เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว วอร์เรน บัฟเฟตต์
ออกมาให้ข่าวว่าเขาเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก
เขาบอกต่อว่ามันไม่ได้ลามไปจุดอื่นและไม่อันตรายถึงชีวิต
และยังคงทำงานต่อไปตามปกติ แพทย์และผู้เชี่ยวชาญต่างก็ลงความเห็นว่า
เขาคงไม่เป็นอะไร เพราะมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก
รักษาและประคองไม่ให้ลุกลามไปได้ยาวนานนับเป็นสิบๆ ปี
ส่วนใหญ่คนที่เป็นมักจะตายก่อนด้วยโรคอื่น เหนือสิ่งอื่นใด บัฟเฟตต์อายุ 81
ปีแล้ว ด้วยความเชื่อและเหตุผลดังกล่าว หุ้นเบิร์กไชร์แฮธะเวย์
จึงแทบไม่ถูกกระทบเลย ราคาหุ้นลดลงไปเพียง 1.3% ขณะที่ดัชนีดาวโจนส์ก็ลดลง
0.63% อยู่แล้วในวันนั้น
คำถามที่หลายคนอาจจะนึกขึ้นมาได้ คือ ถ้ามะเร็งที่พบ ไม่ใช่มะเร็งต่อมลูกหมากระยะที่หนึ่ง แต่มันกลายเป็นมะเร็งตับระยะที่ 3 หรือ 4 และแพทย์ลงความเห็นว่าเขาจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 6 เดือนล่ะ หุ้นเบิร์กไชร์จะตกลงมาแค่ไหน?
เหตุผล ก็คือ ผู้คนต่างเชื่อว่าบัฟเฟตต์กับเบิร์กไชร์แทบจะเป็น "สิ่งเดียวกัน" แทบจะใช้คำแทนกันได้ เพราะบัฟเฟตต์เป็นคนที่พลิกฟื้นเบิร์กไชร์จากธุรกิจสิ่งทอที่ กำลัง "ตาย" กลายเป็น "บริษัทลงทุน" ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก และสร้างความมั่งคั่งให้กับผู้ถือหุ้นมาก อย่างน้อยที่บริษัทจะสามารถทำได้ในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้น
ถ้า บัฟเฟตต์ตาย หุ้นเบิร์กไชร์จะเหลืออะไร เหนือสิ่งอื่นใด บริษัทเบิร์กไชร์ มีคนเพียงสิบกว่าคน นอกจากบัฟเฟตต์แล้ว ที่เหลือเป็นพนักงาน "ธุรการ" ที่ไม่ได้มีความสามารถอะไรในการลงทุน ที่ได้รับการพิสูจน์ว่าเก่งใกล้เคียง วอร์เรน บัฟเฟตต์ ดังนั้นถ้า บัฟเฟตต์ ตาย บริษัทเบิร์กไชร์จะ "เหลืออะไร" และราคาหุ้นเบิร์กไชร์ที่ซื้อขายในราคาหุ้นละ 121,310 ดอลลาร์ในวันนั้น หรือหุ้นละ 3.8 ล้านบาท จะตกลงมาเท่าไร
ในการตอบคำถามนั้น ผมอยากให้เราดูตัวอย่างของหุ้นแอ๊ปเปิ้ลคอมพิวเตอร์ ที่น่าจะมีเรื่องราวที่ใกล้เคียงกันมากในวันที่มีการประกาศ หรือวันที่รับรู้กันว่าผู้บริหารสูงสุด "กำลังจะตาย" ด้วยโรคร้าย
ประการ แรก คือ สตีฟ จ็อบส์ ซึ่งเป็นผู้นำ หรือผู้บริหารสูงสุด มีความสำคัญต่อบริษัทอย่างยิ่งยวด และคนเชื่อว่า สตีฟ จ็อบส์ ก็คือ แอ๊ปเปิ้ล และแอ๊ปเปิ้ล ก็คือ สตีฟ จ็อบส์ สองคำนี้แทบ "ใช้แทนกันได้" เพราะสตีฟ จ็อบส์ เป็นคนที่พลิกฟื้นธุรกิจของแอ๊ปเปิ้ลจากบริษัทที่กำลัง "พ่ายแพ้" ทุกด้าน กลายเป็นบริษัทไฮเทคมือหนึ่งของโลกที่สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่คนทั้งโลกต่างคลั่งไคล้อยากได้ไว้เป็นเจ้าของ ดังนั้น ถ้า สตีฟ จ็อบส์ ตาย แอ๊ปเปิ้ลจะเหลืออะไร
