายเทพ ความหมายของผมก็คือ ในการลงทุน เราควรเลือกบริษัทที่อยู่ในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่อยู่ในช่วงของการเติบโต เป็นธุรกิจที่กำลังมี “กระแส” หรือมี “ลมพัดมาทางข้างหลัง” เป็นอุตสาหกรรม “เทพ” นอกจากนั้น เราควรเลือกบริษัทที่กำลังเป็น “ผู้ชนะ” เป็นบริษัท “เทพ” วิธีที่เราจะเลือกได้ถูกต้องนั้น นอกจากการวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง ซึ่งบ่อยครั้งจะต้องมองไปถึง “กระแสระดับโลก” ที่อาจจะมาก่อนแล้ว เรายังต้องพยายามตัดอคติและความรู้สึกส่วนตัวที่มีออกให้มากที่สุด เพราะนั่นมักทำให้เรามีความลำเอียงจนทำให้วิเคราะห์ผิดไปได้
ข้อห้า “คุณจะไม่มีวันเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างได้” ว่าที่จริงผมคิดว่าคนเราอาจจะเข้าใจอย่างลึกซึ้งเฉพาะในบางเรื่องเท่านั้น เรื่องส่วนใหญ่นั้นเราไม่ค่อยจะเข้าใจหรอกแต่เราอาจจะคิดว่าเราเข้าใจ กฎข้อนี้เพื่อที่จะเตือนใจเราให้รู้ว่ายังมีเรื่องที่เราไม่เข้าใจอีกมาก และถ้าเราไม่เข้าใจแต่เราตัดสินใจลงทุน เราก็อาจจะพบกับความผิดหวังได้ง่าย ๆ วิธีการของผมก็คือ ถ้าเรายังไม่ค่อยจะเข้าใจหุ้นตัวไหน ก็อย่าไปลงทุนหรืออย่าลงทุนมาก ถ้าเราลงทุนก็จะต้องรู้ว่ามันคือการ “เก็งกำไร” และโอกาสเสียก็มีไม่น้อย โดยส่วนตัวผมแล้ว ผมจะพยายามทำความเข้าใจในเรื่องของโลกในวงกว้าง ทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วิทยาศาสตร์ ปรัชญา และอื่น ๆ อีกร้อยแปด ผมพยายามที่จะเข้าใจ “ภาพใหญ่” ของสิ่งเหล่านี้ ในขณะที่ถ้าเป็นเรื่องที่ผมสนใจเป็นพิเศษ เช่น การลงทุน ผมก็จะพยายามศึกษาให้มากเพื่อที่จะได้ “รู้จริง” โชคดีที่ว่า ในการลงทุนนั้น การมีความรู้ในเรื่องของโลกอย่างกว้าง สามารถที่จะช่วยทำให้การลงทุนดีขึ้นมาก
ข้อหก “รักษาคุณธรรมและจริยธรรมให้สูงเข้าไว้” นี่คือสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งสำหรับชีวิตเช่นเดียวกับการลงทุน เป็นเรื่องธรรมชาติที่สิ่งมีชีวิตซึ่งรวมถึงคนจะต้องดิ้นรนเพื่อเอาตัวรอด บางครั้งก็เกิดการ “แย่งชิง” ทรัพยากรกัน การที่เราจะมีชีวิตที่ดีได้ เราต้องยึดถือคุณธรรมและจริยธรรมที่ดีตลอดเวลาเพราะนี่คือ “กติกา” ที่คนส่วนใหญ่ยอมรับและยกย่อง ถ้าเราทำผิดเราจะไม่ได้รับความเชื่อถือไปนานหรือตลอดไป และนั่นจะทำให้ชีวิตในอนาคตของเราตกต่ำลงและยากที่จะแก้ไขได้ ในเรื่องของการลงทุนนั้น ก็เช่นเดียวกัน อย่าใช้วิธีการที่ไม่มีคุณธรรมในการลงทุนหรือเล่นหุ้นแม้ว่ามันจะทำให้เรา ได้กำไรเร็วและมาก อะไรคือคุณธรรมในการลงทุนนี่ก็เป็นประเด็นอยู่เหมือนกัน แน่นอน การทำผิดกฎหมายไม่ว่าจะถูกจับได้หรือไม่ก็ต้องถือว่าไม่มีคุณธรรมแน่นอน แต่การกระทำอย่างอื่นที่ทำให้นักลงทุนคนอื่นเสียหายโดยที่เราได้ประโยชน์ ตัวอย่างเช่น เราแนะนำให้เขาซื้อหุ้นตัวหนึ่งแต่ในเวลาเดียวกันเราขาย แล้วหลังจากนั้นราคาหุ้นก็ตกต่ำลงมามากเนื่องจากข้อมูลที่เรารู้อยู่ก่อน แล้ว แบบนี้ก็อาจจะถือว่าเราไม่ได้มีคุณธรรมที่สูงพอ แม้จะยอมรับกันว่า ในเรื่องของการลงทุน ทุกคนต้องรับผิดชอบกับการกระทำของตนเอง
สุดท้าย สำหรับคนที่ประสบความสำเร็จจากการลงทุนจนทำให้มีเงินมากพอที่จะใช้ชีวิตแบบ เศรษฐี หรือแม้แต่คนที่มุ่งมั่นที่จะสร้างความมั่งคั่งอย่างรวดเร็วจากการลงทุนก็ คือ “รู้ว่าความสุขที่แท้จริงมาจากไหน” เรื่องนี้ผมขอตอบเองว่า เงินนั้นก่อให้เกิดความสุขได้ถึงระดับหนึ่งเท่านั้น เงินที่มากขึ้นจากนั้นจะสร้างความสุขเพิ่มขึ้นได้น้อยลงและน้อยลงเรื่อย ๆ ดังนั้น การมุ่งที่จะหาความสุขจากเงินมากเกินไปรังแต่จะก่อให้เกิดความทุกข์ขึ้นมา แทน เพราะความสุขที่แท้จริงนั้น ผมว่าอยู่ในใจเสียมากกว่า
บทความนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ 5 มิถุนายน 2555
หุ้นพันธบัตร
หุ้นที่ผมมักถือรวมอยู่ในพอร์ตแบบหนึ่ง โดยเฉพาะในยามที่หุ้นส่วนใหญ่ในตลาดมีราคาไม่ถูกแล้วก็คือ หุ้นที่ผมเรียกว่า "หุ้นพันธบัตร" นี่คือหุ้นที่มี
คุณสมบัติคล้ายๆ กับพันธบัตรนั่นก็คือมันให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้าง "มั่นคง"
และผลตอบแทนที่ได้ต่อปีอยู่ในระดับที่ "พอใช้ได้"
วัดจากอัตราเงินปันผลเมื่อเทียบกับราคาที่ซื้อ
ซึ่งในภาวะปัจจุบันก็ไม่ควรต่ำกว่า 4-5% ต่อปี นอกจากนั้น
เงินปันผลต้องไม่ลดลงในอนาคตและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ
ในอัตราที่ไม่ต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อของระบบเศรษฐกิจ
ส่วนผลตอบแทนที่เกิดจากราคาหุ้น หรือ Capital Gain ผมจะไม่นำมาคิดในช่วงที่ซื้อหุ้น เป็นไปได้ว่าราคาหุ้นอาจจะเพิ่มขึ้นทำให้ผลตอบแทนรวมสูงขึ้น ในทางตรงกันข้าม หุ้นอาจปรับตัวลงทำให้ผลตอบแทนรวมลดลง หรือแม้แต่ขาดทุนได้ ผมเชื่อว่าราคาหุ้นไม่น่าจะปรับตัวลงมาแรงนักเมื่อเทียบกับหุ้นในกลุ่มอื่นๆ เหตุผลก็เพราะเงินปันผลของบริษัทน่าจะยังดีเหมือนเดิม ซึ่งจะทำให้ Yield หรือผลตอบแทนเงินปันผลสูงขึ้นถ้าราคาหุ้นลดลง และนั่นทำให้นักลงทุนบางกลุ่มสนใจ ที่จะเข้ามาลงทุนซื้อหุ้น และด้วยเหตุผลเดียวกัน คนที่ถือหุ้นอยู่ก็จะไม่อยากขาย ดังนั้นราคาหุ้นอาจจะไม่ลงมามากนัก
ฟังอย่างผิวเผินบางคนอาจจะบอกว่านี่คือหุ้น Defensive หรือหุ้นที่ทนทานต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ดี เวลาเราพูดถึงหุ้น Defensive เรามักนึกถึงหุ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรม ที่ยอดขายไม่ใคร่ถูกกระทบมากนักโดยภาวะเศรษฐกิจไม่ว่าจะทางดีหรือร้าย เช่น อุตสาหกรรมอาหารหรือกลุ่มสาธารณูปโภค เป็นต้น หุ้น Defensive ยังต้องประสบกับการแข่งขันที่เข้มข้น ต้องต่อสู้กับคู่แข่งในตลาดเสรี เช่นเดียวกับที่ต้องควบคุมหรือประสบกับปัญหาด้านต้นทุนของสินค้าที่ผลิต ดังนั้น แม้ยอดขายโดยรวมของอุตสาหกรรมจะมั่นคงสม่ำเสมอ แต่ยอดขายและโดยเฉพาะอย่างยิ่งกำไรของแต่ละบริษัท อาจผันผวนได้ไม่น้อย ขึ้นอยู่กับความสามารถของบริษัท แต่หุ้นพันธบัตรในความหมายของผม ต้องมีความสม่ำเสมอและมั่นคงมากกว่านั้น และการที่บริษัทจะมีผลประกอบการแบบนั้นได้ ควรต้องมีคุณสมบัติต่างๆ ดังต่อไปนี้
ข้อแรก คือ ควรอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ Defensive ซึ่งยอดขายโดยรวมไม่ผันผวนมากนักตามภาวะเศรษฐกิจ สินค้าหรือบริการเป็นสิ่ง "จำเป็น" ในชีวิตของผู้คน ถ้ายอดขายมีความผันผวน หรือมีความไวต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ หรือปัจจัยแวดล้อมมากๆ ป็นเรื่องยากที่กิจการจะมีผลการดำเนินงานที่สม่ำเสมอได้
ข้อสอง คือ ผลประกอบการของบริษัท ไม่ควรที่จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหรือปัจจัยต่างๆ โดยเฉพาะในปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้มากนัก เช่น ไม่ควรขึ้นอยู่กับความต้องการหรือ Demand ของสินค้า หรือไม่ควรขึ้นอยู่กับเรื่องคู่แข่ง หรือผู้ให้บริการรายใหม่ๆ ที่จะเข้ามา หรือถ้าจะพูดไป คือ บริษัทอาจจะไม่ได้อยู่ในตลาดของการแข่งขันเสรีเนื่องจากเหตุผลต่างๆ ซึ่งอาจจะรวมถึงเรื่องของกฎระเบียบ สัมปทาน สัญญาหรือข้อตกลงที่มีการลงนามและผูกพันในระยะยาว หรือแม้แต่เรื่องที่เป็นการผูกขาดตามธรรมชาติของธุรกิจ เป็นต้น นอกจากนั้น ผลประกอบการของบริษัทก็ไม่ควรต้องขึ้นอยู่กับต้นทุน สำคัญที่ไม่อยู่ในการควบคุมของกิจการด้วย เพราะอาจทำให้ผลประกอบการของบริษัทถูกกระทบได้มาก ซึ่งหมายถึงว่า ราคาสินค้าหรือบริการของบริษัทสามารถปรับตามต้นทุนที่เปลี่ยนแปลงไปได้
ข้อสาม ผมคิดว่ามีความสำคัญมากที่สุดข้อหนึ่ง ที่จะบอกว่าเป็นหุ้นพันธบัตรหรือไม่ ก็คือ ความสำเร็จหรือผลประกอบการของบริษัทน่าจะขึ้นอยู่กับ Operation หรือการดำเนินงานบางอย่างเท่านั้น เช่น ถ้าบริษัทสามารถผลิตหรือให้บริการตามที่ตกลงหรือตามที่กำหนดเป็นภารกิจของ บริษัทได้แล้ว บริษัทก็จะสามารถทำกำไรได้ในระดับที่น่าพอใจ และกิจกรรมหรืองานที่บริษัททำนั้นไม่ได้เป็นสิ่งใหม่ที่ทำได้ยาก แต่เป็นการทำงานตามปกติของบริษัท โอกาสที่บริษัทจะทำไม่ได้หรือเกิดการผิดพลาดมีน้อย และนี่ทำให้บริษัทมีกำไรและจ่ายปันผลได้ในอัตราที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ
ข้อสุดท้าย ที่ผมจะต้องกล่าวถึงคือ ขณะที่หุ้นพันธบัตร สามารถให้ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอมั่นคงมาก แต่มีข้อเสียเช่นเดียวกันในแง่ที่ว่า กำไรที่ดีผิดปกติ มักจะไม่เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน เหตุผลก็เพราะว่าบริษัทที่มีคุณสมบัติแบบนี้มักจะ "ถูกล็อก" ไม่ให้ทำกำไรเกินควรจากรัฐบาล หรือหน่วยงานควบคุม เพราะอาจมีอำนาจในการผูกขาด หรือเป็นเรื่องของสัญญาที่ผู้ให้สัญญาต้องเป็นผู้จ่ายเงิน ดังนั้น หุ้นพันธบัตรจึงมีลักษณะคล้ายๆ พันธบัตรนั่นคือ ความเสี่ยงต่ำในแง่ของผลประกอบการ แต่ผลตอบแทนก็มักจะไม่สูงโดยเฉพาะถ้ามองจากมุมของตัวกิจการเอง
เงื่อนไขในการลงทุนในหุ้นพันธบัตรของผมเองก็คือ ผลตอบแทนที่ผมคาดจะได้จากหุ้นพันธบัตร ต้องดีกว่าการถือพันธบัตร นั่นก็คือ ผลตอบแทนจากเงินปันผลต่อปีของหุ้นจะต้องดีกว่า หรืออย่างน้อยเท่ากับดอกเบี้ยที่ผมจะได้จากการถือพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 5% ต่อปี และบริษัทควรที่จะเติบโตของยอดขายและกำไรอย่างน้อยเท่ากับอัตราเงินเฟ้อที่ 3% ต่อปี โดยรวมแล้ว อย่างต่ำผมควรได้ผลตอบแทนไม่น้อยกว่า 8% ต่อปี โดยวิธีหาหุ้นที่จะเข้าข่ายก็ทำได้อย่างง่ายๆ โดยดูที่กำไรปีล่าสุดว่าเป็นเท่าไรและปันผลเป็นเท่าไร ต่อมาดูว่ากำไรและปันผล บริษัทน่าจะรักษาระดับอยู่ได้รวมถึงสามารถเติบโตได้อย่างน้อย 3-4% ขึ้นไป ตัวอย่างเช่น บริษัทมีกำไรปีละ 5 บาทต่อหุ้น กรณีแบบนี้ ผมจะยินดีที่จะจ่ายเงินซื้อหุ้นที่ราคาไม่เกิน 100 บาทซึ่งจะทำให้ผมได้เงินปันผลตอบแทนไม่ต่ำกว่า 5% ต่อปี ซึ่งดีกว่าการถือพันธบัตร เพราะการถือหุ้น ผมน่าจะได้กำไรจากราคาหุ้นด้วย เพราะหุ้นตัวนั้น จะเติบโตจากกำไรและปันผลที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต
การถือหุ้นพันธบัตร ผมจะไม่ถือจำนวนมากในพอร์ต ผมจะถือไว้เพื่อ "ถ่วง" ไม่ให้พอร์ตหวือหวาเกินไป เช่นเดียวกัน ในยามที่หาหุ้นที่ดี และราคาถูกยากแต่ก็ไม่ใช่เวลาขายหุ้นอย่างในช่วงนี้ ผมก็ไม่อยากเก็บเป็นเงินสด หรือลงทุนในพันธบัตรที่ให้ผลตอบแทนน้อย ดังนั้น หุ้นพันธบัตรก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เหนือสิ่งอื่นใด ทุกครั้งที่จะลงทุนในหุ้นพันธบัตร ผมก็หวังจะ "โชคดี" ในแง่ที่บริษัทมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นในช่วงเวลาไม่นาน ที่จะทำให้กำไรและปันผลสูงขึ้นมากกว่าปกติมาก ซึ่งจะทำให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นไปสูงกว่าที่คาด แต่ไม่ว่าในกรณีใด ผมต้องมั่นใจพอสมควรว่า ในเวลา 2-3 ปีขึ้นไป ผลตอบแทนที่ผมจะได้จากหุ้นพันธบัตรจะต้องไม่แพ้พันธบัตรแน่นอน
บทความนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ 29 พฤษภาคม 2555
ส่วนผลตอบแทนที่เกิดจากราคาหุ้น หรือ Capital Gain ผมจะไม่นำมาคิดในช่วงที่ซื้อหุ้น เป็นไปได้ว่าราคาหุ้นอาจจะเพิ่มขึ้นทำให้ผลตอบแทนรวมสูงขึ้น ในทางตรงกันข้าม หุ้นอาจปรับตัวลงทำให้ผลตอบแทนรวมลดลง หรือแม้แต่ขาดทุนได้ ผมเชื่อว่าราคาหุ้นไม่น่าจะปรับตัวลงมาแรงนักเมื่อเทียบกับหุ้นในกลุ่มอื่นๆ เหตุผลก็เพราะเงินปันผลของบริษัทน่าจะยังดีเหมือนเดิม ซึ่งจะทำให้ Yield หรือผลตอบแทนเงินปันผลสูงขึ้นถ้าราคาหุ้นลดลง และนั่นทำให้นักลงทุนบางกลุ่มสนใจ ที่จะเข้ามาลงทุนซื้อหุ้น และด้วยเหตุผลเดียวกัน คนที่ถือหุ้นอยู่ก็จะไม่อยากขาย ดังนั้นราคาหุ้นอาจจะไม่ลงมามากนัก
ฟังอย่างผิวเผินบางคนอาจจะบอกว่านี่คือหุ้น Defensive หรือหุ้นที่ทนทานต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ดี เวลาเราพูดถึงหุ้น Defensive เรามักนึกถึงหุ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรม ที่ยอดขายไม่ใคร่ถูกกระทบมากนักโดยภาวะเศรษฐกิจไม่ว่าจะทางดีหรือร้าย เช่น อุตสาหกรรมอาหารหรือกลุ่มสาธารณูปโภค เป็นต้น หุ้น Defensive ยังต้องประสบกับการแข่งขันที่เข้มข้น ต้องต่อสู้กับคู่แข่งในตลาดเสรี เช่นเดียวกับที่ต้องควบคุมหรือประสบกับปัญหาด้านต้นทุนของสินค้าที่ผลิต ดังนั้น แม้ยอดขายโดยรวมของอุตสาหกรรมจะมั่นคงสม่ำเสมอ แต่ยอดขายและโดยเฉพาะอย่างยิ่งกำไรของแต่ละบริษัท อาจผันผวนได้ไม่น้อย ขึ้นอยู่กับความสามารถของบริษัท แต่หุ้นพันธบัตรในความหมายของผม ต้องมีความสม่ำเสมอและมั่นคงมากกว่านั้น และการที่บริษัทจะมีผลประกอบการแบบนั้นได้ ควรต้องมีคุณสมบัติต่างๆ ดังต่อไปนี้
ข้อแรก คือ ควรอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ Defensive ซึ่งยอดขายโดยรวมไม่ผันผวนมากนักตามภาวะเศรษฐกิจ สินค้าหรือบริการเป็นสิ่ง "จำเป็น" ในชีวิตของผู้คน ถ้ายอดขายมีความผันผวน หรือมีความไวต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ หรือปัจจัยแวดล้อมมากๆ ป็นเรื่องยากที่กิจการจะมีผลการดำเนินงานที่สม่ำเสมอได้
ข้อสอง คือ ผลประกอบการของบริษัท ไม่ควรที่จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหรือปัจจัยต่างๆ โดยเฉพาะในปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้มากนัก เช่น ไม่ควรขึ้นอยู่กับความต้องการหรือ Demand ของสินค้า หรือไม่ควรขึ้นอยู่กับเรื่องคู่แข่ง หรือผู้ให้บริการรายใหม่ๆ ที่จะเข้ามา หรือถ้าจะพูดไป คือ บริษัทอาจจะไม่ได้อยู่ในตลาดของการแข่งขันเสรีเนื่องจากเหตุผลต่างๆ ซึ่งอาจจะรวมถึงเรื่องของกฎระเบียบ สัมปทาน สัญญาหรือข้อตกลงที่มีการลงนามและผูกพันในระยะยาว หรือแม้แต่เรื่องที่เป็นการผูกขาดตามธรรมชาติของธุรกิจ เป็นต้น นอกจากนั้น ผลประกอบการของบริษัทก็ไม่ควรต้องขึ้นอยู่กับต้นทุน สำคัญที่ไม่อยู่ในการควบคุมของกิจการด้วย เพราะอาจทำให้ผลประกอบการของบริษัทถูกกระทบได้มาก ซึ่งหมายถึงว่า ราคาสินค้าหรือบริการของบริษัทสามารถปรับตามต้นทุนที่เปลี่ยนแปลงไปได้
ข้อสาม ผมคิดว่ามีความสำคัญมากที่สุดข้อหนึ่ง ที่จะบอกว่าเป็นหุ้นพันธบัตรหรือไม่ ก็คือ ความสำเร็จหรือผลประกอบการของบริษัทน่าจะขึ้นอยู่กับ Operation หรือการดำเนินงานบางอย่างเท่านั้น เช่น ถ้าบริษัทสามารถผลิตหรือให้บริการตามที่ตกลงหรือตามที่กำหนดเป็นภารกิจของ บริษัทได้แล้ว บริษัทก็จะสามารถทำกำไรได้ในระดับที่น่าพอใจ และกิจกรรมหรืองานที่บริษัททำนั้นไม่ได้เป็นสิ่งใหม่ที่ทำได้ยาก แต่เป็นการทำงานตามปกติของบริษัท โอกาสที่บริษัทจะทำไม่ได้หรือเกิดการผิดพลาดมีน้อย และนี่ทำให้บริษัทมีกำไรและจ่ายปันผลได้ในอัตราที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ
ข้อสุดท้าย ที่ผมจะต้องกล่าวถึงคือ ขณะที่หุ้นพันธบัตร สามารถให้ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอมั่นคงมาก แต่มีข้อเสียเช่นเดียวกันในแง่ที่ว่า กำไรที่ดีผิดปกติ มักจะไม่เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน เหตุผลก็เพราะว่าบริษัทที่มีคุณสมบัติแบบนี้มักจะ "ถูกล็อก" ไม่ให้ทำกำไรเกินควรจากรัฐบาล หรือหน่วยงานควบคุม เพราะอาจมีอำนาจในการผูกขาด หรือเป็นเรื่องของสัญญาที่ผู้ให้สัญญาต้องเป็นผู้จ่ายเงิน ดังนั้น หุ้นพันธบัตรจึงมีลักษณะคล้ายๆ พันธบัตรนั่นคือ ความเสี่ยงต่ำในแง่ของผลประกอบการ แต่ผลตอบแทนก็มักจะไม่สูงโดยเฉพาะถ้ามองจากมุมของตัวกิจการเอง
เงื่อนไขในการลงทุนในหุ้นพันธบัตรของผมเองก็คือ ผลตอบแทนที่ผมคาดจะได้จากหุ้นพันธบัตร ต้องดีกว่าการถือพันธบัตร นั่นก็คือ ผลตอบแทนจากเงินปันผลต่อปีของหุ้นจะต้องดีกว่า หรืออย่างน้อยเท่ากับดอกเบี้ยที่ผมจะได้จากการถือพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 5% ต่อปี และบริษัทควรที่จะเติบโตของยอดขายและกำไรอย่างน้อยเท่ากับอัตราเงินเฟ้อที่ 3% ต่อปี โดยรวมแล้ว อย่างต่ำผมควรได้ผลตอบแทนไม่น้อยกว่า 8% ต่อปี โดยวิธีหาหุ้นที่จะเข้าข่ายก็ทำได้อย่างง่ายๆ โดยดูที่กำไรปีล่าสุดว่าเป็นเท่าไรและปันผลเป็นเท่าไร ต่อมาดูว่ากำไรและปันผล บริษัทน่าจะรักษาระดับอยู่ได้รวมถึงสามารถเติบโตได้อย่างน้อย 3-4% ขึ้นไป ตัวอย่างเช่น บริษัทมีกำไรปีละ 5 บาทต่อหุ้น กรณีแบบนี้ ผมจะยินดีที่จะจ่ายเงินซื้อหุ้นที่ราคาไม่เกิน 100 บาทซึ่งจะทำให้ผมได้เงินปันผลตอบแทนไม่ต่ำกว่า 5% ต่อปี ซึ่งดีกว่าการถือพันธบัตร เพราะการถือหุ้น ผมน่าจะได้กำไรจากราคาหุ้นด้วย เพราะหุ้นตัวนั้น จะเติบโตจากกำไรและปันผลที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต
การถือหุ้นพันธบัตร ผมจะไม่ถือจำนวนมากในพอร์ต ผมจะถือไว้เพื่อ "ถ่วง" ไม่ให้พอร์ตหวือหวาเกินไป เช่นเดียวกัน ในยามที่หาหุ้นที่ดี และราคาถูกยากแต่ก็ไม่ใช่เวลาขายหุ้นอย่างในช่วงนี้ ผมก็ไม่อยากเก็บเป็นเงินสด หรือลงทุนในพันธบัตรที่ให้ผลตอบแทนน้อย ดังนั้น หุ้นพันธบัตรก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เหนือสิ่งอื่นใด ทุกครั้งที่จะลงทุนในหุ้นพันธบัตร ผมก็หวังจะ "โชคดี" ในแง่ที่บริษัทมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นในช่วงเวลาไม่นาน ที่จะทำให้กำไรและปันผลสูงขึ้นมากกว่าปกติมาก ซึ่งจะทำให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นไปสูงกว่าที่คาด แต่ไม่ว่าในกรณีใด ผมต้องมั่นใจพอสมควรว่า ในเวลา 2-3 ปีขึ้นไป ผลตอบแทนที่ผมจะได้จากหุ้นพันธบัตรจะต้องไม่แพ้พันธบัตรแน่นอน
บทความนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ 29 พฤษภาคม 2555
กลยุทธ์ยามหุ้นแพง
ในยามที่หุ้นส่วนใหญ่ในตลาดมีราคาไม่ถูกแล้ว แต่ราคาหุ้นโดยทั่วไปก็ยังไม่ถึงขั้นที่จะเป็น "ฟองสบู่"
นั่นก็คือ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์อยู่ในเกณฑ์ที่สูงและมีค่า PE สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตประมาณ 30-40% อย่างที่เห็นในช่วงนี้ เราในฐานะของ Value Investor ควรจะทำอย่างไร? คำตอบของ VI แต่ละคนอาจจะแตกต่างกันไป ลองมาดูกัน
มุมมองหนึ่งซึ่งอาจจะเป็นแนว "VI พันธุ์แท้" หรือบางทีก็อาจจะเป็น "VI ใสซื่อ" ก็คือ "เราไม่สนใจตลาด ถ้าเราพบว่ามีหุ้นที่ยังมีราคาถูกกว่ามูลค่าพื้นฐานมาก มี Margin of Safety หรือส่วนต่างของความปลอดภัยสูง เราจะซื้อ" บางคนอาจจะพูดต่อว่า เขายังพบหุ้นที่มีราคาถูกเป็นหุ้น VI อีกไม่น้อยแม้ในยามที่หุ้นในตลาดโดยทั่วไปมีราคาค่อนข้างแพง ดังนั้น ตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไรเขาก็ไม่สนใจ เขาสนใจเฉพาะหุ้นเป็นรายตัว
คอมเมนท์ของผม คือ แน่นอน ในยามที่ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นมาและค่า PE สูง เราจะยังมีหุ้นที่ "ถูก" หรือมีค่า PE ต่ำ นอกจากนั้นค่า PB อาจจะต่ำด้วย รวมถึงอัตราผลตอบแทนปันผลก็อาจสูง ถ้าดูโดยตัวเลขต้องบอกว่า หุ้นที่มีราคาถูก แต่ถ้าวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง หุ้นตัวนั้นอาจไม่ใช่หุ้นที่น่าลงทุนก็ได้ เพราะอาจมีปัญหา หรือกำไรในอนาคตอาจถดถอยลง เพราะปัจจัยด้านคุณภาพ เช่น อาจอยู่ในอุตสาหกรรมที่กำลังตกต่ำลง หรือเป็นหุ้นวัฏจักรที่กำลังเข้าสู่วัฏจักรขาลง ต่างๆ เหล่านี้ เป็นต้น ซึ่งทำให้หุ้นมีราคาถูกอย่างที่เห็น แต่ไม่ใช่หุ้น VALUE
การที่เราบอกว่า เราสนใจเฉพาะตัวหุ้น ไม่สนใจภาวะตลาด จริงๆ ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องโดยหลักการ แต่ในยามที่ตลาดหุ้นบูม เราต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษว่า หุ้นที่เราเห็นว่ามีราคาถูกโดยดูจากตัวเลข เช่น ค่า PE อาจเป็น "กับดัก" ที่ทำให้เรา "ติด" ได้ เหนือสิ่งอื่นใด ต้องคิดว่า ถ้าหาง่ายอย่างนั้น คนก็คงเจอแล้วก็ซื้อ และทำให้ราคาขึ้นไปก่อนหน้านี้แล้ว คงไม่ปล่อยให้มี PE ต่ำมากอยู่อย่างนั้น โดยเฉพาะในยามที่มี "VI" อยู่เต็มตลาดหุ้น