เรื่องราวต่อมา คือ สตีฟ จ็อบส์ ได้ สร้างความมั่งคั่งมโหฬารให้แก่ผู้ถือหุ้นแอ๊ปเปิ้ล อย่างน้อยที่บริษัทในตลาดหุ้นจะทำได้มาก่อนในประวัติศาสตร์เช่นเดียวกับที่ บัฟเฟตต์ ทำให้กับผู้ถือหุ้นเบิร์กไชร์ ช่วง 46 ปี นับจากปี 1966 ถึงปัจจุบัน ราคาหุ้นเบิร์กไชร์ปรับตัวขึ้นจากราคา 17.5 ดอลลาร์ เป็นกว่า 120,000 ดอลลาร์ คิดเป็นผลตอบแทนทบต้นปีละถึง 21.2% และทำให้ผู้ถือหุ้นจำนวนมากที่ถือหุ้นบริษัทมาตลอดกลายเป็น "มหาเศรษฐีเบิร์กไชร์" โดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลย
ส่วนกรณีแอ๊ป เปิ้ล ช่วง 8 ปี นับจาก สตีฟ จ็อบส์ กลับเข้ามาบริหารแอ๊ปเปิ้ล ที่ "กำลังจะตาย" อีกครั้งหนึ่งในช่วงกลางปี 2546 ถึงกลางปี 2554 ช่วงที่เขา "กำลังจะตาย" หุ้นแอ๊ปเปิ้ลปรับตัวขึ้นจากราคา 7 ดอลลาร์ เป็น 374 ดอลลาร์ หรือเป็นการเพิ่มขึ้นกว่า 50 เท่า คิดเป็นผลตอบแทนทบต้นถึงปีละ 77% คนที่ถือหุ้นแอ๊ปเปิ้ลโดยไม่ขายเลยน่าจะต้องกลายเป็น "มหาเศรษฐีแอ๊ปเปิ้ล" จำนวนไม่น้อยจากราคาหุ้นที่ขึ้นไป ที่น่าสังเกตยิ่งกว่านั้น คือ ทั้งหุ้นเบิร์กไชร์และแอ๊ปเปิ้ล ต่างไม่จ่ายปันผลเลยตลอดช่วงเวลาอันยาวนานดังกล่าว แม้ธุรกิจจะได้กำไรมหาศาลทุกปี
วันที่ สตีฟ จ็อบส์ ตายในวันที่ 5 ตุลาคม 2554 หุ้นแอ๊ปเปิ้ลแทบไม่ตกลงมาเลยจากราคา 378 ดอลลาร์ต่อหุ้น จริงอยู่ ข่าวความเจ็บป่วยของจ็อบส์ ออกมาเป็นระยะๆ และตลาดอาจจะรับรู้ข่าวมาตลอด ราคาหุ้นก็อาจจะสะท้อนมาตลอดอยู่แล้ว แต่กรณีนี้น่าจะเป็นแบบเดียวกับหุ้นเบิร์กไชร์เช่นกัน แม้จะไม่เคยมีข่าวว่าบัฟเฟตต์เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายใดๆ แต่ด้วยอายุที่ขึ้นต้นด้วยเลข 8 บัฟเฟตต์อาจจะต้องตายในไม่ช้าแน่นอน หรือไม่อย่างนั้น เขาอาจต้องปลดเกษียณ เพราะทำงานไม่ไหวได้ในเวลาอาจจะไม่เกิน 10 ปี การที่หุ้นเบิร์กไชร์แทบไม่กระทบกระเทือนเลยในวันที่เขาให้ข่าวเรื่องมะเร็ง จึงเป็นเรื่อง "ปกติ" เหมือนกับหุ้นแอ๊ปเปิ้ลในวันที่จ็อบส์ตาย
ประเด็น ต่อมาที่น่าสนใจ คือ เบิร์กไชร์จะเหลืออะไรถ้าไม่มีบัฟเฟตต์ นี่อาจจะคล้ายๆ กับแอ๊ปเปิ้ลที่ไม่มี สตีฟ จ็อบส์ หลังจาก จ็อบส์ ตายหรือกำลังจะตาย ทิม คุก คือ คนที่มาแทน เขาอาจจะไม่มีบารมี หรือความสามารถเท่าจ็อบส์ แต่เขาไม่ได้เริ่มต้นจากศูนย์ เขาเริ่มต้นเมื่อบริษัทแอ๊ปเปิล "มีทุกอย่างยกเว้นจ็อบส์" ดังนั้น การทำงานของเขาก็ง่ายขึ้นเยอะ เขาสามารถออกผลิตภัณฑ์ที่ "ทุกคนรอคอย" ได้แบบเดียวกับที่จ็อบส์ทำ สินค้าของแอ๊ปเปิ้ลขายดีเหมือนเดิม ว่าที่จริงขายดีกว่าเดิมด้วยซ้ำ กำไรไม่ต้องพูดถึง ดีขึ้นมาก
ตอนนี้ แอ๊ปเปิ้ล ก็คือ แอ๊ปเปิ้ล ไม่จำเป็นต้องมีจ็อบส์หรือทิมคุก ก็แข็งแกร่ง และดีพอที่จะต่อสู้และเอาชนะคู่แข่งได้ โดยที่ผู้บริหารสูงสุดไม่จำเป็นต้องโดดเด่นอีกต่อไป และผมก็เชื่อว่าในวันที่บัฟเฟตต์ไม่อยู่แล้ว เบิร์กไชร์ก็จะยังยิ่งใหญ่อยู่เหมือนเดิม เพราะเบิร์กไชร์ในวันนั้นจะ "มีทุกอย่างยกเว้นบัฟเฟตต์" เบิร์กไชร์ยังมีหุ้นของบริษัทที่เป็นซูเปอร์คอมปะนี หรือซูเปอร์สต็อกระดับโลก ที่ยังสร้างผลงานโดดเด่นไปอีกนานเท่านาน
นอก จากนั้น เบิร์กไชร์ยังหาบริษัทที่โดดเด่นลงทุนเพิ่มได้ตลอด เพราะชื่อเสียงและเม็ดเงินมหาศาลที่เบิร์กไชร์คุมอยู่ที่จะดึงดูดให้บริษัท ที่ต้องการเงินเข้ามาหา และด้วยปรัชญาและแนวทางการลงทุนที่ถูกกำหนดและปฏิบัติมานานโดยบัฟเฟตต์ ผมคิดว่าเบิร์กไชร์ ยังรักษาผลงานของตนเองไปได้อีกนาน แม้ไม่มีบัฟเฟตต์แล้ว
ราคา หุ้นของแอ๊ปเปิ้ลหลังจากจ็อบส์ตายจนถึงวันนี้เป็นเวลาประมาณกว่า 6 เดือน ได้ปรับตัวขึ้นจาก 378 เป็น 573 ดอลลาร์ หรือเพิ่มขึ้น 52% ขณะที่ดัชนีดาวโจนส์ปรับเพิ่มขึ้นเพียง 19% ในเวลาเดียวกัน และทำให้หุ้นแอ๊ปเปิ้ลเป็นหุ้นที่มีมูลค่าตลาดสูงสุดในโลกทิ้งห่างอันดับสอง ไปมาก
นี่เป็นเครื่องยืนยันว่า ธุรกิจที่ดีเยี่ยม และเป็นซูเปอร์สต็อก ไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้บริหารมากนัก แม้การที่บริษัทกลายเป็นซูเปอร์สต็อกได้ ก็เพราะมีผู้บริหารที่ดีสุดยอด ที่สร้างบริษัทขึ้นมาเหนือคู่แข่งทั้งมวล โดยนัยนี้ ผมคิดว่าหากบัฟเฟตต์เป็นอะไรไป ราคาหุ้นเบิร์กไชร์อาจไม่ถูกกระทบมากนัก
ดัง นั้น ใครที่ถือหุ้นเบิร์กไชร์ ก็ไม่ต้องกลัวว่าบัฟเฟตต์จะเป็นอะไร เพราะเขาต้องเป็นแน่ในวันใดวันหนึ่ง แต่หุ้นเบิร์กไชร์ อาจจะไม่เป็นอะไร และแน่นอน เรื่องทั้งหมดนี้ สามารถประยุกต์ใช้ได้กับหุ้นในทุกตลาดรวมถึงตลาดหุ้นไทยด้วย โดยข้อสรุปรวบยอดของผม คือ ช่วงที่บริษัทยังเล็ก และ/หรือ อ่อนด้อยอยู่ ฝีมือของผู้บริหารสูงสุดจะมีความสำคัญชี้เป็นชี้ตายได้ แต่เมื่อบริษัทก้าวหน้ามาจนถึงจุดสุดยอดหนึ่งแล้ว มันก็สามารถเดินได้ด้วยตนเอง และความสามารถของผู้บริหาร ก็อาจจะไม่ได้สร้างความแตกต่างมากนัก
คำถามที่หลายคนอาจจะนึกขึ้นมาได้ คือ ถ้ามะเร็งที่พบ ไม่ใช่มะเร็งต่อมลูกหมากระยะที่หนึ่ง แต่มันกลายเป็นมะเร็งตับระยะที่ 3 หรือ 4 และแพทย์ลงความเห็นว่าเขาจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 6 เดือนล่ะ หุ้นเบิร์กไชร์จะตกลงมาแค่ไหน?