มุมมองอีกแนวหนึ่งก็คือ ยามที่หุ้นในตลาดปรับตัวขึ้นมาก เราควรจะ Switch หรือเปลี่ยนตัวหุ้น จากหุ้นที่เราได้กำไรมาก หรือหุ้นที่มีการปรับตัวขึ้นไปมาก และราคาหุ้นเริ่มแพง แล้วเอาเงินไปซื้อหุ้นที่ยังเป็น "Laggard" หรือหุ้นที่ยังไม่ค่อยได้ขึ้นไปเท่าไร และราคาอาจยังถูกเมื่อเทียบกับหุ้นอื่นๆ ในตลาด แนวความคิดนี้ อาจดูเหมือนว่าไม่ใช่แนว VI เพราะอาจไม่ได้วิเคราะห์ว่า หุ้นนั้นมี Margin of Safety มากน้อยแค่ไหน แต่ไปดูจากการเปรียบเทียบว่า หุ้นตัวไหนราคาถูกกว่าอีกตัวหนึ่ง แทนที่จะดูว่าตัวมันเองคุ้มค่าหรือไม่กับพื้นฐานของมัน
VI ที่มองในแนวนี้ อาจบอกว่า หุ้นตัวใหม่ที่เขาจะซื้อ ต้องเข้าข่ายว่าเป็นหุ้น "VI" ด้วย นั่นคือ เขาอาจกำลังบอกว่า เขา Switch จากหุ้น VI ที่แพง ไปสู่หุ้น VI ที่ถูกกว่า มี Margin of Safety สูงกว่า
คำวิจารณ์ของผม คือ คนที่คิดแบบนั้น อาจจะมีความคิดว่า ราคาหุ้นที่เป็น VI แต่ละตัว เมื่อเวลาผ่านไปต้องวิ่งไปหา "มูลค่าที่แท้จริง" เช่น ราคาหุ้นปัจจุบันเท่ากับ 7 บาท มูลค่าที่แท้จริงที่คำนวณได้อาจเป็น 10 บาท หุ้นก็น่าจะวิ่งขึ้นไปอีกกว่า 30%ในอนาคต ทีนี้ถ้ามีหุ้น 2 ตัวที่ต่างก็เป็นหุ้น VI ในสายตาของเขา แต่หุ้นตัวที่หนึ่งที่เขาซื้อไว้แล้ว มีราคาวิ่งขึ้นไปเป็น 10 บาทอย่างรวดเร็ว เขาอาจจะคิดว่า "เต็มมูลค่า" แล้ว
ในขณะที่หุ้น VI ตัวที่สอง ราคายังไม่ได้ไปไหน ซึ่งทำให้มีโอกาสที่จะปรับตัวขึ้นไปได้ในอนาคต เขาจึงขายหุ้นตัวแรก และหันไปซื้อหุ้นตัวที่สอง โดยที่เขาสรุปว่า หุ้นตัวแรกไม่ได้เป็นหุ้น VI แล้ว หรือเป็นหุ้น VI ที่จะมี Upside หรือโอกาสที่จะปรับตัวขึ้นอีกน้อยลง ขณะที่หุ้นตัวที่สองยังเป็นหุ้น VI ที่มีโอกาสปรับตัวขึ้นมากกว่า
ผมเองคิดว่าการ Switch หุ้นในยามที่ดัชนีหุ้นปรับตัวขึ้น และหุ้นส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้นตามดัชนีตลาด อาจไม่ใช่กลยุทธ์ที่ดีนัก เหตุผลคือ ในยามที่ตลาดหุ้นคึกคัก หุ้นที่จะ "ถูกละเลย" น่าจะมีน้อย การที่หุ้นตัวหนึ่งวิ่งได้ดี หรือมากกว่าหุ้นอีกตัวหนึ่ง อาจเป็นเพราะว่าหุ้นตัวแรกมีพื้นฐาน หรือคุณสมบัติดีกว่าหุ้นตัวที่สอง การวิเคราะห์เดิมของเราอาจผิดพลาด
ที่สำคัญ มูลค่าหุ้นตัวแรก อาจมีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปในขณะที่หุ้นตัวที่สอง มูลค่ากิจการไม่ได้เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด การ Switch อาจมีโอกาส "ชนะ" ไม่มาก และอาจจะไม่คุ้มกับค่าคอมมิชชั่น และส่วนต่างราคาซื้อขายที่เราจะต้องเสีย เหนือสิ่งอื่นใดคือ อาจจะทำให้เราต้องเสียหุ้นที่ดี และได้หุ้นที่เลวกว่ามาแทนในทำนอง "ขายหมูแล้วไปซื้อควายมา" อย่างที่พูดกันในหมู่ VI
มุมมองสุดท้ายที่หลายคนอาจทำก็คือ การขายหุ้นเพื่อถือเงินสด และหวังจะกลับมาซื้อหุ้นคืน เมื่อราคาหุ้นปรับตัวลง นี่เป็นกลยุทธ์ที่คล้ายกับนักเก็งกำไรที่จะ "เล่นหุ้นเป็นรอบ" นั่นก็คือ ซื้อหุ้นเมื่อดัชนีปรับตัวลง และขายหุ้นเมื่อราคาหุ้นปรับตัวขึ้นสูง ปีหนึ่งอาจเล่นหุ้นไม่กี่ครั้ง
สำหรับ VI เขาอาจคิดว่ารอบของเขา อาจจะใหญ่หรือยาวกว่า นั่นก็คือ ถ้าหุ้นขึ้นมาสูง จนหุ้นส่วนใหญ่แพงเกินไป และอาจเลยพื้นฐานไปแล้ว การหาหุ้นถูกยากมาก เขาก็ควรขายหุ้นทิ้งแล้วถือเงินสด เขาเชื่อว่าในที่สุด ราคาหุ้นน่าจะปรับตัวลงมา ซึ่งจะทำให้เขาซื้อหุ้นตัวเดิม หรือหุ้นตัวใหม่ในราคาที่ต่ำลง ซึ่งทำให้ผลตอบแทนของเขาดีขึ้น เหนือสิ่งอื่นใดคือ เขาคิดว่าการถือเงินสด ปลอดภัยกว่าหุ้นที่อาจจะปรับตัวลงครั้งใหญ่ ซึ่งทำให้ความมั่งคั่งที่เขาทำได้มากและรวดเร็วต้องหายไป
ความเห็นของผมคือ การถือเงินสด แม้จะปลอดภัยในแง่ที่เม็ดเงินจะไม่ลดลง แต่ก็แทบไม่ให้ผลตอบแทนเลย ข้อดีที่เห็นชัดที่สุด คือ ถ้าเกิดวิกฤติหรือตลาดหุ้นตกลงมารุนแรง และทำให้หุ้น VI ที่เราสนใจมีราคาลดลงมาก เราจะได้ซื้อหุ้นถูก และทำให้ผลตอบแทนในอนาคตสูงขึ้น แต่เหตุการณ์นั้น จะมีโอกาสเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหนเราก็ไม่รู้ หลายคนอาจจะบอกว่าเหตุการณ์ในยุโรป น่ากลัวมาก น่าจะมีโอกาสสูงที่ยุโรปจะประสบปัญหาทางเศรษฐกิจรุนแรง และนั่นน่าจะทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกและตลาดหุ้นไทยตกลงมารุนแรงได้
ประเด็นนี้ผมเอง ไม่อยากที่จะให้ความเห็น แต่ประสบการณ์ก็คือ วิกฤติมักจะเกิดขึ้นตอนที่ไม่มีใครคาดคิด เหตุการณ์ในยุโรป เป็นสิ่งที่ทุกคนรับรู้และรับทราบมาโดยตลอด ตลาดหุ้นก็ "รับข่าว" และปรับตัวลงมามากแล้ว การที่ตลาดหุ้นจะเกิดวิกฤติและมีการปรับตัวลงมากๆ น่าจะน้อยลง การตัดสินใจโดยอิงอยู่กับสิ่งที่ยังไม่แน่นอน จึงเป็นเรื่องการเก็งกำไรที่มีโอกาสได้เสียเท่าๆ กัน
สุดท้ายสำหรับตัวผมเองว่า จะทำอย่างไรในสถานการณ์หุ้นแพง คำตอบคือ ผมแทบจะไม่ทำอะไร โดยเฉพาะในยามที่หุ้นยังไม่ได้เป็น "ฟองสบู่" ประเด็นต่อมาคือ ผมทำอะไรกับเงินสด ที่อาจได้มาจากปันผล หรือจากแหล่งอื่น คำตอบคือ ผมอาจถือเป็นเงินสดไว้ หรือไม่ก็ลงทุนในหุ้นที่มั่นคงมากในแง่ผลประกอบการ ที่ยังให้ผลตอบแทนปันผลพอสมควร อาจจะ 4-5% เทียบกับเงินฝากที่ 1-2% ซึ่งหุ้นในกลุ่มนี้ ผมมักจะเรียกว่า "หุ้นพันธบัตร" ซึ่งหลายตัวเป็นผู้ให้บริการสาธารณูปโภคที่มีรายได้และกำไรค่อนข้างแน่นอน และมีการเติบโตบ้างแต่ราคาไม่แพงเท่าไรนัก
บทความนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ 22 พฤษภาคม 2555
นั่นก็คือ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์อยู่ในเกณฑ์ที่สูงและมีค่า PE สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตประมาณ 30-40% อย่างที่เห็นในช่วงนี้ เราในฐานะของ Value Investor ควรจะทำอย่างไร? คำตอบของ VI แต่ละคนอาจจะแตกต่างกันไป ลองมาดูกัน
มุมมองหนึ่งซึ่งอาจจะเป็นแนว "VI พันธุ์แท้" หรือบางทีก็อาจจะเป็น "VI ใสซื่อ" ก็คือ "เราไม่สนใจตลาด ถ้าเราพบว่ามีหุ้นที่ยังมีราคาถูกกว่ามูลค่าพื้นฐานมาก มี Margin of Safety หรือส่วนต่างของความปลอดภัยสูง เราจะซื้อ" บางคนอาจจะพูดต่อว่า เขายังพบหุ้นที่มีราคาถูกเป็นหุ้น VI อีกไม่น้อยแม้ในยามที่หุ้นในตลาดโดยทั่วไปมีราคาค่อนข้างแพง ดังนั้น ตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไรเขาก็ไม่สนใจ เขาสนใจเฉพาะหุ้นเป็นรายตัว
คอมเมนท์ของผม คือ แน่นอน ในยามที่ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นมาและค่า PE สูง เราจะยังมีหุ้นที่ "ถูก" หรือมีค่า PE ต่ำ นอกจากนั้นค่า PB อาจจะต่ำด้วย รวมถึงอัตราผลตอบแทนปันผลก็อาจสูง ถ้าดูโดยตัวเลขต้องบอกว่า หุ้นที่มีราคาถูก แต่ถ้าวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง หุ้นตัวนั้นอาจไม่ใช่หุ้นที่น่าลงทุนก็ได้ เพราะอาจมีปัญหา หรือกำไรในอนาคตอาจถดถอยลง เพราะปัจจัยด้านคุณภาพ เช่น อาจอยู่ในอุตสาหกรรมที่กำลังตกต่ำลง หรือเป็นหุ้นวัฏจักรที่กำลังเข้าสู่วัฏจักรขาลง ต่างๆ เหล่านี้ เป็นต้น ซึ่งทำให้หุ้นมีราคาถูกอย่างที่เห็น แต่ไม่ใช่หุ้น VALUE
การที่เราบอกว่า เราสนใจเฉพาะตัวหุ้น ไม่สนใจภาวะตลาด จริงๆ ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องโดยหลักการ แต่ในยามที่ตลาดหุ้นบูม เราต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษว่า หุ้นที่เราเห็นว่ามีราคาถูกโดยดูจากตัวเลข เช่น ค่า PE อาจเป็น "กับดัก" ที่ทำให้เรา "ติด" ได้ เหนือสิ่งอื่นใด ต้องคิดว่า ถ้าหาง่ายอย่างนั้น คนก็คงเจอแล้วก็ซื้อ และทำให้ราคาขึ้นไปก่อนหน้านี้แล้ว คงไม่ปล่อยให้มี PE ต่ำมากอยู่อย่างนั้น โดยเฉพาะในยามที่มี "VI" อยู่เต็มตลาดหุ้น
มุมมองอีกแนวหนึ่งก็คือ ยามที่หุ้นในตลาดปรับตัวขึ้นมาก เราควรจะ Switch หรือเปลี่ยนตัวหุ้น จากหุ้นที่เราได้กำไรมาก หรือหุ้นที่มีการปรับตัวขึ้นไปมาก และราคาหุ้นเริ่มแพง แล้วเอาเงินไปซื้อหุ้นที่ยังเป็น "Laggard" หรือหุ้นที่ยังไม่ค่อยได้ขึ้นไปเท่าไร และราคาอาจยังถูกเมื่อเทียบกับหุ้นอื่นๆ ในตลาด แนวความคิดนี้ อาจดูเหมือนว่าไม่ใช่แนว VI เพราะอาจไม่ได้วิเคราะห์ว่า หุ้นนั้นมี Margin of Safety มากน้อยแค่ไหน แต่ไปดูจากการเปรียบเทียบว่า หุ้นตัวไหนราคาถูกกว่าอีกตัวหนึ่ง แทนที่จะดูว่าตัวมันเองคุ้มค่าหรือไม่กับพื้นฐานของมัน
VI ที่มองในแนวนี้ อาจบอกว่า หุ้นตัวใหม่ที่เขาจะซื้อ ต้องเข้าข่ายว่าเป็นหุ้น "VI" ด้วย นั่นคือ เขาอาจกำลังบอกว่า เขา Switch จากหุ้น VI ที่แพง ไปสู่หุ้น VI ที่ถูกกว่า มี Margin of Safety สูงกว่า
คำวิจารณ์ของผม คือ คนที่คิดแบบนั้น อาจจะมีความคิดว่า ราคาหุ้นที่เป็น VI แต่ละตัว เมื่อเวลาผ่านไปต้องวิ่งไปหา "มูลค่าที่แท้จริง" เช่น ราคาหุ้นปัจจุบันเท่ากับ 7 บาท มูลค่าที่แท้จริงที่คำนวณได้อาจเป็น 10 บาท หุ้นก็น่าจะวิ่งขึ้นไปอีกกว่า 30%ในอนาคต ทีนี้ถ้ามีหุ้น 2 ตัวที่ต่างก็เป็นหุ้น VI ในสายตาของเขา แต่หุ้นตัวที่หนึ่งที่เขาซื้อไว้แล้ว มีราคาวิ่งขึ้นไปเป็น 10 บาทอย่างรวดเร็ว เขาอาจจะคิดว่า "เต็มมูลค่า" แล้ว
ในขณะที่หุ้น VI ตัวที่สอง ราคายังไม่ได้ไปไหน ซึ่งทำให้มีโอกาสที่จะปรับตัวขึ้นไปได้ในอนาคต เขาจึงขายหุ้นตัวแรก และหันไปซื้อหุ้นตัวที่สอง โดยที่เขาสรุปว่า หุ้นตัวแรกไม่ได้เป็นหุ้น VI แล้ว หรือเป็นหุ้น VI ที่จะมี Upside หรือโอกาสที่จะปรับตัวขึ้นอีกน้อยลง ขณะที่หุ้นตัวที่สองยังเป็นหุ้น VI ที่มีโอกาสปรับตัวขึ้นมากกว่า
ผมเองคิดว่าการ Switch หุ้นในยามที่ดัชนีหุ้นปรับตัวขึ้น และหุ้นส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้นตามดัชนีตลาด อาจไม่ใช่กลยุทธ์ที่ดีนัก เหตุผลคือ ในยามที่ตลาดหุ้นคึกคัก หุ้นที่จะ "ถูกละเลย" น่าจะมีน้อย การที่หุ้นตัวหนึ่งวิ่งได้ดี หรือมากกว่าหุ้นอีกตัวหนึ่ง อาจเป็นเพราะว่าหุ้นตัวแรกมีพื้นฐาน หรือคุณสมบัติดีกว่าหุ้นตัวที่สอง การวิเคราะห์เดิมของเราอาจผิดพลาด
ที่สำคัญ มูลค่าหุ้นตัวแรก อาจมีการเปลี่ยนแปลงดีขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปในขณะที่หุ้นตัวที่สอง มูลค่ากิจการไม่ได้เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด การ Switch อาจมีโอกาส "ชนะ" ไม่มาก และอาจจะไม่คุ้มกับค่าคอมมิชชั่น และส่วนต่างราคาซื้อขายที่เราจะต้องเสีย เหนือสิ่งอื่นใดคือ อาจจะทำให้เราต้องเสียหุ้นที่ดี และได้หุ้นที่เลวกว่ามาแทนในทำนอง "ขายหมูแล้วไปซื้อควายมา" อย่างที่พูดกันในหมู่ VI