เหตุผล ก็คือ ผู้คนต่างเชื่อว่าบัฟเฟตต์กับเบิร์กไชร์แทบจะเป็น "สิ่งเดียวกัน" แทบจะใช้คำแทนกันได้ เพราะบัฟเฟตต์เป็นคนที่พลิกฟื้นเบิร์กไชร์จากธุรกิจสิ่งทอที่ กำลัง "ตาย" กลายเป็น "บริษัทลงทุน" ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก และสร้างความมั่งคั่งให้กับผู้ถือหุ้นมาก อย่างน้อยที่บริษัทจะสามารถทำได้ในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้น
ถ้า บัฟเฟตต์ตาย หุ้นเบิร์กไชร์จะเหลืออะไร เหนือสิ่งอื่นใด บริษัทเบิร์กไชร์ มีคนเพียงสิบกว่าคน นอกจากบัฟเฟตต์แล้ว ที่เหลือเป็นพนักงาน "ธุรการ" ที่ไม่ได้มีความสามารถอะไรในการลงทุน ที่ได้รับการพิสูจน์ว่าเก่งใกล้เคียง วอร์เรน บัฟเฟตต์ ดังนั้นถ้า บัฟเฟตต์ ตาย บริษัทเบิร์กไชร์จะ "เหลืออะไร" และราคาหุ้นเบิร์กไชร์ที่ซื้อขายในราคาหุ้นละ 121,310 ดอลลาร์ในวันนั้น หรือหุ้นละ 3.8 ล้านบาท จะตกลงมาเท่าไร
ในการตอบคำถามนั้น ผมอยากให้เราดูตัวอย่างของหุ้นแอ๊ปเปิ้ลคอมพิวเตอร์ ที่น่าจะมีเรื่องราวที่ใกล้เคียงกันมากในวันที่มีการประกาศ หรือวันที่รับรู้กันว่าผู้บริหารสูงสุด "กำลังจะตาย" ด้วยโรคร้าย
ประการ แรก คือ สตีฟ จ็อบส์ ซึ่งเป็นผู้นำ หรือผู้บริหารสูงสุด มีความสำคัญต่อบริษัทอย่างยิ่งยวด และคนเชื่อว่า สตีฟ จ็อบส์ ก็คือ แอ๊ปเปิ้ล และแอ๊ปเปิ้ล ก็คือ สตีฟ จ็อบส์ สองคำนี้แทบ "ใช้แทนกันได้" เพราะสตีฟ จ็อบส์ เป็นคนที่พลิกฟื้นธุรกิจของแอ๊ปเปิ้ลจากบริษัทที่กำลัง "พ่ายแพ้" ทุกด้าน กลายเป็นบริษัทไฮเทคมือหนึ่งของโลกที่สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่คนทั้งโลกต่างคลั่งไคล้อยากได้ไว้เป็นเจ้าของ ดังนั้น ถ้า สตีฟ จ็อบส์ ตาย แอ๊ปเปิ้ลจะเหลืออะไร
เรื่องราวต่อมา คือ สตีฟ จ็อบส์ ได้ สร้างความมั่งคั่งมโหฬารให้แก่ผู้ถือหุ้นแอ๊ปเปิ้ล อย่างน้อยที่บริษัทในตลาดหุ้นจะทำได้มาก่อนในประวัติศาสตร์เช่นเดียวกับที่ บัฟเฟตต์ ทำให้กับผู้ถือหุ้นเบิร์กไชร์ ช่วง 46 ปี นับจากปี 1966 ถึงปัจจุบัน ราคาหุ้นเบิร์กไชร์ปรับตัวขึ้นจากราคา 17.5 ดอลลาร์ เป็นกว่า 120,000 ดอลลาร์ คิดเป็นผลตอบแทนทบต้นปีละถึง 21.2% และทำให้ผู้ถือหุ้นจำนวนมากที่ถือหุ้นบริษัทมาตลอดกลายเป็น "มหาเศรษฐีเบิร์กไชร์" โดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลย
ส่วนกรณีแอ๊ป เปิ้ล ช่วง 8 ปี นับจาก สตีฟ จ็อบส์ กลับเข้ามาบริหารแอ๊ปเปิ้ล ที่ "กำลังจะตาย" อีกครั้งหนึ่งในช่วงกลางปี 2546 ถึงกลางปี 2554 ช่วงที่เขา "กำลังจะตาย" หุ้นแอ๊ปเปิ้ลปรับตัวขึ้นจากราคา 7 ดอลลาร์ เป็น 374 ดอลลาร์ หรือเป็นการเพิ่มขึ้นกว่า 50 เท่า คิดเป็นผลตอบแทนทบต้นถึงปีละ 77% คนที่ถือหุ้นแอ๊ปเปิ้ลโดยไม่ขายเลยน่าจะต้องกลายเป็น "มหาเศรษฐีแอ๊ปเปิ้ล" จำนวนไม่น้อยจากราคาหุ้นที่ขึ้นไป ที่น่าสังเกตยิ่งกว่านั้น คือ ทั้งหุ้นเบิร์กไชร์และแอ๊ปเปิ้ล ต่างไม่จ่ายปันผลเลยตลอดช่วงเวลาอันยาวนานดังกล่าว แม้ธุรกิจจะได้กำไรมหาศาลทุกปี
วันที่ สตีฟ จ็อบส์ ตายในวันที่ 5 ตุลาคม 2554 หุ้นแอ๊ปเปิ้ลแทบไม่ตกลงมาเลยจากราคา 378 ดอลลาร์ต่อหุ้น จริงอยู่ ข่าวความเจ็บป่วยของจ็อบส์ ออกมาเป็นระยะๆ และตลาดอาจจะรับรู้ข่าวมาตลอด ราคาหุ้นก็อาจจะสะท้อนมาตลอดอยู่แล้ว แต่กรณีนี้น่าจะเป็นแบบเดียวกับหุ้นเบิร์กไชร์เช่นกัน แม้จะไม่เคยมีข่าวว่าบัฟเฟตต์เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายใดๆ แต่ด้วยอายุที่ขึ้นต้นด้วยเลข 8 บัฟเฟตต์อาจจะต้องตายในไม่ช้าแน่นอน หรือไม่อย่างนั้น เขาอาจต้องปลดเกษียณ เพราะทำงานไม่ไหวได้ในเวลาอาจจะไม่เกิน 10 ปี การที่หุ้นเบิร์กไชร์แทบไม่กระทบกระเทือนเลยในวันที่เขาให้ข่าวเรื่องมะเร็ง จึงเป็นเรื่อง "ปกติ" เหมือนกับหุ้นแอ๊ปเปิ้ลในวันที่จ็อบส์ตาย
ประเด็น ต่อมาที่น่าสนใจ คือ เบิร์กไชร์จะเหลืออะไรถ้าไม่มีบัฟเฟตต์ นี่อาจจะคล้ายๆ กับแอ๊ปเปิ้ลที่ไม่มี สตีฟ จ็อบส์ หลังจาก จ็อบส์ ตายหรือกำลังจะตาย ทิม คุก คือ คนที่มาแทน เขาอาจจะไม่มีบารมี หรือความสามารถเท่าจ็อบส์ แต่เขาไม่ได้เริ่มต้นจากศูนย์ เขาเริ่มต้นเมื่อบริษัทแอ๊ปเปิล "มีทุกอย่างยกเว้นจ็อบส์" ดังนั้น การทำงานของเขาก็ง่ายขึ้นเยอะ เขาสามารถออกผลิตภัณฑ์ที่ "ทุกคนรอคอย" ได้แบบเดียวกับที่จ็อบส์ทำ สินค้าของแอ๊ปเปิ้ลขายดีเหมือนเดิม ว่าที่จริงขายดีกว่าเดิมด้วยซ้ำ กำไรไม่ต้องพูดถึง ดีขึ้นมาก