มุมมองสุดท้ายที่หลายคนอาจทำก็คือ การขายหุ้นเพื่อถือเงินสด และหวังจะกลับมาซื้อหุ้นคืน เมื่อราคาหุ้นปรับตัวลง นี่เป็นกลยุทธ์ที่คล้ายกับนักเก็งกำไรที่จะ "เล่นหุ้นเป็นรอบ" นั่นก็คือ ซื้อหุ้นเมื่อดัชนีปรับตัวลง และขายหุ้นเมื่อราคาหุ้นปรับตัวขึ้นสูง ปีหนึ่งอาจเล่นหุ้นไม่กี่ครั้ง
สำหรับ VI เขาอาจคิดว่ารอบของเขา อาจจะใหญ่หรือยาวกว่า นั่นก็คือ ถ้าหุ้นขึ้นมาสูง จนหุ้นส่วนใหญ่แพงเกินไป และอาจเลยพื้นฐานไปแล้ว การหาหุ้นถูกยากมาก เขาก็ควรขายหุ้นทิ้งแล้วถือเงินสด เขาเชื่อว่าในที่สุด ราคาหุ้นน่าจะปรับตัวลงมา ซึ่งจะทำให้เขาซื้อหุ้นตัวเดิม หรือหุ้นตัวใหม่ในราคาที่ต่ำลง ซึ่งทำให้ผลตอบแทนของเขาดีขึ้น เหนือสิ่งอื่นใดคือ เขาคิดว่าการถือเงินสด ปลอดภัยกว่าหุ้นที่อาจจะปรับตัวลงครั้งใหญ่ ซึ่งทำให้ความมั่งคั่งที่เขาทำได้มากและรวดเร็วต้องหายไป
ความเห็นของผมคือ การถือเงินสด แม้จะปลอดภัยในแง่ที่เม็ดเงินจะไม่ลดลง แต่ก็แทบไม่ให้ผลตอบแทนเลย ข้อดีที่เห็นชัดที่สุด คือ ถ้าเกิดวิกฤติหรือตลาดหุ้นตกลงมารุนแรง และทำให้หุ้น VI ที่เราสนใจมีราคาลดลงมาก เราจะได้ซื้อหุ้นถูก และทำให้ผลตอบแทนในอนาคตสูงขึ้น แต่เหตุการณ์นั้น จะมีโอกาสเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหนเราก็ไม่รู้ หลายคนอาจจะบอกว่าเหตุการณ์ในยุโรป น่ากลัวมาก น่าจะมีโอกาสสูงที่ยุโรปจะประสบปัญหาทางเศรษฐกิจรุนแรง และนั่นน่าจะทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกและตลาดหุ้นไทยตกลงมารุนแรงได้
ประเด็นนี้ผมเอง ไม่อยากที่จะให้ความเห็น แต่ประสบการณ์ก็คือ วิกฤติมักจะเกิดขึ้นตอนที่ไม่มีใครคาดคิด เหตุการณ์ในยุโรป เป็นสิ่งที่ทุกคนรับรู้และรับทราบมาโดยตลอด ตลาดหุ้นก็ "รับข่าว" และปรับตัวลงมามากแล้ว การที่ตลาดหุ้นจะเกิดวิกฤติและมีการปรับตัวลงมากๆ น่าจะน้อยลง การตัดสินใจโดยอิงอยู่กับสิ่งที่ยังไม่แน่นอน จึงเป็นเรื่องการเก็งกำไรที่มีโอกาสได้เสียเท่าๆ กัน
สุดท้ายสำหรับตัวผมเองว่า จะทำอย่างไรในสถานการณ์หุ้นแพง คำตอบคือ ผมแทบจะไม่ทำอะไร โดยเฉพาะในยามที่หุ้นยังไม่ได้เป็น "ฟองสบู่" ประเด็นต่อมาคือ ผมทำอะไรกับเงินสด ที่อาจได้มาจากปันผล หรือจากแหล่งอื่น คำตอบคือ ผมอาจถือเป็นเงินสดไว้ หรือไม่ก็ลงทุนในหุ้นที่มั่นคงมากในแง่ผลประกอบการ ที่ยังให้ผลตอบแทนปันผลพอสมควร อาจจะ 4-5% เทียบกับเงินฝากที่ 1-2% ซึ่งหุ้นในกลุ่มนี้ ผมมักจะเรียกว่า "หุ้นพันธบัตร" ซึ่งหลายตัวเป็นผู้ให้บริการสาธารณูปโภคที่มีรายได้และกำไรค่อนข้างแน่นอน และมีการเติบโตบ้างแต่ราคาไม่แพงเท่าไรนัก
บทความนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ 22 พฤษภาคม 2555
การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมแต่ละอย่างมีการเปลี่ยนแปลงช้าเร็วไม่เท่ากัน บางอุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงเร็วมาก แต่บางอย่างช้ามาก การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว มักจะมีการเปลี่ยนแปลง
ของเทคโนโลยี หรือพฤติกรรมของคน หรือไม่ก็เกิดจากลักษณะ
หรือคุณสมบัติของกิจการที่มีความอ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อม หรือภาวะเศรษฐกิจสูง
ซึ่งทำให้บางช่วงเวลาบริษัทในอุตสาหกรรมประสบกับความล้มเหลวอย่างรุนแรงและ
กว้างขวาง และทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม
ผลของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมที่ชัดเจน ก็คือ บริษัทที่เคยรุ่งเรืองและยิ่งใหญ่ กลายเป็นบริษัทที่ล้มเหลวตกต่ำลง ขณะเดียวกัน บริษัทที่เคยเป็นรอง หรือบริษัทขนาดเล็กเติบโตขึ้น กลายเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่แทนในระยะเวลาอันสั้น ลองมาดูกันว่าอุตสาหกรรมอะไรที่เปลี่ยนเร็ว และอุตสาหกรรมอะไรที่เปลี่ยนช้า
อุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงเร็วที่สุด คือ อุตสาหกรรมไฮเทคทั้งหลาย โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และการสื่อสารโทรคมนาคม เพราะนี่คือภาคอุตสาหกรรมที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทางเทคโนโลยีและการ ประยุกต์ใช้ ถ้าลองนึกย้อนหลังไปไม่นานนัก พบว่า บริษัทที่ยิ่งใหญ่ในอดีตจำนวนมาก บัดนี้กลายเป็นบริษัทที่ "มีปัญหา" ไล่ตั้งแต่อดีตยาวนาน ก็มี บริษัท เท็กซัสอินสตรูเม้นท์ ที่โด่งดังมากสมัย 40 ปีก่อน ที่ผมยังเรียนวิศวกรรมในมหาวิทยาลัยที่เป็นผู้ผลิตเครื่องคิดเลขเครื่องแรกๆ ของโลกและ ฟิลิปส์ ฟิชเชอร์ ปรมาจารย์การลงทุนคนหนึ่งที่ บัฟเฟตต์ ยกย่อง กล่าวถึงว่าเป็นบริษัทที่เป็น "ซูเปอร์สต็อก" แต่เดี๋ยวนี้ไม่รู้อยู่ไหน
ต่อมาก็มีบริษัท IBM คอมพิวเตอร์ หรือ BIG BLUE หรือ "ยักษ์สีฟ้า" สัญลักษณ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เป็นตัวแทนของอเมริกันที่เป็น "จ้าวแห่งเทคโนโลยีโลก" แต่แล้ว บริษัทเล็กๆ ก่อตั้งโดยเด็กอายุไม่ถึง 20 ปีชื่อ ไมโครซอฟท์ ก็ก้าวขึ้นมาแข่งขันด้วยซอฟต์แวร์ควบคุม "คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล" ที่ในที่สุดสามารถแย่งชิงการนำในธุรกิจคอมพิวเตอร์ และกลายเป็น "ราชันย์แห่งโลกของไอที" ในเวลาอันสั้น แม้บริษัท IBM ก็ยังยิ่งใหญ่อยู่ แต่บทบาทในฐานะผู้นำทางด้านธุรกิจก็แทบไม่เหลือแล้ว
มาถึงยุคของโทรคมนาคม เรามีโมโตโรล่า ที่ในยุคแรกของโทรศัพท์มือถือ ทุกคนต้องใช้เครื่องของโมโตโรล่า แต่แล้วในเวลาไม่นานนัก ทุกคนต่างต้องการใช้มือถือของโนเกีย บริษัทสุดยอดด้านไฮเทคจากฟินแลนด์ ที่อดีตถูกปรามาสว่าเป็น "ประเทศหลังเขาแห่งยุโรป" โนเกียกลายเป็นความภาคภูมิใจของฟินแลนด์และหุ้นโนเกีย ใหญ่คับตลาดหุ้นฟินแลนด์ แต่แล้ว โนเกียก็ประสบชะตากรรมแบบเดียวกับโมโตโรล่า เพราะบริษัทกำลังประสบกับปัญหา เนื่องจากแอ๊ปเปิ้ลได้เข้ามายึดกุมตลาดของสมาร์ทโฟนที่เป็นที่คลั่งไคล้ของ คนทั้งโลก หุ้นของแอ๊ปเปิ้ลกลายเป็นหุ้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ผมยังไม่ได้พูดถึงบริษัทไฮเทคที่เคยยิ่งใหญ่จำนวนมาก อาทิเช่น พานาโซนิค โซนี่ ชาร์ป หรือ บริษัทโกดัก ต่างก็ตกลงมาจากจุดสูง และแทนที่อาจจะโดยซัมซุงและบริษัทที่เคย "รองบ่อน" อื่นๆ เพราะคงไม่มีเนื้อที่พอที่จะกล่าวถึง และนี่ยังไม่นับผู้เล่นที่กำลังกลายเป็น "ราชัน" ใหม่ๆ อย่าง กูเกิลและเฟซบุ๊ค ประเด็นของผม คือ "ราชัน" ในวันนี้อาจกลายเป็น "ยาจก" ในวันข้างหน้าได้ บางทีในเวลาไม่นานนัก
อีกด้านหนึ่ง อุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงช้ามาก โค้ก เป็นเครื่องดื่มที่ยิ่งใหญ่ระดับโลกมาช้านานอาจจะเกือบร้อยปี ถึงวันนี้โค้กก็ยังยิ่งใหญ่เหมือนเดิม หรือยิ่งใหญ่ขึ้น โดยที่ไม่มีทีท่าว่าจะมีเครื่องดื่มชนิดไหนมาแซงได้ เช่นเดียวกัน แมคโดนัลด์ ก็เป็นอาหารที่ยิ่งใหญ่พอๆ กันและนับวันมันจะขยายไปทั่วโลก โดยที่ยังหาคนที่มาต่อกรได้ยาก นอกจากอาหารแล้ว ธุรกิจค้าปลีกประเภทขายสินค้าราคาถูกอย่างวอลมาร์ท คาร์ฟูร์ และเทสโก้ เหล่านี้ต่างก็เป็นผู้นำในตลาดของประเทศตนเอง และตลาดโลกมาช้านาน โดยที่ไม่มีความเสี่ยงที่จะมีคู่แข่งมาทำลายตำแหน่งของตนเองได้ เป็นที่น่าสังเกตว่าทั้งสองอุตสาหกรรมต่างก็เป็นธุรกิจ "โลว์เทค" ที่มีการใช้เทคโนโลยีน้อยมาก
อุตสาหกรรมที่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเร็วระดับกลางๆ ผมคิดว่า น่าจะอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความไวต่อสภาวะเศรษฐกิจ หรือมีความเกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยี ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมการเงินการธนาคาร ที่มักจะมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงภาวะวิกฤติที่ทำให้ผู้นำ หรือบริษัทที่โดดเด่นแต่บริหารงานอย่างไม่ระมัดระวังต้องประสบปัญหาล้มหาย ตายจากไปและมีบริษัทระดับรองก้าวขึ้นมาแทนที่ เช่นเดียวกัน การวางกลยุทธ์ หรือการบริหารงานที่ผิดพลาด อาจจะทำให้บริษัทที่เป็นผู้นำค่อยๆ เสียส่วนแบ่งการตลาดไปทีละน้อยจนในที่สุดกลายเป็นผู้ตามได้
กลับมาที่ตลาดหุ้นไทย ค่าที่ว่าเราไม่มีอุตสาหกรรมไฮเทคจริงๆ ผมจึงลองมาคิดดูว่าอุตสาหกรรมอะไร ที่น่าจะถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงเร็ว คำตอบของผมคือ ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะที่ทำเพื่อขาย เช่น บริษัทขายบ้านจัดสรร เหตุผลก็คือ นี่คือธุรกิจที่ต้อง "นับหนึ่งใหม่" ทุกปี เพราะลูกค้าเดิมไม่ซื้อซ้ำ ดังนั้น เราจึงเห็นบริษัทที่เป็นผู้นำอันดับหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก ระหว่างอันดับหนึ่งกับอันดับ 2 และ 3 ยอดขายไม่ได้ทิ้งห่างกัน และดูเหมือนว่าโอกาสที่อันดับหนึ่งอาจจะ "แพ้" เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
ธุรกิจการเงินเองซึ่งรวมถึงธนาคารด้วย ดูเหมือนว่า จะเปลี่ยนแปลงที่เร็วพอสมควร อันดับหรือความโดดเด่น อยู่ในระดับที่สู้กันได้อย่างน้อยใน 3 อันดับแรก ในธุรกิจหลักทรัพย์ ผมคิดว่ามีโอกาสที่ผู้นำจะเปลี่ยนแปลงได้เสมอ บางทีอาจจะเกิดขึ้นจากการขยายตัวภายใน หรืออาจจะมีการควบรวมกับรายอื่นทำให้สถานะและความสามารถในการแข่งขันเปลี่ยน แปลงไปในเวลาไม่นานนัก
เช่นเดียวกับต่างประเทศ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับอาหาร ค้าปลีก และอาจจะรวมถึงพลังงาน น่าจะเปลี่ยนแปลงไปช้า ผู้นำก็ยังคงเป็นผู้นำ ตำแหน่งทางการตลาด ไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปได้ง่าย เช่นเดียวกับผลประกอบการที่มักจะมีความสม่ำเสมอมากกว่าธุรกิจที่มีการ เปลี่ยนแปลงเร็ว
ธุรกิจไอที สื่อสาร บันเทิง สื่อ และสิ่งพิมพ์ น่าจะเปลี่ยนแปลงที่เร็วพอสมควร โดยเฉพาะช่วงที่มีเทคโนโลยีและการกำกับควบคุมใหม่ๆ เกิดขึ้น ในธุรกิจเหล่านี้ บางทีเราต้องระวังว่าผู้นำอาจจะเพลี่ยงพล้ำและผู้ตามหรือผู้เล่นหน้าใหม่ ขึ้นมากลายเป็น "ดารา" ได้
มองในมิติของหุ้น ผมเองไม่ชอบอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว เพราะบริษัทในอุตสาหกรรมจะมีความเสี่ยงมากกว่าปกติ บ่อยครั้งผมจะหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะถ้ากำลังอยู่ในช่วงที่เปลี่ยนแปลงรุนแรง แต่ถ้าผมคิดจะลงทุนในอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงเร็ว ผมมัก "ขอส่วนลด" หรือให้ค่า PE ของหุ้นต่ำกว่าหุ้นของบริษัทที่มีสถานะใกล้เคียงกันแต่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ "มั่นคง" กว่า
บทความนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ 8 พฤษภาคม 2555
ผลของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมที่ชัดเจน ก็คือ บริษัทที่เคยรุ่งเรืองและยิ่งใหญ่ กลายเป็นบริษัทที่ล้มเหลวตกต่ำลง ขณะเดียวกัน บริษัทที่เคยเป็นรอง หรือบริษัทขนาดเล็กเติบโตขึ้น กลายเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่แทนในระยะเวลาอันสั้น ลองมาดูกันว่าอุตสาหกรรมอะไรที่เปลี่ยนเร็ว และอุตสาหกรรมอะไรที่เปลี่ยนช้า
อุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงเร็วที่สุด คือ อุตสาหกรรมไฮเทคทั้งหลาย โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และการสื่อสารโทรคมนาคม เพราะนี่คือภาคอุตสาหกรรมที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทางเทคโนโลยีและการ ประยุกต์ใช้ ถ้าลองนึกย้อนหลังไปไม่นานนัก พบว่า บริษัทที่ยิ่งใหญ่ในอดีตจำนวนมาก บัดนี้กลายเป็นบริษัทที่ "มีปัญหา" ไล่ตั้งแต่อดีตยาวนาน ก็มี บริษัท เท็กซัสอินสตรูเม้นท์ ที่โด่งดังมากสมัย 40 ปีก่อน ที่ผมยังเรียนวิศวกรรมในมหาวิทยาลัยที่เป็นผู้ผลิตเครื่องคิดเลขเครื่องแรกๆ ของโลกและ ฟิลิปส์ ฟิชเชอร์ ปรมาจารย์การลงทุนคนหนึ่งที่ บัฟเฟตต์ ยกย่อง กล่าวถึงว่าเป็นบริษัทที่เป็น "ซูเปอร์สต็อก" แต่เดี๋ยวนี้ไม่รู้อยู่ไหน
ต่อมาก็มีบริษัท IBM คอมพิวเตอร์ หรือ BIG BLUE หรือ "ยักษ์สีฟ้า" สัญลักษณ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เป็นตัวแทนของอเมริกันที่เป็น "จ้าวแห่งเทคโนโลยีโลก" แต่แล้ว บริษัทเล็กๆ ก่อตั้งโดยเด็กอายุไม่ถึง 20 ปีชื่อ ไมโครซอฟท์ ก็ก้าวขึ้นมาแข่งขันด้วยซอฟต์แวร์ควบคุม "คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล" ที่ในที่สุดสามารถแย่งชิงการนำในธุรกิจคอมพิวเตอร์ และกลายเป็น "ราชันย์แห่งโลกของไอที" ในเวลาอันสั้น แม้บริษัท IBM ก็ยังยิ่งใหญ่อยู่ แต่บทบาทในฐานะผู้นำทางด้านธุรกิจก็แทบไม่เหลือแล้ว
มาถึงยุคของโทรคมนาคม เรามีโมโตโรล่า ที่ในยุคแรกของโทรศัพท์มือถือ ทุกคนต้องใช้เครื่องของโมโตโรล่า แต่แล้วในเวลาไม่นานนัก ทุกคนต่างต้องการใช้มือถือของโนเกีย บริษัทสุดยอดด้านไฮเทคจากฟินแลนด์ ที่อดีตถูกปรามาสว่าเป็น "ประเทศหลังเขาแห่งยุโรป" โนเกียกลายเป็นความภาคภูมิใจของฟินแลนด์และหุ้นโนเกีย ใหญ่คับตลาดหุ้นฟินแลนด์ แต่แล้ว โนเกียก็ประสบชะตากรรมแบบเดียวกับโมโตโรล่า เพราะบริษัทกำลังประสบกับปัญหา เนื่องจากแอ๊ปเปิ้ลได้เข้ามายึดกุมตลาดของสมาร์ทโฟนที่เป็นที่คลั่งไคล้ของ คนทั้งโลก หุ้นของแอ๊ปเปิ้ลกลายเป็นหุ้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ผมยังไม่ได้พูดถึงบริษัทไฮเทคที่เคยยิ่งใหญ่จำนวนมาก อาทิเช่น พานาโซนิค โซนี่ ชาร์ป หรือ บริษัทโกดัก ต่างก็ตกลงมาจากจุดสูง และแทนที่อาจจะโดยซัมซุงและบริษัทที่เคย "รองบ่อน" อื่นๆ เพราะคงไม่มีเนื้อที่พอที่จะกล่าวถึง และนี่ยังไม่นับผู้เล่นที่กำลังกลายเป็น "ราชัน" ใหม่ๆ อย่าง กูเกิลและเฟซบุ๊ค ประเด็นของผม คือ "ราชัน" ในวันนี้อาจกลายเป็น "ยาจก" ในวันข้างหน้าได้ บางทีในเวลาไม่นานนัก
อีกด้านหนึ่ง อุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงช้ามาก โค้ก เป็นเครื่องดื่มที่ยิ่งใหญ่ระดับโลกมาช้านานอาจจะเกือบร้อยปี ถึงวันนี้โค้กก็ยังยิ่งใหญ่เหมือนเดิม หรือยิ่งใหญ่ขึ้น โดยที่ไม่มีทีท่าว่าจะมีเครื่องดื่มชนิดไหนมาแซงได้ เช่นเดียวกัน แมคโดนัลด์ ก็เป็นอาหารที่ยิ่งใหญ่พอๆ กันและนับวันมันจะขยายไปทั่วโลก โดยที่ยังหาคนที่มาต่อกรได้ยาก นอกจากอาหารแล้ว ธุรกิจค้าปลีกประเภทขายสินค้าราคาถูกอย่างวอลมาร์ท คาร์ฟูร์ และเทสโก้ เหล่านี้ต่างก็เป็นผู้นำในตลาดของประเทศตนเอง และตลาดโลกมาช้านาน โดยที่ไม่มีความเสี่ยงที่จะมีคู่แข่งมาทำลายตำแหน่งของตนเองได้ เป็นที่น่าสังเกตว่าทั้งสองอุตสาหกรรมต่างก็เป็นธุรกิจ "โลว์เทค" ที่มีการใช้เทคโนโลยีน้อยมาก
อุตสาหกรรมที่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเร็วระดับกลางๆ ผมคิดว่า น่าจะอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความไวต่อสภาวะเศรษฐกิจ หรือมีความเกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยี ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมการเงินการธนาคาร ที่มักจะมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงภาวะวิกฤติที่ทำให้ผู้นำ หรือบริษัทที่โดดเด่นแต่บริหารงานอย่างไม่ระมัดระวังต้องประสบปัญหาล้มหาย ตายจากไปและมีบริษัทระดับรองก้าวขึ้นมาแทนที่ เช่นเดียวกัน การวางกลยุทธ์ หรือการบริหารงานที่ผิดพลาด อาจจะทำให้บริษัทที่เป็นผู้นำค่อยๆ เสียส่วนแบ่งการตลาดไปทีละน้อยจนในที่สุดกลายเป็นผู้ตามได้
กลับมาที่ตลาดหุ้นไทย ค่าที่ว่าเราไม่มีอุตสาหกรรมไฮเทคจริงๆ ผมจึงลองมาคิดดูว่าอุตสาหกรรมอะไร ที่น่าจะถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงเร็ว คำตอบของผมคือ ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะที่ทำเพื่อขาย เช่น บริษัทขายบ้านจัดสรร เหตุผลก็คือ นี่คือธุรกิจที่ต้อง "นับหนึ่งใหม่" ทุกปี เพราะลูกค้าเดิมไม่ซื้อซ้ำ ดังนั้น เราจึงเห็นบริษัทที่เป็นผู้นำอันดับหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก ระหว่างอันดับหนึ่งกับอันดับ 2 และ 3 ยอดขายไม่ได้ทิ้งห่างกัน และดูเหมือนว่าโอกาสที่อันดับหนึ่งอาจจะ "แพ้" เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
ธุรกิจการเงินเองซึ่งรวมถึงธนาคารด้วย ดูเหมือนว่า จะเปลี่ยนแปลงที่เร็วพอสมควร อันดับหรือความโดดเด่น อยู่ในระดับที่สู้กันได้อย่างน้อยใน 3 อันดับแรก ในธุรกิจหลักทรัพย์ ผมคิดว่ามีโอกาสที่ผู้นำจะเปลี่ยนแปลงได้เสมอ บางทีอาจจะเกิดขึ้นจากการขยายตัวภายใน หรืออาจจะมีการควบรวมกับรายอื่นทำให้สถานะและความสามารถในการแข่งขันเปลี่ยน แปลงไปในเวลาไม่นานนัก
เช่นเดียวกับต่างประเทศ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับอาหาร ค้าปลีก และอาจจะรวมถึงพลังงาน น่าจะเปลี่ยนแปลงไปช้า ผู้นำก็ยังคงเป็นผู้นำ ตำแหน่งทางการตลาด ไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปได้ง่าย เช่นเดียวกับผลประกอบการที่มักจะมีความสม่ำเสมอมากกว่าธุรกิจที่มีการ เปลี่ยนแปลงเร็ว
ธุรกิจไอที สื่อสาร บันเทิง สื่อ และสิ่งพิมพ์ น่าจะเปลี่ยนแปลงที่เร็วพอสมควร โดยเฉพาะช่วงที่มีเทคโนโลยีและการกำกับควบคุมใหม่ๆ เกิดขึ้น ในธุรกิจเหล่านี้ บางทีเราต้องระวังว่าผู้นำอาจจะเพลี่ยงพล้ำและผู้ตามหรือผู้เล่นหน้าใหม่ ขึ้นมากลายเป็น "ดารา" ได้
มองในมิติของหุ้น ผมเองไม่ชอบอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว เพราะบริษัทในอุตสาหกรรมจะมีความเสี่ยงมากกว่าปกติ บ่อยครั้งผมจะหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะถ้ากำลังอยู่ในช่วงที่เปลี่ยนแปลงรุนแรง แต่ถ้าผมคิดจะลงทุนในอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงเร็ว ผมมัก "ขอส่วนลด" หรือให้ค่า PE ของหุ้นต่ำกว่าหุ้นของบริษัทที่มีสถานะใกล้เคียงกันแต่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ "มั่นคง" กว่า
บทความนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ 8 พฤษภาคม 2555
ศึกชิงตา
ธุรกิจที่กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในช่วงนี้ ก็คือ ธุรกิจสื่อสารมวลชน
ต้นเหตุสำคัญ ก็คือ การเกิดขึ้นของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ประกอบกับการพัฒนาทางด้านของเทคโนโลยีการสื่อสารและคอมพิวเตอร์ที่ทำให้ สามารถขยายช่องทางของการสื่อสารออกไปมหาศาล ทำให้ต้นทุนของการสื่อสารต่ำลงไปมากในขณะที่คุณภาพของภาพและเสียงกลับสูง ขึ้นมาก
การเกิดขึ้นของ กสทช. และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ “การผูกขาด” ของสื่อที่มีมานานในประเทศไทยหมดหรือเกือบหมดไป ในอนาคตอีกไม่นานเราจะมีผู้เล่นหน้าใหม่เกิดขึ้นมากมายโดยเฉพาะในด้านของ โทรทัศน์ที่จะมีสถานีหรือช่องทีวีใหม่เป็นร้อย ๆ ช่อง ที่ส่งถึงผู้ชมได้ทั่วประเทศ ผ่านเครื่องมือสื่อสารต่างๆ ตั้งแต่ระบบดั้งเดิมที่เป็นเสาอากาศ ดาวเทียม สายเคเบิล และทางอินเทอร์เน็ต แต่ละช่องมีต้นทุนในการดำเนินการที่ต่ำมาก ดังนั้น การแข่งขันที่จะ “แย่งผู้ชม” จะรุนแรงมาก โดยที่กลยุทธ์สำคัญที่สุดในการดึงดูดคนดู ก็คือ การใช้ Content หรือเนื้อหาหรือข้อมูลที่น่าสนใจสำหรับผู้เข้ามาชม การแข่งขันเพื่อที่จะเอาชนะคู่แข่งในเกมที่น่าตื่นตาตื่นใจในครั้งนี้ผมอยาก จะเรียก ว่า “ศึกชิงตา” นั่นก็คือ ผู้ให้บริการทั้งหลายต่างก็ต้องพยายามยึด “สายตา” ของคนในประเทศให้มาดูรายการ หรือ Content ของตนเองให้มากที่สุด เพราะจำนวนคนดูจะเป็น “รายได้” ที่กิจการจะได้รับที่จะมาจากการโฆษณา ค่าบริการ และอื่นๆ
ประเด็นที่จะต้องตระหนักมากที่สุด ก็คือ ในขณะที่มีบริษัทและช่องทางใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมากมายที่จะเข้ามาช่วงชิง “ตา” แต่จำนวน “ตา” นั้น กลับมีจำนวน “เท่าเดิม” ความหมาย ก็คือ คนไทยนั้น ไม่ได้มีจำนวนเพิ่มขึ้น หรือเพิ่มขึ้นน้อยมาก เวลาที่จะใช้ตาเพื่อที่จะ “ดู” ก็ไม่น่าจะเพิ่มขึ้นมากนักแม้จะมีคนบอกว่าเด็กรุ่นใหม่ใช้สายตามากกว่าคน รุ่นก่อน ดังนั้น ถ้าเราคิดว่าจำนวน “ตา” หรือเวลาที่ใช้ในการ “ดู” ก็คือ “รายได้” ที่ผู้ให้บริการจะได้รับ ข้อสรุปของเรา ก็คือ รายได้จาก “ศึกชิงตา” ก็จะมีเท่าเดิมหรือใกล้เคียงกับของเดิม แต่ผู้ให้บริการกลับมีเพิ่มขึ้นซึ่งจะต้องมีต้นทุนเพิ่มขึ้นมาก ผลก็คือ ถ้ามองในแง่ของอุตสาหกรรมโดยรวมแล้ว ก็น่าจะเป็นว่า กำไรของอุตสาหกรรมจะลดลง ถ้ามองในรายละเอียดต่อไปก็น่าจะเป็นว่า ผู้เล่นที่มีอยู่เดิมที่อยู่ในสภาวะผูกขาดหรือกึ่งผูกขาด น่าจะมีกำไรน้อยลงเพราะมีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามา “แย่ง” หรือแบ่ง “ลูกตา” หรือลูกค้าไปบ้าง ส่วนรายใหม่ที่เข้ามานั้น รายที่ประสบความสำเร็จสูงก็อาจจะได้กำไร แต่หลายรายที่น่าจะมีจำนวนมากกว่าก็จะขาดทุน มันเป็นศึกที่น่าจะคล้ายกับสงครามที่คู่ต่อสู้ส่วนใหญ่ “เสียหาย” และมีผู้ได้ประโยชน์จริงๆ น้อยมาก