ตอนนี้ แอ๊ปเปิ้ล ก็คือ แอ๊ปเปิ้ล ไม่จำเป็นต้องมีจ็อบส์หรือทิมคุก ก็แข็งแกร่ง และดีพอที่จะต่อสู้และเอาชนะคู่แข่งได้ โดยที่ผู้บริหารสูงสุดไม่จำเป็นต้องโดดเด่นอีกต่อไป และผมก็เชื่อว่าในวันที่บัฟเฟตต์ไม่อยู่แล้ว เบิร์กไชร์ก็จะยังยิ่งใหญ่อยู่เหมือนเดิม เพราะเบิร์กไชร์ในวันนั้นจะ "มีทุกอย่างยกเว้นบัฟเฟตต์" เบิร์กไชร์ยังมีหุ้นของบริษัทที่เป็นซูเปอร์คอมปะนี หรือซูเปอร์สต็อกระดับโลก ที่ยังสร้างผลงานโดดเด่นไปอีกนานเท่านาน
นอก จากนั้น เบิร์กไชร์ยังหาบริษัทที่โดดเด่นลงทุนเพิ่มได้ตลอด เพราะชื่อเสียงและเม็ดเงินมหาศาลที่เบิร์กไชร์คุมอยู่ที่จะดึงดูดให้บริษัท ที่ต้องการเงินเข้ามาหา และด้วยปรัชญาและแนวทางการลงทุนที่ถูกกำหนดและปฏิบัติมานานโดยบัฟเฟตต์ ผมคิดว่าเบิร์กไชร์ ยังรักษาผลงานของตนเองไปได้อีกนาน แม้ไม่มีบัฟเฟตต์แล้ว
ราคา หุ้นของแอ๊ปเปิ้ลหลังจากจ็อบส์ตายจนถึงวันนี้เป็นเวลาประมาณกว่า 6 เดือน ได้ปรับตัวขึ้นจาก 378 เป็น 573 ดอลลาร์ หรือเพิ่มขึ้น 52% ขณะที่ดัชนีดาวโจนส์ปรับเพิ่มขึ้นเพียง 19% ในเวลาเดียวกัน และทำให้หุ้นแอ๊ปเปิ้ลเป็นหุ้นที่มีมูลค่าตลาดสูงสุดในโลกทิ้งห่างอันดับสอง ไปมาก
นี่เป็นเครื่องยืนยันว่า ธุรกิจที่ดีเยี่ยม และเป็นซูเปอร์สต็อก ไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้บริหารมากนัก แม้การที่บริษัทกลายเป็นซูเปอร์สต็อกได้ ก็เพราะมีผู้บริหารที่ดีสุดยอด ที่สร้างบริษัทขึ้นมาเหนือคู่แข่งทั้งมวล โดยนัยนี้ ผมคิดว่าหากบัฟเฟตต์เป็นอะไรไป ราคาหุ้นเบิร์กไชร์อาจไม่ถูกกระทบมากนัก
ดัง นั้น ใครที่ถือหุ้นเบิร์กไชร์ ก็ไม่ต้องกลัวว่าบัฟเฟตต์จะเป็นอะไร เพราะเขาต้องเป็นแน่ในวันใดวันหนึ่ง แต่หุ้นเบิร์กไชร์ อาจจะไม่เป็นอะไร และแน่นอน เรื่องทั้งหมดนี้ สามารถประยุกต์ใช้ได้กับหุ้นในทุกตลาดรวมถึงตลาดหุ้นไทยด้วย โดยข้อสรุปรวบยอดของผม คือ ช่วงที่บริษัทยังเล็ก และ/หรือ อ่อนด้อยอยู่ ฝีมือของผู้บริหารสูงสุดจะมีความสำคัญชี้เป็นชี้ตายได้ แต่เมื่อบริษัทก้าวหน้ามาจนถึงจุดสุดยอดหนึ่งแล้ว มันก็สามารถเดินได้ด้วยตนเอง และความสามารถของผู้บริหาร ก็อาจจะไม่ได้สร้างความแตกต่างมากนัก
บทความนี้ลงในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เมื่อ 24 เมษายน 2555
No comments:
Post a Comment