ผู้ให้บริการรายใหญ่เดิมนั้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ก็คือ จำนวนผู้ชมและ/หรือเวลาชมน่าจะค่อยๆ ลดลง เหตุผลก็คือ Content หรือเนื้อหาที่ดึงดูดมวลชนจำนวนมากนั้นจะดึงดูดคนได้น้อยลงเนื่องจากจะมีผู้ ดูบางส่วนที่มีความสนใจใน Content อื่นมากกว่าแต่ในอดีตพวกเขาไม่มีทางเลือกอื่น แต่เมื่อมีทางเลือกอื่นพวกเขาก็จะไป ตัวอย่างง่ายที่สุดก็เช่น คนที่ชอบชมละครหลังข่าว ถ้ามีละครหลายเรื่องมากขึ้นมาเสนอในเวลาเดียวกัน โอกาสก็เป็นไปได้ที่พวกเขาบางคนจะไปชมเรื่องอื่น เช่นเดียวกัน รายการข่าวนั้น คนที่เคยชมข่าวช่วงไพร์มไทม์เป็นประจำ เมื่อเขามีทางเลือกอื่น เขาอาจจะไปชมในช่องที่เป็นช่องข่าว ที่นำเสนอแต่ข่าวตลอดทั้งวัน ที่พวกเขาสะดวกที่จะรับชมได้ตลอดเวลา เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการรายใหญ่นั้น สิ่งที่พวกเขายังมีอยู่และรายเล็กและรายใหม่ไม่มี ก็คือ จำนวนหรือปริมาณคนดูที่มีจำนวนมากที่ทำให้ผู้ขายสินค้าที่ต้องการ “โฆษณาในวงกว้าง” จำเป็นต้องใช้บริการ ดังนั้น สิ่งที่รายใหญ่สามารถทำได้ ก็คือ การเพิ่มราคาค่าโฆษณา ซึ่งทำให้กิจการสามารถทำกำไรได้เพิ่มขึ้นเป็นกอบเป็นกำ เนื่องจากต้นทุนการผลิตและส่งรายการยังเท่าเดิม ประเด็นสำคัญก็คือ สถานีจะต้องรักษาคุณภาพหรือ Content ของรายการให้สามารถดึงดูดมวลชนจำนวนมากให้ได้ต่อเนื่องยาวนาน ในช่วงแรกๆ นั้นผมคิดว่าปัญหายังไม่มาก แต่เมื่อเวลาผ่านไป ผมเชื่อว่าผู้ชมก็จะค่อยๆ กระจายความสนใจในรายการหลากหลายขึ้นเรื่อยๆ เมื่อพวกเขาพบทางเลือกใหม่ๆ ที่หลากหลายมากขึ้น ผลก็คือ ผลประกอบการของทีวีช่องใหญ่ๆ น่าจะค่อยๆ ปรับตัวลดลงและอาจจะกลายเป็น “ตะวันตกดิน” ได้
ทีวีช่องใหม่ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นมากมายนั้น จุดขายก็คือ แย่งชิงผู้ชมที่มีความสนใจเฉพาะอย่าง เช่น ชิง “ตาของวัยรุ่น” เช่น ทำสถานีเพลงที่โดดเด่น บางสถานีอาจจะเน้น “ตาของผู้ใหญ่” ที่สนใจปัญหาของบ้านเมือง จึงทำสถานีข่าว บางสถานีอาจจะเน้น “ตาของเด็ก” จึงทำช่องการ์ตูน สถานีเหล่านี้ก็มักจะได้ผู้ชมจำนวนไม่มากซึ่งทำให้รายได้ที่ได้รับไม่สูง นัก อย่างไรก็ตาม ต้นทุนของการผลิตและออกอากาศก็อาจจะไม่สูงนักโดยเฉพาะบริษัทที่มี Content หรือเนื้อหาที่บริษัททำขึ้นเพื่อขายในช่องทางอื่นอยู่แล้ว ประเด็นที่เราอาจจะยังไม่รู้จนกว่าจะได้ทำจริง ๆ ก็คือ รายได้นั้นสูงกว่ารายจ่ายหรือไม่ ถ้าสูงกว่าก็มีกำไร แต่ถ้าต่ำกว่าก็ขาดทุน แต่ไม่ว่าในกรณีใด ความแน่นอนของผลประกอบก็อาจจะไม่สูงนัก เหตุผล ก็คือ ธุรกิจนี้จะมีการแข่งขันสูงและมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก
การเกิดขึ้นของช่องทีวีจำนวนมากนั้น ทำให้บริษัทที่ให้บริการด้านโทรคมนาคมมีลูกค้าและมีรายได้มากขึ้นชัดเจน ผู้ให้บริการในด้านนี้มักจะต้องเป็นรายใหญ่พอสมควรและต้องลงทุนค่อนข้างมาก ดังนั้น คู่แข่งที่จะเข้ามาใหม่จะค่อนข้างยากและต้องใช้เวลา ตัวอย่างก็คือ ผู้ให้บริการดาวเทียมสื่อสารและอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ดังนั้น ผลประกอบการของบริษัทเหล่านี้น่าจะดีขึ้น อย่างน้อยในช่วงแรกๆ ที่ผู้ให้บริการรายใหม่ยังไม่สามารถเข้ามาให้บริการได้ทัน
ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งกำลังจะมีการเปิดประมูลและให้บริการระบบ 3 G เป็นคู่แข่งรายใหม่ที่น่ากลัวมากใน “ศึกชิงตา” เหตุผล ก็คือ ในปัจจุบันนี้คนจำนวนมากใช้สายตาอยู่กับแทบเล็ตและสมาร์ทโฟนเป็นเวลานานมาก ในแต่ละวัน เวลาที่ใช้กับการสื่อสารเพื่อการสังคมหรือ Social Media นั้น น่าจะเข้ามาแย่งชิง “ตา” จากบริษัทที่ให้บริการทีวีไปไม่น้อย และนี่จะลดรายได้ของทีวีแต่ไปเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทให้บริการโทรศัพท์มือ ถือ
ผมคิดว่ายังมีสิ่งอื่น ๆ อีกมากที่พยายาม “แย่งชิงตา” ที่มีอยู่จำกัดและไม่ได้เติบโตมากนัก สิ่งต่างๆ เหล่านั้นบางอย่างเราก็ยังไม่รู้ บางอย่างก็อาจจะยังไม่เกิด แต่ผมมั่นใจว่ามันมีความหลากหลายมาก ผลก็คือ รายการหรือ Content ที่มีผู้ชมมากจริงๆ หรือมีเรทติ้งสูงมากๆ จะมีน้อยลงเรื่อยๆ ลักษณะอย่างนี้จะทำให้การทำกำไรสูงมากๆ ของช่องทีวีจะเป็นไปได้ยากขึ้นและธุรกิจทีวีในอนาคตอาจจะไม่เหมือนเดิมอีก ต่อไป
บทความนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ 1 พฤษภาคม 2555
ต้นเหตุสำคัญ ก็คือ การเกิดขึ้นของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ประกอบกับการพัฒนาทางด้านของเทคโนโลยีการสื่อสารและคอมพิวเตอร์ที่ทำให้ สามารถขยายช่องทางของการสื่อสารออกไปมหาศาล ทำให้ต้นทุนของการสื่อสารต่ำลงไปมากในขณะที่คุณภาพของภาพและเสียงกลับสูง ขึ้นมาก
การเกิดขึ้นของ กสทช. และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ “การผูกขาด” ของสื่อที่มีมานานในประเทศไทยหมดหรือเกือบหมดไป ในอนาคตอีกไม่นานเราจะมีผู้เล่นหน้าใหม่เกิดขึ้นมากมายโดยเฉพาะในด้านของ โทรทัศน์ที่จะมีสถานีหรือช่องทีวีใหม่เป็นร้อย ๆ ช่อง ที่ส่งถึงผู้ชมได้ทั่วประเทศ ผ่านเครื่องมือสื่อสารต่างๆ ตั้งแต่ระบบดั้งเดิมที่เป็นเสาอากาศ ดาวเทียม สายเคเบิล และทางอินเทอร์เน็ต แต่ละช่องมีต้นทุนในการดำเนินการที่ต่ำมาก ดังนั้น การแข่งขันที่จะ “แย่งผู้ชม” จะรุนแรงมาก โดยที่กลยุทธ์สำคัญที่สุดในการดึงดูดคนดู ก็คือ การใช้ Content หรือเนื้อหาหรือข้อมูลที่น่าสนใจสำหรับผู้เข้ามาชม การแข่งขันเพื่อที่จะเอาชนะคู่แข่งในเกมที่น่าตื่นตาตื่นใจในครั้งนี้ผมอยาก จะเรียก ว่า “ศึกชิงตา” นั่นก็คือ ผู้ให้บริการทั้งหลายต่างก็ต้องพยายามยึด “สายตา” ของคนในประเทศให้มาดูรายการ หรือ Content ของตนเองให้มากที่สุด เพราะจำนวนคนดูจะเป็น “รายได้” ที่กิจการจะได้รับที่จะมาจากการโฆษณา ค่าบริการ และอื่นๆ
ประเด็นที่จะต้องตระหนักมากที่สุด ก็คือ ในขณะที่มีบริษัทและช่องทางใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมากมายที่จะเข้ามาช่วงชิง “ตา” แต่จำนวน “ตา” นั้น กลับมีจำนวน “เท่าเดิม” ความหมาย ก็คือ คนไทยนั้น ไม่ได้มีจำนวนเพิ่มขึ้น หรือเพิ่มขึ้นน้อยมาก เวลาที่จะใช้ตาเพื่อที่จะ “ดู” ก็ไม่น่าจะเพิ่มขึ้นมากนักแม้จะมีคนบอกว่าเด็กรุ่นใหม่ใช้สายตามากกว่าคน รุ่นก่อน ดังนั้น ถ้าเราคิดว่าจำนวน “ตา” หรือเวลาที่ใช้ในการ “ดู” ก็คือ “รายได้” ที่ผู้ให้บริการจะได้รับ ข้อสรุปของเรา ก็คือ รายได้จาก “ศึกชิงตา” ก็จะมีเท่าเดิมหรือใกล้เคียงกับของเดิม แต่ผู้ให้บริการกลับมีเพิ่มขึ้นซึ่งจะต้องมีต้นทุนเพิ่มขึ้นมาก ผลก็คือ ถ้ามองในแง่ของอุตสาหกรรมโดยรวมแล้ว ก็น่าจะเป็นว่า กำไรของอุตสาหกรรมจะลดลง ถ้ามองในรายละเอียดต่อไปก็น่าจะเป็นว่า ผู้เล่นที่มีอยู่เดิมที่อยู่ในสภาวะผูกขาดหรือกึ่งผูกขาด น่าจะมีกำไรน้อยลงเพราะมีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามา “แย่ง” หรือแบ่ง “ลูกตา” หรือลูกค้าไปบ้าง ส่วนรายใหม่ที่เข้ามานั้น รายที่ประสบความสำเร็จสูงก็อาจจะได้กำไร แต่หลายรายที่น่าจะมีจำนวนมากกว่าก็จะขาดทุน มันเป็นศึกที่น่าจะคล้ายกับสงครามที่คู่ต่อสู้ส่วนใหญ่ “เสียหาย” และมีผู้ได้ประโยชน์จริงๆ น้อยมาก
ผู้ให้บริการรายใหญ่เดิมนั้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ก็คือ จำนวนผู้ชมและ/หรือเวลาชมน่าจะค่อยๆ ลดลง เหตุผลก็คือ Content หรือเนื้อหาที่ดึงดูดมวลชนจำนวนมากนั้นจะดึงดูดคนได้น้อยลงเนื่องจากจะมีผู้ ดูบางส่วนที่มีความสนใจใน Content อื่นมากกว่าแต่ในอดีตพวกเขาไม่มีทางเลือกอื่น แต่เมื่อมีทางเลือกอื่นพวกเขาก็จะไป ตัวอย่างง่ายที่สุดก็เช่น คนที่ชอบชมละครหลังข่าว ถ้ามีละครหลายเรื่องมากขึ้นมาเสนอในเวลาเดียวกัน โอกาสก็เป็นไปได้ที่พวกเขาบางคนจะไปชมเรื่องอื่น เช่นเดียวกัน รายการข่าวนั้น คนที่เคยชมข่าวช่วงไพร์มไทม์เป็นประจำ เมื่อเขามีทางเลือกอื่น เขาอาจจะไปชมในช่องที่เป็นช่องข่าว ที่นำเสนอแต่ข่าวตลอดทั้งวัน ที่พวกเขาสะดวกที่จะรับชมได้ตลอดเวลา เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการรายใหญ่นั้น สิ่งที่พวกเขายังมีอยู่และรายเล็กและรายใหม่ไม่มี ก็คือ จำนวนหรือปริมาณคนดูที่มีจำนวนมากที่ทำให้ผู้ขายสินค้าที่ต้องการ “โฆษณาในวงกว้าง” จำเป็นต้องใช้บริการ ดังนั้น สิ่งที่รายใหญ่สามารถทำได้ ก็คือ การเพิ่มราคาค่าโฆษณา ซึ่งทำให้กิจการสามารถทำกำไรได้เพิ่มขึ้นเป็นกอบเป็นกำ เนื่องจากต้นทุนการผลิตและส่งรายการยังเท่าเดิม ประเด็นสำคัญก็คือ สถานีจะต้องรักษาคุณภาพหรือ Content ของรายการให้สามารถดึงดูดมวลชนจำนวนมากให้ได้ต่อเนื่องยาวนาน ในช่วงแรกๆ นั้นผมคิดว่าปัญหายังไม่มาก แต่เมื่อเวลาผ่านไป ผมเชื่อว่าผู้ชมก็จะค่อยๆ กระจายความสนใจในรายการหลากหลายขึ้นเรื่อยๆ เมื่อพวกเขาพบทางเลือกใหม่ๆ ที่หลากหลายมากขึ้น ผลก็คือ ผลประกอบการของทีวีช่องใหญ่ๆ น่าจะค่อยๆ ปรับตัวลดลงและอาจจะกลายเป็น “ตะวันตกดิน” ได้
ทีวีช่องใหม่ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นมากมายนั้น จุดขายก็คือ แย่งชิงผู้ชมที่มีความสนใจเฉพาะอย่าง เช่น ชิง “ตาของวัยรุ่น” เช่น ทำสถานีเพลงที่โดดเด่น บางสถานีอาจจะเน้น “ตาของผู้ใหญ่” ที่สนใจปัญหาของบ้านเมือง จึงทำสถานีข่าว บางสถานีอาจจะเน้น “ตาของเด็ก” จึงทำช่องการ์ตูน สถานีเหล่านี้ก็มักจะได้ผู้ชมจำนวนไม่มากซึ่งทำให้รายได้ที่ได้รับไม่สูง นัก อย่างไรก็ตาม ต้นทุนของการผลิตและออกอากาศก็อาจจะไม่สูงนักโดยเฉพาะบริษัทที่มี Content หรือเนื้อหาที่บริษัททำขึ้นเพื่อขายในช่องทางอื่นอยู่แล้ว ประเด็นที่เราอาจจะยังไม่รู้จนกว่าจะได้ทำจริง ๆ ก็คือ รายได้นั้นสูงกว่ารายจ่ายหรือไม่ ถ้าสูงกว่าก็มีกำไร แต่ถ้าต่ำกว่าก็ขาดทุน แต่ไม่ว่าในกรณีใด ความแน่นอนของผลประกอบก็อาจจะไม่สูงนัก เหตุผล ก็คือ ธุรกิจนี้จะมีการแข่งขันสูงและมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก
การเกิดขึ้นของช่องทีวีจำนวนมากนั้น ทำให้บริษัทที่ให้บริการด้านโทรคมนาคมมีลูกค้าและมีรายได้มากขึ้นชัดเจน ผู้ให้บริการในด้านนี้มักจะต้องเป็นรายใหญ่พอสมควรและต้องลงทุนค่อนข้างมาก ดังนั้น คู่แข่งที่จะเข้ามาใหม่จะค่อนข้างยากและต้องใช้เวลา ตัวอย่างก็คือ ผู้ให้บริการดาวเทียมสื่อสารและอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ดังนั้น ผลประกอบการของบริษัทเหล่านี้น่าจะดีขึ้น อย่างน้อยในช่วงแรกๆ ที่ผู้ให้บริการรายใหม่ยังไม่สามารถเข้ามาให้บริการได้ทัน
ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งกำลังจะมีการเปิดประมูลและให้บริการระบบ 3 G เป็นคู่แข่งรายใหม่ที่น่ากลัวมากใน “ศึกชิงตา” เหตุผล ก็คือ ในปัจจุบันนี้คนจำนวนมากใช้สายตาอยู่กับแทบเล็ตและสมาร์ทโฟนเป็นเวลานานมาก ในแต่ละวัน เวลาที่ใช้กับการสื่อสารเพื่อการสังคมหรือ Social Media นั้น น่าจะเข้ามาแย่งชิง “ตา” จากบริษัทที่ให้บริการทีวีไปไม่น้อย และนี่จะลดรายได้ของทีวีแต่ไปเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทให้บริการโทรศัพท์มือ ถือ
ผมคิดว่ายังมีสิ่งอื่น ๆ อีกมากที่พยายาม “แย่งชิงตา” ที่มีอยู่จำกัดและไม่ได้เติบโตมากนัก สิ่งต่างๆ เหล่านั้นบางอย่างเราก็ยังไม่รู้ บางอย่างก็อาจจะยังไม่เกิด แต่ผมมั่นใจว่ามันมีความหลากหลายมาก ผลก็คือ รายการหรือ Content ที่มีผู้ชมมากจริงๆ หรือมีเรทติ้งสูงมากๆ จะมีน้อยลงเรื่อยๆ ลักษณะอย่างนี้จะทำให้การทำกำไรสูงมากๆ ของช่องทีวีจะเป็นไปได้ยากขึ้นและธุรกิจทีวีในอนาคตอาจจะไม่เหมือนเดิมอีก ต่อไป
บทความนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ 1 พฤษภาคม 2555
ผู้นำกับหุ้น
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว วอร์เรน บัฟเฟตต์
ออกมาให้ข่าวว่าเขาเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก
เขาบอกต่อว่ามันไม่ได้ลามไปจุดอื่นและไม่อันตรายถึงชีวิต
และยังคงทำงานต่อไปตามปกติ แพทย์และผู้เชี่ยวชาญต่างก็ลงความเห็นว่า
เขาคงไม่เป็นอะไร เพราะมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก
รักษาและประคองไม่ให้ลุกลามไปได้ยาวนานนับเป็นสิบๆ ปี
ส่วนใหญ่คนที่เป็นมักจะตายก่อนด้วยโรคอื่น เหนือสิ่งอื่นใด บัฟเฟตต์อายุ 81
ปีแล้ว ด้วยความเชื่อและเหตุผลดังกล่าว หุ้นเบิร์กไชร์แฮธะเวย์
จึงแทบไม่ถูกกระทบเลย ราคาหุ้นลดลงไปเพียง 1.3% ขณะที่ดัชนีดาวโจนส์ก็ลดลง
0.63% อยู่แล้วในวันนั้น
คำถามที่หลายคนอาจจะนึกขึ้นมาได้ คือ ถ้ามะเร็งที่พบ ไม่ใช่มะเร็งต่อมลูกหมากระยะที่หนึ่ง แต่มันกลายเป็นมะเร็งตับระยะที่ 3 หรือ 4 และแพทย์ลงความเห็นว่าเขาจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 6 เดือนล่ะ หุ้นเบิร์กไชร์จะตกลงมาแค่ไหน?
เหตุผล ก็คือ ผู้คนต่างเชื่อว่าบัฟเฟตต์กับเบิร์กไชร์แทบจะเป็น "สิ่งเดียวกัน" แทบจะใช้คำแทนกันได้ เพราะบัฟเฟตต์เป็นคนที่พลิกฟื้นเบิร์กไชร์จากธุรกิจสิ่งทอที่ กำลัง "ตาย" กลายเป็น "บริษัทลงทุน" ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก และสร้างความมั่งคั่งให้กับผู้ถือหุ้นมาก อย่างน้อยที่บริษัทจะสามารถทำได้ในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้น
ถ้า บัฟเฟตต์ตาย หุ้นเบิร์กไชร์จะเหลืออะไร เหนือสิ่งอื่นใด บริษัทเบิร์กไชร์ มีคนเพียงสิบกว่าคน นอกจากบัฟเฟตต์แล้ว ที่เหลือเป็นพนักงาน "ธุรการ" ที่ไม่ได้มีความสามารถอะไรในการลงทุน ที่ได้รับการพิสูจน์ว่าเก่งใกล้เคียง วอร์เรน บัฟเฟตต์ ดังนั้นถ้า บัฟเฟตต์ ตาย บริษัทเบิร์กไชร์จะ "เหลืออะไร" และราคาหุ้นเบิร์กไชร์ที่ซื้อขายในราคาหุ้นละ 121,310 ดอลลาร์ในวันนั้น หรือหุ้นละ 3.8 ล้านบาท จะตกลงมาเท่าไร
ในการตอบคำถามนั้น ผมอยากให้เราดูตัวอย่างของหุ้นแอ๊ปเปิ้ลคอมพิวเตอร์ ที่น่าจะมีเรื่องราวที่ใกล้เคียงกันมากในวันที่มีการประกาศ หรือวันที่รับรู้กันว่าผู้บริหารสูงสุด "กำลังจะตาย" ด้วยโรคร้าย
ประการ แรก คือ สตีฟ จ็อบส์ ซึ่งเป็นผู้นำ หรือผู้บริหารสูงสุด มีความสำคัญต่อบริษัทอย่างยิ่งยวด และคนเชื่อว่า สตีฟ จ็อบส์ ก็คือ แอ๊ปเปิ้ล และแอ๊ปเปิ้ล ก็คือ สตีฟ จ็อบส์ สองคำนี้แทบ "ใช้แทนกันได้" เพราะสตีฟ จ็อบส์ เป็นคนที่พลิกฟื้นธุรกิจของแอ๊ปเปิ้ลจากบริษัทที่กำลัง "พ่ายแพ้" ทุกด้าน กลายเป็นบริษัทไฮเทคมือหนึ่งของโลกที่สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่คนทั้งโลกต่างคลั่งไคล้อยากได้ไว้เป็นเจ้าของ ดังนั้น ถ้า สตีฟ จ็อบส์ ตาย แอ๊ปเปิ้ลจะเหลืออะไร
เรื่องราวต่อมา คือ สตีฟ จ็อบส์ ได้ สร้างความมั่งคั่งมโหฬารให้แก่ผู้ถือหุ้นแอ๊ปเปิ้ล อย่างน้อยที่บริษัทในตลาดหุ้นจะทำได้มาก่อนในประวัติศาสตร์เช่นเดียวกับที่ บัฟเฟตต์ ทำให้กับผู้ถือหุ้นเบิร์กไชร์ ช่วง 46 ปี นับจากปี 1966 ถึงปัจจุบัน ราคาหุ้นเบิร์กไชร์ปรับตัวขึ้นจากราคา 17.5 ดอลลาร์ เป็นกว่า 120,000 ดอลลาร์ คิดเป็นผลตอบแทนทบต้นปีละถึง 21.2% และทำให้ผู้ถือหุ้นจำนวนมากที่ถือหุ้นบริษัทมาตลอดกลายเป็น "มหาเศรษฐีเบิร์กไชร์" โดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลย
ส่วนกรณีแอ๊ป เปิ้ล ช่วง 8 ปี นับจาก สตีฟ จ็อบส์ กลับเข้ามาบริหารแอ๊ปเปิ้ล ที่ "กำลังจะตาย" อีกครั้งหนึ่งในช่วงกลางปี 2546 ถึงกลางปี 2554 ช่วงที่เขา "กำลังจะตาย" หุ้นแอ๊ปเปิ้ลปรับตัวขึ้นจากราคา 7 ดอลลาร์ เป็น 374 ดอลลาร์ หรือเป็นการเพิ่มขึ้นกว่า 50 เท่า คิดเป็นผลตอบแทนทบต้นถึงปีละ 77% คนที่ถือหุ้นแอ๊ปเปิ้ลโดยไม่ขายเลยน่าจะต้องกลายเป็น "มหาเศรษฐีแอ๊ปเปิ้ล" จำนวนไม่น้อยจากราคาหุ้นที่ขึ้นไป ที่น่าสังเกตยิ่งกว่านั้น คือ ทั้งหุ้นเบิร์กไชร์และแอ๊ปเปิ้ล ต่างไม่จ่ายปันผลเลยตลอดช่วงเวลาอันยาวนานดังกล่าว แม้ธุรกิจจะได้กำไรมหาศาลทุกปี
วันที่ สตีฟ จ็อบส์ ตายในวันที่ 5 ตุลาคม 2554 หุ้นแอ๊ปเปิ้ลแทบไม่ตกลงมาเลยจากราคา 378 ดอลลาร์ต่อหุ้น จริงอยู่ ข่าวความเจ็บป่วยของจ็อบส์ ออกมาเป็นระยะๆ และตลาดอาจจะรับรู้ข่าวมาตลอด ราคาหุ้นก็อาจจะสะท้อนมาตลอดอยู่แล้ว แต่กรณีนี้น่าจะเป็นแบบเดียวกับหุ้นเบิร์กไชร์เช่นกัน แม้จะไม่เคยมีข่าวว่าบัฟเฟตต์เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายใดๆ แต่ด้วยอายุที่ขึ้นต้นด้วยเลข 8 บัฟเฟตต์อาจจะต้องตายในไม่ช้าแน่นอน หรือไม่อย่างนั้น เขาอาจต้องปลดเกษียณ เพราะทำงานไม่ไหวได้ในเวลาอาจจะไม่เกิน 10 ปี การที่หุ้นเบิร์กไชร์แทบไม่กระทบกระเทือนเลยในวันที่เขาให้ข่าวเรื่องมะเร็ง จึงเป็นเรื่อง "ปกติ" เหมือนกับหุ้นแอ๊ปเปิ้ลในวันที่จ็อบส์ตาย
ประเด็น ต่อมาที่น่าสนใจ คือ เบิร์กไชร์จะเหลืออะไรถ้าไม่มีบัฟเฟตต์ นี่อาจจะคล้ายๆ กับแอ๊ปเปิ้ลที่ไม่มี สตีฟ จ็อบส์ หลังจาก จ็อบส์ ตายหรือกำลังจะตาย ทิม คุก คือ คนที่มาแทน เขาอาจจะไม่มีบารมี หรือความสามารถเท่าจ็อบส์ แต่เขาไม่ได้เริ่มต้นจากศูนย์ เขาเริ่มต้นเมื่อบริษัทแอ๊ปเปิล "มีทุกอย่างยกเว้นจ็อบส์" ดังนั้น การทำงานของเขาก็ง่ายขึ้นเยอะ เขาสามารถออกผลิตภัณฑ์ที่ "ทุกคนรอคอย" ได้แบบเดียวกับที่จ็อบส์ทำ สินค้าของแอ๊ปเปิ้ลขายดีเหมือนเดิม ว่าที่จริงขายดีกว่าเดิมด้วยซ้ำ กำไรไม่ต้องพูดถึง ดีขึ้นมาก
ตอนนี้ แอ๊ปเปิ้ล ก็คือ แอ๊ปเปิ้ล ไม่จำเป็นต้องมีจ็อบส์หรือทิมคุก ก็แข็งแกร่ง และดีพอที่จะต่อสู้และเอาชนะคู่แข่งได้ โดยที่ผู้บริหารสูงสุดไม่จำเป็นต้องโดดเด่นอีกต่อไป และผมก็เชื่อว่าในวันที่บัฟเฟตต์ไม่อยู่แล้ว เบิร์กไชร์ก็จะยังยิ่งใหญ่อยู่เหมือนเดิม เพราะเบิร์กไชร์ในวันนั้นจะ "มีทุกอย่างยกเว้นบัฟเฟตต์" เบิร์กไชร์ยังมีหุ้นของบริษัทที่เป็นซูเปอร์คอมปะนี หรือซูเปอร์สต็อกระดับโลก ที่ยังสร้างผลงานโดดเด่นไปอีกนานเท่านาน
นอก จากนั้น เบิร์กไชร์ยังหาบริษัทที่โดดเด่นลงทุนเพิ่มได้ตลอด เพราะชื่อเสียงและเม็ดเงินมหาศาลที่เบิร์กไชร์คุมอยู่ที่จะดึงดูดให้บริษัท ที่ต้องการเงินเข้ามาหา และด้วยปรัชญาและแนวทางการลงทุนที่ถูกกำหนดและปฏิบัติมานานโดยบัฟเฟตต์ ผมคิดว่าเบิร์กไชร์ ยังรักษาผลงานของตนเองไปได้อีกนาน แม้ไม่มีบัฟเฟตต์แล้ว
ราคา หุ้นของแอ๊ปเปิ้ลหลังจากจ็อบส์ตายจนถึงวันนี้เป็นเวลาประมาณกว่า 6 เดือน ได้ปรับตัวขึ้นจาก 378 เป็น 573 ดอลลาร์ หรือเพิ่มขึ้น 52% ขณะที่ดัชนีดาวโจนส์ปรับเพิ่มขึ้นเพียง 19% ในเวลาเดียวกัน และทำให้หุ้นแอ๊ปเปิ้ลเป็นหุ้นที่มีมูลค่าตลาดสูงสุดในโลกทิ้งห่างอันดับสอง ไปมาก
นี่เป็นเครื่องยืนยันว่า ธุรกิจที่ดีเยี่ยม และเป็นซูเปอร์สต็อก ไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้บริหารมากนัก แม้การที่บริษัทกลายเป็นซูเปอร์สต็อกได้ ก็เพราะมีผู้บริหารที่ดีสุดยอด ที่สร้างบริษัทขึ้นมาเหนือคู่แข่งทั้งมวล โดยนัยนี้ ผมคิดว่าหากบัฟเฟตต์เป็นอะไรไป ราคาหุ้นเบิร์กไชร์อาจไม่ถูกกระทบมากนัก
ดัง นั้น ใครที่ถือหุ้นเบิร์กไชร์ ก็ไม่ต้องกลัวว่าบัฟเฟตต์จะเป็นอะไร เพราะเขาต้องเป็นแน่ในวันใดวันหนึ่ง แต่หุ้นเบิร์กไชร์ อาจจะไม่เป็นอะไร และแน่นอน เรื่องทั้งหมดนี้ สามารถประยุกต์ใช้ได้กับหุ้นในทุกตลาดรวมถึงตลาดหุ้นไทยด้วย โดยข้อสรุปรวบยอดของผม คือ ช่วงที่บริษัทยังเล็ก และ/หรือ อ่อนด้อยอยู่ ฝีมือของผู้บริหารสูงสุดจะมีความสำคัญชี้เป็นชี้ตายได้ แต่เมื่อบริษัทก้าวหน้ามาจนถึงจุดสุดยอดหนึ่งแล้ว มันก็สามารถเดินได้ด้วยตนเอง และความสามารถของผู้บริหาร ก็อาจจะไม่ได้สร้างความแตกต่างมากนัก
คำถามที่หลายคนอาจจะนึกขึ้นมาได้ คือ ถ้ามะเร็งที่พบ ไม่ใช่มะเร็งต่อมลูกหมากระยะที่หนึ่ง แต่มันกลายเป็นมะเร็งตับระยะที่ 3 หรือ 4 และแพทย์ลงความเห็นว่าเขาจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 6 เดือนล่ะ หุ้นเบิร์กไชร์จะตกลงมาแค่ไหน?
เหตุผล ก็คือ ผู้คนต่างเชื่อว่าบัฟเฟตต์กับเบิร์กไชร์แทบจะเป็น "สิ่งเดียวกัน" แทบจะใช้คำแทนกันได้ เพราะบัฟเฟตต์เป็นคนที่พลิกฟื้นเบิร์กไชร์จากธุรกิจสิ่งทอที่ กำลัง "ตาย" กลายเป็น "บริษัทลงทุน" ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก และสร้างความมั่งคั่งให้กับผู้ถือหุ้นมาก อย่างน้อยที่บริษัทจะสามารถทำได้ในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้น
ถ้า บัฟเฟตต์ตาย หุ้นเบิร์กไชร์จะเหลืออะไร เหนือสิ่งอื่นใด บริษัทเบิร์กไชร์ มีคนเพียงสิบกว่าคน นอกจากบัฟเฟตต์แล้ว ที่เหลือเป็นพนักงาน "ธุรการ" ที่ไม่ได้มีความสามารถอะไรในการลงทุน ที่ได้รับการพิสูจน์ว่าเก่งใกล้เคียง วอร์เรน บัฟเฟตต์ ดังนั้นถ้า บัฟเฟตต์ ตาย บริษัทเบิร์กไชร์จะ "เหลืออะไร" และราคาหุ้นเบิร์กไชร์ที่ซื้อขายในราคาหุ้นละ 121,310 ดอลลาร์ในวันนั้น หรือหุ้นละ 3.8 ล้านบาท จะตกลงมาเท่าไร
ในการตอบคำถามนั้น ผมอยากให้เราดูตัวอย่างของหุ้นแอ๊ปเปิ้ลคอมพิวเตอร์ ที่น่าจะมีเรื่องราวที่ใกล้เคียงกันมากในวันที่มีการประกาศ หรือวันที่รับรู้กันว่าผู้บริหารสูงสุด "กำลังจะตาย" ด้วยโรคร้าย
ประการ แรก คือ สตีฟ จ็อบส์ ซึ่งเป็นผู้นำ หรือผู้บริหารสูงสุด มีความสำคัญต่อบริษัทอย่างยิ่งยวด และคนเชื่อว่า สตีฟ จ็อบส์ ก็คือ แอ๊ปเปิ้ล และแอ๊ปเปิ้ล ก็คือ สตีฟ จ็อบส์ สองคำนี้แทบ "ใช้แทนกันได้" เพราะสตีฟ จ็อบส์ เป็นคนที่พลิกฟื้นธุรกิจของแอ๊ปเปิ้ลจากบริษัทที่กำลัง "พ่ายแพ้" ทุกด้าน กลายเป็นบริษัทไฮเทคมือหนึ่งของโลกที่สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่คนทั้งโลกต่างคลั่งไคล้อยากได้ไว้เป็นเจ้าของ ดังนั้น ถ้า สตีฟ จ็อบส์ ตาย แอ๊ปเปิ้ลจะเหลืออะไร
เรื่องราวต่อมา คือ สตีฟ จ็อบส์ ได้ สร้างความมั่งคั่งมโหฬารให้แก่ผู้ถือหุ้นแอ๊ปเปิ้ล อย่างน้อยที่บริษัทในตลาดหุ้นจะทำได้มาก่อนในประวัติศาสตร์เช่นเดียวกับที่ บัฟเฟตต์ ทำให้กับผู้ถือหุ้นเบิร์กไชร์ ช่วง 46 ปี นับจากปี 1966 ถึงปัจจุบัน ราคาหุ้นเบิร์กไชร์ปรับตัวขึ้นจากราคา 17.5 ดอลลาร์ เป็นกว่า 120,000 ดอลลาร์ คิดเป็นผลตอบแทนทบต้นปีละถึง 21.2% และทำให้ผู้ถือหุ้นจำนวนมากที่ถือหุ้นบริษัทมาตลอดกลายเป็น "มหาเศรษฐีเบิร์กไชร์" โดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลย
ส่วนกรณีแอ๊ป เปิ้ล ช่วง 8 ปี นับจาก สตีฟ จ็อบส์ กลับเข้ามาบริหารแอ๊ปเปิ้ล ที่ "กำลังจะตาย" อีกครั้งหนึ่งในช่วงกลางปี 2546 ถึงกลางปี 2554 ช่วงที่เขา "กำลังจะตาย" หุ้นแอ๊ปเปิ้ลปรับตัวขึ้นจากราคา 7 ดอลลาร์ เป็น 374 ดอลลาร์ หรือเป็นการเพิ่มขึ้นกว่า 50 เท่า คิดเป็นผลตอบแทนทบต้นถึงปีละ 77% คนที่ถือหุ้นแอ๊ปเปิ้ลโดยไม่ขายเลยน่าจะต้องกลายเป็น "มหาเศรษฐีแอ๊ปเปิ้ล" จำนวนไม่น้อยจากราคาหุ้นที่ขึ้นไป ที่น่าสังเกตยิ่งกว่านั้น คือ ทั้งหุ้นเบิร์กไชร์และแอ๊ปเปิ้ล ต่างไม่จ่ายปันผลเลยตลอดช่วงเวลาอันยาวนานดังกล่าว แม้ธุรกิจจะได้กำไรมหาศาลทุกปี
วันที่ สตีฟ จ็อบส์ ตายในวันที่ 5 ตุลาคม 2554 หุ้นแอ๊ปเปิ้ลแทบไม่ตกลงมาเลยจากราคา 378 ดอลลาร์ต่อหุ้น จริงอยู่ ข่าวความเจ็บป่วยของจ็อบส์ ออกมาเป็นระยะๆ และตลาดอาจจะรับรู้ข่าวมาตลอด ราคาหุ้นก็อาจจะสะท้อนมาตลอดอยู่แล้ว แต่กรณีนี้น่าจะเป็นแบบเดียวกับหุ้นเบิร์กไชร์เช่นกัน แม้จะไม่เคยมีข่าวว่าบัฟเฟตต์เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายใดๆ แต่ด้วยอายุที่ขึ้นต้นด้วยเลข 8 บัฟเฟตต์อาจจะต้องตายในไม่ช้าแน่นอน หรือไม่อย่างนั้น เขาอาจต้องปลดเกษียณ เพราะทำงานไม่ไหวได้ในเวลาอาจจะไม่เกิน 10 ปี การที่หุ้นเบิร์กไชร์แทบไม่กระทบกระเทือนเลยในวันที่เขาให้ข่าวเรื่องมะเร็ง จึงเป็นเรื่อง "ปกติ" เหมือนกับหุ้นแอ๊ปเปิ้ลในวันที่จ็อบส์ตาย
ประเด็น ต่อมาที่น่าสนใจ คือ เบิร์กไชร์จะเหลืออะไรถ้าไม่มีบัฟเฟตต์ นี่อาจจะคล้ายๆ กับแอ๊ปเปิ้ลที่ไม่มี สตีฟ จ็อบส์ หลังจาก จ็อบส์ ตายหรือกำลังจะตาย ทิม คุก คือ คนที่มาแทน เขาอาจจะไม่มีบารมี หรือความสามารถเท่าจ็อบส์ แต่เขาไม่ได้เริ่มต้นจากศูนย์ เขาเริ่มต้นเมื่อบริษัทแอ๊ปเปิล "มีทุกอย่างยกเว้นจ็อบส์" ดังนั้น การทำงานของเขาก็ง่ายขึ้นเยอะ เขาสามารถออกผลิตภัณฑ์ที่ "ทุกคนรอคอย" ได้แบบเดียวกับที่จ็อบส์ทำ สินค้าของแอ๊ปเปิ้ลขายดีเหมือนเดิม ว่าที่จริงขายดีกว่าเดิมด้วยซ้ำ กำไรไม่ต้องพูดถึง ดีขึ้นมาก
ตอนนี้ แอ๊ปเปิ้ล ก็คือ แอ๊ปเปิ้ล ไม่จำเป็นต้องมีจ็อบส์หรือทิมคุก ก็แข็งแกร่ง และดีพอที่จะต่อสู้และเอาชนะคู่แข่งได้ โดยที่ผู้บริหารสูงสุดไม่จำเป็นต้องโดดเด่นอีกต่อไป และผมก็เชื่อว่าในวันที่บัฟเฟตต์ไม่อยู่แล้ว เบิร์กไชร์ก็จะยังยิ่งใหญ่อยู่เหมือนเดิม เพราะเบิร์กไชร์ในวันนั้นจะ "มีทุกอย่างยกเว้นบัฟเฟตต์" เบิร์กไชร์ยังมีหุ้นของบริษัทที่เป็นซูเปอร์คอมปะนี หรือซูเปอร์สต็อกระดับโลก ที่ยังสร้างผลงานโดดเด่นไปอีกนานเท่านาน
นอก จากนั้น เบิร์กไชร์ยังหาบริษัทที่โดดเด่นลงทุนเพิ่มได้ตลอด เพราะชื่อเสียงและเม็ดเงินมหาศาลที่เบิร์กไชร์คุมอยู่ที่จะดึงดูดให้บริษัท ที่ต้องการเงินเข้ามาหา และด้วยปรัชญาและแนวทางการลงทุนที่ถูกกำหนดและปฏิบัติมานานโดยบัฟเฟตต์ ผมคิดว่าเบิร์กไชร์ ยังรักษาผลงานของตนเองไปได้อีกนาน แม้ไม่มีบัฟเฟตต์แล้ว
ราคา หุ้นของแอ๊ปเปิ้ลหลังจากจ็อบส์ตายจนถึงวันนี้เป็นเวลาประมาณกว่า 6 เดือน ได้ปรับตัวขึ้นจาก 378 เป็น 573 ดอลลาร์ หรือเพิ่มขึ้น 52% ขณะที่ดัชนีดาวโจนส์ปรับเพิ่มขึ้นเพียง 19% ในเวลาเดียวกัน และทำให้หุ้นแอ๊ปเปิ้ลเป็นหุ้นที่มีมูลค่าตลาดสูงสุดในโลกทิ้งห่างอันดับสอง ไปมาก
นี่เป็นเครื่องยืนยันว่า ธุรกิจที่ดีเยี่ยม และเป็นซูเปอร์สต็อก ไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้บริหารมากนัก แม้การที่บริษัทกลายเป็นซูเปอร์สต็อกได้ ก็เพราะมีผู้บริหารที่ดีสุดยอด ที่สร้างบริษัทขึ้นมาเหนือคู่แข่งทั้งมวล โดยนัยนี้ ผมคิดว่าหากบัฟเฟตต์เป็นอะไรไป ราคาหุ้นเบิร์กไชร์อาจไม่ถูกกระทบมากนัก
ดัง นั้น ใครที่ถือหุ้นเบิร์กไชร์ ก็ไม่ต้องกลัวว่าบัฟเฟตต์จะเป็นอะไร เพราะเขาต้องเป็นแน่ในวันใดวันหนึ่ง แต่หุ้นเบิร์กไชร์ อาจจะไม่เป็นอะไร และแน่นอน เรื่องทั้งหมดนี้ สามารถประยุกต์ใช้ได้กับหุ้นในทุกตลาดรวมถึงตลาดหุ้นไทยด้วย โดยข้อสรุปรวบยอดของผม คือ ช่วงที่บริษัทยังเล็ก และ/หรือ อ่อนด้อยอยู่ ฝีมือของผู้บริหารสูงสุดจะมีความสำคัญชี้เป็นชี้ตายได้ แต่เมื่อบริษัทก้าวหน้ามาจนถึงจุดสุดยอดหนึ่งแล้ว มันก็สามารถเดินได้ด้วยตนเอง และความสามารถของผู้บริหาร ก็อาจจะไม่ได้สร้างความแตกต่างมากนัก
บทความนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ 24 เมษายน 2555
Subscribe to:
Posts (Atom)